'สธ.' ค้านเลื่อนเวลาแบน​ 3​ สารเคมีเกษตรฯ

กระทรวงสาธารณสุข แสดงจุดยืน ยุติการใช้ 3 สารเคมีเกษตร ตามกำหนดเวลาเดิม​ 1​ ธ.ค.​ 62​ และไม่เห็นด้วย หากต้องมีการขยายเวลา​การจัดเก็บอีก​ 180 วัน ขณะที่ข้อมูลการเจ็บป่วยของประชาชนจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปี​ 2561 มีกว่า 6,000 ราย

ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุขม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานประชุมทางไกล สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในกระทรวงสาธารณสุข กรณีความทุกข์ผู้ป่วย และความห่วงใยของกระทรวงสาธารณสุข ต่อการแบนสารเคมีอันตราย

นายอนุทิน บอกว่า จุดยืนของกระทรวงสาธารณสุข คือสุขภาพของประชาชนสำคัญที่สุด และขอให้ยุติการใช้3สารเคมีกำจัดศัตรูพืช คลอร์ไพริฟอส พาราควอต และไกลโฟเซต อย่างจริงจัง หลังจากมีข้อมูลทางด้านสาธารณสุขชัดเจนว่าส่งผลต่อสุขภาพประชาชน และสภาพแวดล้อม และไม่เห็นด้วยหากมีการขยายเวลาการแบน3สารเคมีฯออกไป และขอให้ยึดตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่22 ตุลาคม2562 / และหากจะมีการพิจารณาในการยืดเวลาการแบน3 สารเคมีออกไปนั้น ต้องให้ คณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดใหม่เป็นผู้ลงมติเท่านั้น

ด้าน​นายแพทย์สุขม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถึงเวลาแล้ว ที่สังคมต้องมองความเป็นจริง ถึงผลกระทบต่อ3 สารเคมีฯ ไม่ว่าจะ ทั้งเกษตรกร หรือ ผู้บริโภค ต่างได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ จาก สารเคมี ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม โดยอัตราการเจ็บป่วย ปละเสียชีวิต จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพิ่มขึ้นทุกปี และมองว่าคุ้มหรือไม่หากมีการยืดเวลาการแบน3 สารเคมีฯออกไป

จากข้อมูลด้านการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2561 มีผู้ป่วยเจ็บป่วยจากโรคพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 6,075 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ข้อมูลจากงานวิจัยต่างประเทศ และการเฝ้าระวังในประเทศไทย พบว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืช นอกจาก ส่งผลต่อโรคทางกายภาพ แล้ว ยังมีผลต่อการพัฒนาเซลล์สมองของทารกในครรภ์ และการ พัฒนาไอคิวของเด็ก โดยพบว่า ร้อยละ33 ส่งผลต่อการพัฒนาล่าช้าในเด็ก

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค พบว่า ผลวิเคราะห์ ข้อมูลจากการเจ็บป่วย ในการใช้สารเคมีทางการเกษตร พบว่า สอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ 4 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพด อ้อย และยางพารา ยังพบอีกว่า ใน11 จังหวัด ที่มีการเพาะปลูก พืชเศรษฐกิจ4 ชนิด หญิงวัยเจริญพันธุ์ มากกว่า 1.7 ล้านคน อาจทำให้ทารถในครรภ์ของมารดากลุ่มนี้เสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี3 ชนิดมากขึ้นด้วย