ประมูลดิวตี้ฟรีพิคอัพ หนุน 'ทอท.' รับรายได้เพิ่ม

ประมูลดิวตี้ฟรีพิคอัพ หนุน 'ทอท.' รับรายได้เพิ่ม

สตอรี่เด่นของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT มีให้ได้ลุ้นกันจนจบสิ้นปี 2562 ซึ่งจะมีผลต่อการเติบโตฐานรายได้ในอนาคตของบริษัทเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ   ยิ่งในส่วนของรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับการบิน (Non Aero) ที่ทางท่าอากาศยานฯ ต้อง

ดังนั้นการขยายสนามบินเพื่อรองรับจึงเป็นแผนการเร่งด่วนแต่ยังสะดุดและมีปัญหาทุกเรื่องที่ ทอท . จะเดินหน้าทั้งกรณีสำหรับการออกแบบอาคารหลังที่ 2 (Terminal 2) ในสนามบินสุวรรณภูมิ ที่พบปัญหาตั้งแต่การเปิดประมูลงานออกแบบ        

โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 3 ไม่เป็นไปตามแผนแม่บท (Master Plan) ตามองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ICAO) และ IATA หรือไออาต้าได้จัดทำในแผนแม่บทไว้เมื่อปี 2554 

รวมทั้งการประมูลพื้นที่ดิวตี้ฟรีและเชิงพาณิชย์ที่สนามบินสุวรรณภูมิและ 3 สนามบินภูมิภาคกว่าจะมีบทสรุปได้ต้องฝ่ากระแสลบการเอื้อกลุ่มทุนใหญ่อย่าง ‘คิงเพาเวอร์ เจ้าของสัมปทานเดิมทำให้ต้องมีการปรับเงื่อนไขการประมูลภายใต้ 1 สัญญาสามารถได้สิทธิถึง 4 สนามบิน คือ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ และดอนเมือง ) ภูเก็ต  เชียงใหม่ และหาดใหญ่

โดยมาเป็น 2 สัญญา แทน คือ สัญญาสัมปทานดิวตี้ฟรี กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิและ ดอนเมือง ) และอีก 1 สัญญาภูเก็ต  เชียงใหม่ และหาดใหญ่  และยังคงเงื่อนไขจะแข่งขันด้านราคาว่ารายใดจะเสนอค่าตอบแทนขั้นต่ำ ( Minimum Guarantee) ที่มีอัตราสูงสุด จะชนะไป

และหากดำเนินการแล้ว จะเลือกจ่ายแบบค่าตอบแทนขั้นต่ำ หรือ ส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) แล้วแต่ว่าแบบไหนให้ผลตอบแทนสูงกว่า  ซึ่งทุนใหญ่คิงเพาเวอร์ เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยเม็ดเงินที่ต้องจ่ายให้กับ ท่าอากาศฯ จากส่วนแบ่งรายได้เฉพาะดิวตี้ฟรี สุวรรณภูมิมาอยู่ที่  15,419 ล้านบาท 

ปิดท้ายปีประมูลงานให้สิทธิประกอบกิจการให้บริการเคาน์เตอร์ส่งมอบสินค้าปลอดอากร (Duty Free Pick-up Counter) ที่สุวรรณภูมิ และ ดอนเมือง ด้วยการให้สิทธิเพียงรายเดียวแต่ละสนามบิน 10 ปี 3 เดือน กำหนดขายเอกสารการยื่นข้อเสนอการดำเนินงานงานดังกล่าววันนี้วันแรกถึง 13 ธ.ค. 2562

โดยที่สุวรรณภูมิ ให้ที่ยื่นประมูลในวันที่ 17 ม.ค. 2563 และกำหนดการเปิดซองเสนอค่าตอบแทนและประกาศผลคะแนนสูงสุด ในวันที่ 27 ม.ค.2563  ส่วนที่ดอนเมือง กำหนดการยื่นข้อเสนอ ในวันที่ 20 ม.ค.2563 และเปิดซองเสนอค่าตอบแทนและประกาศผลคะแนนสูงสุด ในวันที่ 27 ม.ค. 2563

การเปิดประมูลรอบนี้ไม่ค่อยเป็นที่กังวลและจับตามองมากหนักเพราะ ท่าอากาศฯ  จะเข้ามา เป็นผู้ให้บริการเคาน์เตอร์ส่งมอบสินค้าปลอดอากรด้วยตนเองด้วย ร่วมทั้งดีกรีความร้อนแรงของผู้เข้าร่วมประมูลไม่ดุเดือดเหมือนรอบการประมูลดิวตี้ฟรี   เนื่องจากผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูลซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้าอยู่แล้วมีการดำเนินการธุรกิจดาวน์ทาวน์ดิวตี้ฟรีของตัวเอง เช่น กลุ่มเซ็นทรัล

ตามเกณฑ์จะใช้วิธีส่วนแบ่งรายได้เหมือนกับการประมูลดิวตี้ฟรี ซึ่งมีการคาดการณ์ตัวเลขผลตอบแทนที่ ท่าอากาศยานฯ  จะได้รับในรอบนนี้หากเป็นผู้ชนะการประมูลจะจ่ายจากรายได้ในส่วนนี้ประมาณ 3 %  ส่วนรายอื่นๆ ที่จะเข้ามาให้บริการ  Pick-up Counter จะต้องจ่ายให้ท่าอากาศยานฯ  อยู่ที่ 5 %  

ปัจจุบันมีการมองแล้วว่าจะมีผู้ประกอบการในกลุ่มนี้จำนวนมากที่จะเข้ามาให้บริการ Pick-up Counter  ทั้งกลุ่มค้าปลีกในประเทศและทุนต่างชาติที่ผิดหวังกับการประมูลดิวตี้ฟรี อย่างเช่น   ล็อตเต้ ดิวตี้ฟรี (ประเทศไทย) ก่อนหน้านี้จับมือกับกลุ่ม ปราสาททองโอสถ  ซึ่งตั้งเป้าเข้ามารุกดิวตี้ฟรีในสนามบินหลักในกรุงเทพฯ และสนามบินหลัก ๆ ในภูมิภาค รวมถึงดาวน์ทาวน์ดิวตี้ฟรีในไทย

กรณีดังกล่าวมีการคิดคำนวณแล้วว่าจะเป็นการเพิ่มฐานรายได้ให้กับ ท่าอากาศยานฯ ในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเปิดทางให้ผู้ประกอบการรายอื่นสนใจเข้ามาใช้บริการ บวกกับแผนการขยายพื้นที่เพื่อรองรับผู้โดยสารแตะ 70 ล้านคนต่อปี และทะยานเพิ่มเป็น 100 ล้านคนต่อปีในปี 2569  เพียงพอที่จะทำให้ ท่าอากาศยานฯ จะได้รับผลประโยชน์เชิงรายได้ในส่วนนี้ได้มากขึ้น