"สหกรณ์" ดึงโมเดิร์นเทรด เสริมแกร่งต่อยอดเชิงพาณิชย์

"สหกรณ์" ดึงโมเดิร์นเทรด เสริมแกร่งต่อยอดเชิงพาณิชย์

ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบสหกรณ์มาอย่างยาวนานนับ100 ปี แต่สหกรณ์ในประเทศไทยที่เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเอง มีการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับสมาชิกและชุมชนกลับมีอยู่ไม่ถึง 30%

ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบสหกรณ์มาอย่างยาวนานนับ100 ปี แต่สหกรณ์ในประเทศไทยที่เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเอง มีการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับสมาชิกและชุมชนกลับมีอยู่ไม่ถึง 30%

รายงานการศึกษาวิจัยปัญหาสหกรณ์ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยสรุปปัญหาการพัฒนาสหกรณ์ในประเทศไทยไว้หลายด้าน โดยหนึ่งในนั้นคือความสามต่อยอดเชิงพาณิชย์

ดังนั้นการสร้างความเชื่อมโยงในกระบวนการผลิตสินค้าระหว่างเกษตรกรในท้องถิ่นตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางระหว่างเกษตรกรกับผู้ซื้อรายใหญ่จึงถือเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเชื่อมโยงระหว่างตลาดและเกษตรกรผู้ผลิต เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์สามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืนได้

"สหกรณ์หนองเลิงเปือย" ในพื้นที่จ.กาฬสินธุ์ ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จด้วยการนำแนวคิดนี้มาใช้ โดยในพื้นที่มีการใช้แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9มาใช้ตั้งแต่การเพาะปลูก สร้างรายได้ในระดับครัวเรือน จนถึงการจัดจำหน่ายโดยดูความต้องการของตลาดและลูกค้าโดยมีลูกค้าของสหกรณ์ที่เป็นโมเดิลเทรดขนาดใหญ่มารับซื้อสินค้าเกษตรในพื้นที่ได้แก่ห้างแม็คโคร ห้างบิ๊กซี หรือโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

โดยในปีที่ผ่านมาการยกระดับการรวมกลุ่มทำให้เกิดสหกรณ์การเกษตรแก้มลิงหนองเลิงเปือย จำกัด ที่การจัดการของคนในชุมชน มีสหกรณ์จังหวัด 157494918350 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงดำเนินงานสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 1,590,000 บาท

นุกุล อังคนิต ประธานสหกรณ์การเกษตรแก้มลิงหนองเลิงเปือย จำกัด ระบุว่าในอดีตการผลิตสินค้าการเกษตรมีจุดอ่อนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เมื่อสหกรณ์มีตลาดที่สำคัญในการรับซื้อผลผลิต เช่น ห้างแม็คโคร ห้างบิ๊กซี หรือโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ซึ่งการมีผู้ซื้อที่แน่นอน และมีการกำหนดมาตรฐานของสินค้าเกษตรที่กลุ่มเกษตรกรต้องปฏิบัติตามทำให้เกษตรกรเรียนรู้ที่จะวางแผนการผลิตที่ยกระดับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ควบคู่กับมีปริมาณผลผลิตที่สามารถขายได้ตลอดทั้งปี

ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิกรวม 63 คน เมื่อดำเนินการตามแนวทางของสหกรณ์เมื่อมีผลกำไรที่สามารถนำกลับมาดูแลสมาชิกและการแบ่งปันให้กับสังคมในการจัดทำสวัสดิการโดยในปีนี้เป็นปีแรกที่มีการปันผลให้กับสมาชิก ซึ่งเชื่อว่าห 157494921271 ลังจากนี้ สมาชิกจะให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในรูปแบบสหกรณ์มากยิ่งขึ้น

การัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวถึงการพัฒนาโครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือยอันเนื่องมาจากพระราชดำริว่าโครงการนี้เป็นการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติแหล่งน้ำโดยประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ“แก้มลิง”เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 ในพื้นที่ 2 ส่วน ประกอบด้วย พื้นที่รับประโยชน์โดยตรง รวม 7,778 ไร่ 610 ครัวเรือน และพื้นที่ขยายผลภายในเขตลุ่มน้ำ 1,191 ไร่ 112 ครัวเรือน

โดยการทำงานได้ประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งมีการเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือนและนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียด และเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการคิดวางแผนในฐานะความเป็นเจ้าของร่วมกัน 

ชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์กล่าวว่าจะนำความสำเร็จในโครงการไปขยายผลต่อนอกจากนั้นจะส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอาจเป็นส่วนเสริมให้เกิดการพัฒนาได้เพิ่มเติม หนองเลิงเปือยสามารถแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตชุมชนในระดับหมู่บ้าน วิถีทางการเกษตรเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่งได้ รวมถึงยังควรต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งจะเพิ่มรายได้ไม่น้อยกว่า 100,000 บาทต่อคนต่อปีจากในปัจจุบันที่ชาวบ้านมีรายได้ประมาณปัจจุบันอยู่ในระดับประมาณ 70,000 บาทต่อคนต่อปี

“เมื่อมีรายได้เพิ่มก็ทำให้คนในชุมชนมีความสุขมากขึ้น เป็นการสร้างชีวิตและสังคมที่มีความสุขไปด้วยกันตามแนวทางพระราชดำริที่ประสบความสำเร็จ”