เปิด 6 ขั้นตอนรับ 'แคชแบ็ค' ซื้อบ้าน 5 หมื่นบาท

เปิด 6 ขั้นตอนรับ 'แคชแบ็ค' ซื้อบ้าน 5 หมื่นบาท

คณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมามีมติรับทราบในหลักการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ ครม.เห็นชอบจะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้ขยายตัวตามเป้าหมายและบรรเทาผลกระทบประชาชน ซึ่งครอบคลุมมาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย โดยได้อนุมัติงบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 5,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย

สำหรับมาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย มีรายละเอียดดังนี้

1.วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางและอยู่ในระบบฐานภาษีของกรมสรรพากรมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) รวมถึงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ และลดภาระของประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง

2.กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยมุ่งเน้นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน หรือไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี และเป็นผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีอากรของกรมสรรพากร จำนวน 100,000 ราย

3.ประเภทที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ สำหรับที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมที่อยู่อาศัยมือสองและทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ และไม่รวมทรัพย์รอการขายของกรมบังคับคดี

4.วิธีดำเนินโครงการ ผู้เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีของกรมสรรพากร และมีรายได้ไม่เกิน100,000 บาทต่อเดือน หรือไม่เกิน1,200,000 บาทต่อปี และผ่านเกณฑ์ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งจะได้รับสิทธิผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดย ธอส. จะโอนเงินจำนวน 50,000 บาท เข้าบัญชีของผู้ได้รับสิทธิ เพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back)

5.งบประมาณ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธอส.จะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียด

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการบ้านดีมีดาวน์มี 6 ขั้นตอน คือ 

1.ผู้เข้าร่วมลงทุนทะเบียนผ่าน www.บ้านดีมีดาวน์.com

11 ธ.ค.2562-31มี.ค.2563 โดยยอมให้ตรวจสอบข้อมูลกับกรมการปกครอง กรมสรรพากร ข้อมูลเครดิตบูโร (NCB) และ ITMX (Interbank Transaction Management and Exchange)

2.ผู้ผ่านคุณสมบัติได้รับ SMS แจ้งผลตรวจสอบรอบแรก โดยกรมการปกครองจะตรวจตัวตนตามฐานข้อมูล ส่วนกรมสรรพากรจะตรวจการอยู่ในระบบฐานภาษี มีรายได้ไม่เกิน 1.2 ล้านบาท

3.สถาบันการเงินพิจารณาคำขอกู้ ซึ่งสถาบันการเงินต้องรับผิดชอบหากตรวจสอบพบว่าผู้รับสิทธิ์ขอกู้ผิดวัตถุประสงค์ หรือผู้รับสิทธิ์ได้รับอนุมัติสินเชื่อ จดจำนองก่อน 27 พ.ย.2562

4.ระบบตรวจสอบข้อมูล จากสถาบันการเงินกับ NCB และ ITMX เพื่อตรวจวัตถุประสงค์การกู้ และตรวจวันจำนองกับ NCB และตรวจความถูกต้องของเลขที่พร้อมเพย์ กับ ITMX

5.ธอส.โอนเงิน 50,000 บาท เข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลข 13 หลัก

6.ผู้เข้าร่วมได้รับเงิน

157485711225

157485712430

157485713865

157485715235

157485716514

157485717612