KBANK - ซื้อ

KBANK - ซื้อ

เกมการแข่งขันกำลังเปลี่ยนไป

Event

อัพเดตแนวโน้มของธนาคาร

lmpact

การผนึกพันธมิตรS LINE จะช่วยให้ KBANK ขยายสินเชื่อผู้บริโภคได้ถึงสองทาง

โมเดลการผนึกพันธมิตรระหว่าง KBANK และ LINE Financial เพื่อตั้ง KS LINE จะเป็นการขยับเชิงกลยุทธ์ครั้งสำคัญของ KBANK ในการขยายสินเชื่อผู้บริโภค และก้าวไปสู่การพัฒนาออนไลน์ดิจิตอลแบงก์ร่วมกับ LINE Financial ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วภูมิภาคเอเชีย ทั้งนี้ในระยะสั้นยกลยุทธ์นี้จะทำให้ KBANK สามารถขยายโมเดลธุรกิจรายย่อยได้สองทาง ได้แก่ 1.) การโตจากฐานลูกค้าเดิมของธนาคารประมาณ 17 ล้านบัญชี 2.) การโตผ่านฐานลูกค้าของ LINE ซึ่งมีหลากหลายและมากถึง 44 ล้านบัญชี ทั้งนี้ KS LINE จัดตั้งในรูป non-bank ที่ธนาคารถือหุ้น 50% และจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ใน 1H63

Sensitivity ของรายได้และกำไร

เราได้ทำการวิเคราะห์ sensitivity ของรายได้ และกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจาก KS LINE จากการมีสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้น 5 พันล้านบาท – 2.5 หมื่นล้านบาท โดยใช้สมมติฐานผลตอบแทนสินเชื่อในช่วง 16% - 28%, ต้นทุนทางการเงินที่ 3.5%, สัดส่วนต้นทุน/รายได้ที่ 30%, และอัตราภาษีที่ 20% ซึ่งจากสัดส่วนการถือหุ้นใน KS Line ที่ 50% จะทำให้ส่วนแบ่งกำไรสุทธิของ KS Line อยู่ที่ประมาณ 150-290 ล้านบาท จากสินเชื่อ 5.0 พันล้านบาท ซึ่งมี yield 16%-28% โดยส่วนแบ่งกำไรจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นทุก ๆ 5.0 พันล้านบาท

KBANK จะถูกกระทบหนักสุดจากการใช้มาตรฐาน IFRS9 ในปี 2563

การนำมาตรฐานบัญชีใหม่ IFRS9 มาใช้ในปี 2563 จะส่งผลกระทบทางลบกับ KBANK มากที่สุด เนื่องจากประมาณสองในสามของรายได้ค่าธรรมเนียม up front จากสินเชื่อ 2.4 พันล้านบาทจะหายไปจากงบ P/L ในปี 2563 ถึงแม้ว่า KBANK จะมีรายได้เพิ่ม 1.2 พันล้านบาทจากการบันทึก EIR ของการจดจำนอง แต่ก็ยังไม่พอที่จะชดเชยรายได้ค่าธรรมเนียมที่หายไปได้ นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาก็ยังฉุดให้รายได้ดอกเบี้ยลดลงประมาณ 3.3 พันล้านบาทอีกด้วย ดังนั้น เราจึงประเมินว่าการใช้มาตรฐานบัญชี IFRS9 และการลดดอกเบี้ยจะทำให้รายได้ของ KBANK ลดลงประมาณ 4.3 พันล้านบาท หรือ 11% ของกำไรสุทธิ

Valuation and action

เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2563/64 ลง 16%/14% เนื่องจากเราได้ 1.) ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมลงเหลือ -5%/+2.5% (จากเดิม +6%/+6%) จากการตัดรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อออกไป 2.4 พันล้านบาท 2.) ปรับลดประมาณการรายได้ดอกเบี้ยลง 3.3 พันล้านบาทจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3.) ปรับลดอัตราการเติบโตของสินเชื่อเหลือ 4%/5% (จากเดิมที่ 8%/8%) ทั้งนี้ เมื่อใช้ P/BV ที่ 1.1x (อิงจาก Gondon Model) โดยใช้สมมติฐาน ROE ที่ 10% และ cost of equity ที่ 10% คิดเป็น P/E ที่ 12.2x ทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 194 บาท (จากเดิม 213 บาท)

Risks

GDP โต <2.8% ในปี 2563 ทำให้ NPL และ LLP เพิ่มขึ้น