"บล็อกเชน บิ๊กดาต้า สมาร์ทซิตี้" เทคโนโลยีที่ “ออกแบบได้”

"บล็อกเชน บิ๊กดาต้า สมาร์ทซิตี้" เทคโนโลยีที่ “ออกแบบได้”

“อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์”หรือไอโอที คือ หัวใจสำคัญเชื่อมต่อข้อมูล และการสื่อสารในเมืองอัจฉริยะ

“บล็อกเชน” กำลังเปลี่ยนบทบาทที่เคยคุ้นกันในโลกการเงิน มาสู่ภาพที่ใหญ่มากยิ่งขึ้นจนถึงระดับเมือง โดยเฉพาะเมื่อแนวคิดเรื่องการพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ สมาร์ท ซิตี้ กลายเป็นแนวคิดระดับสากลของรัฐบาลในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก

งาน บล็อกเชน ไลฟ์ 2019 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ ณ กรุงลอนดอน ขยายความของคำว่า “อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์” หรือไอโอที ซึ่งเป็นหัวใจเชื่อมต่อข้อมูลและการสื่อสารในเมืองอัจฉริยะ ลงลึกสู่ระดับเทคโนโลยีที่ใช้งานจริงอย่างการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ หนึ่งในเครื่องมือที่จะเข้ามามีบทบาท คือ บล็อกเชน เพราะยอมรับในวงกว้าง สร้างความมั่นใจด้านความโปร่งใส มาตรฐานความปลอดภัยซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งของเทคโนโลยีนี้

บนเวทีงานนี้ ได้หยิบยกตัวอย่างบางส่วนจากเมืองที่เป็น “สมาร์ทซิตี้” และนำบล็อกเชนเข้ามาใช้งานแล้ว เช่น "เอสโตเนีย" เมืองเล็กๆ แต่เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์แทบจะเต็มตัว เริ่มใช้บล็อกเชนเกาะติดข้อมูลในระดับประชากรมาตั้งแต่ปี 2555 หรือ "ดูไบ" วางแผนใช้บล็อกเชนช่วยขับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ ภายในปี 2564

ขณะที่ Hancom Group ของเ 157458595711 กาหลี ผู้นำด้านการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ มีเคสเด่น คือ โครงการเขตนิเวศเมืองอัจฉริยะชื่อ Gapyeong Malang Malang Smart Ecosystem บนเนื้อที่ 470 เอเคอร์เชื่อมต่อทั้งพื้นที่ด้วยไอโอที หรือ Augury Square ในแอตแลนต้า สหรัฐ นำบล็อกเชนมาใช้ สามารถใช้เงินดิจิทัลได้ทุกกิจกรรมของชีวิตประจำวัน

เมืองอัจฉริยะแห่งนี้ ออกแบบแนวคิดให้เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน มีทั้งที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน ร้านค้า พื้นที่ทำงาน และพื้นที่พักผ่อน ทุกคนที่ลงทุนซื้ออสังหาฯ ในโครงการนี้จะ “ซื้อความเป็นเจ้าของร่วม” ด้วยเงินบล็อกเชน (Tokenized)” การใช้บล็อกเชนของประชากรที่พื้นที่ลักษณะนี้ จะช่วยให้ง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูลประชากรโดยอัตโนมัติขึ้นไปไว้บนคลาวด์ สะดวกต่อการยืนยันตัวตนและความเป็นประชากร ข้อมูลภาษี และการมีสิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งต่างๆ เป็นต้น

นอกเหนือจากในระดับประเทศ เมือง หรือภาคเอกชนแล้ว ล่าสุดสหประชาชาติ ก็เตรียมจัดทำรายงาน “Blockchain for Cities” (B4C) ที่เปรียบเสมือนคู่มือการประยุกต์ใช้บล็อกเชนในเมืองอัจฉริยะ รายงานฉบับนี้มาจากการระดมสมองของ 26 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่จะช่วยสร้างกรอบแนวทางการออกแบบสมาร์ทซิตี้ โดยหนึ่งในหัวข้อก็คือ บล็อกเชน

กูรูไทยแชร์ไอเดียเทคโนโลยีเมือง

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานผู้บริหาร บริษัท ไอโครา จำกัด กล่าวบนเวทีเสวนางาน “ASA Real Estate Forum 2019” จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) ว่า หนึ่งในเทคโนโลยีเมือง (Urban Tech) ที่กำลังมาแรง คือ บล็อกเชน จะเห็นบทบาทบล็อกเชนใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.บล็อกเชน จะทำให้กระบวนการ และโอเปอเรชั่นต่างๆ มีประสิทธิภาพขึ้น เช่น ใช้ในแง่การตรวจสอบข้อมูลที่ดินและความเป็นเจ้าของ 157458619827 2. การระดมทุนผ่านกลไก Initial Fund Offering ซึ่งปัจจุบันเป็นลักษณะของการใช้งาน เช่น Security Token Offering เหมือนเป็นหลักทรัพย์ ลงทุนก่อน ถือครองไว้ และได้ประโยชน์จากราคาโครงการที่ปรับขึ้น-ลง หรือ 3.บทบาทบล็อกเชนที่เป็น Utility Token หรือใช้ซื้อขายสิทธิในการเข้าถีงผลิตภัณฑ์หรือบริการ

เฉพาะสองรูปแบบหลังจะเอื้อต่อการพัฒนาเมือง การระดมทุนซื้อพื้นที่หรือที่ดินที่มีศักยภาพในการทำโครงการง่ายขึ้น หรือที่เห็นมากขึ้นในบางประเทศ เช่น สิงคโปร์ นิวยอร์ก ลอนดอน คือ ผู้พัฒนาโครงการมีสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาฯ อยู่แล้ว แต่ขายไม่หมด ถ้าขายแบบเดิมๆ ก็ไม่ง่ายเพราะมีข้อจำกัด ดังนั้นเทคโนโลยีนี้ จะช่วยปรับรูปแบบจากเดิม ซื้อขายบ้านหรือคอนโดฯ ทั้งหลัง มาเป็นหน่วยย่อยๆ ที่หลายคนร่วมกันซื้อความเป็นเจ้าของร่วม สามารถเอาไปใช้ได้เลย คือ ยินยอมซื้อเป็นหน่วยย่อยแทนที่จะซื้อเป็นหน่วยเต็ม สอดคล้องกับเทรนด์ของเศรษฐกิจแบ่งปัน ซึ่งเทรนด์นี้จะเกิดขึ้นมาก

“ในเรื่องการสร้างเมือง จากประสบการณ์เช่น การทำบริษัทพัฒนาเมืองที่ภูเก็ต เราอยากมองในแง่วิธีการที่ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพารัฐโดยตลอด เราอยากพึ่งพาจากพลเมืองของเราเองบ้าง อยากชี้ให้เห็นว่ามีหลายโมเดล คือ เมืองของเรา เราก็ร่วมกันสร้าง สร้างอีโคซิสเต็ม สร้างเมือง แล้วใช้การบริหารจัดการในระบบความคิดเช่นว่า ไม่ใช่การซื้อของ แต่เป็นการซื้อชีวิตที่จะอยู่ที่นั่น แล้วใช้โมเดล Real Estate as a Service หรือโมเดล subscription แนวโน้มนี้จะเห็นเพิ่มขึ้น” ดร.การดี กล่าว

บิ๊กดาต้าสำคัญในการพัฒนาเมือง

นางสาวอัญชนา วัลลิภากร ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร บริษัท บาเนีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือบิ๊กดาต้า เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองในทุกมิติ จากมุมมองนี้บริษัทจึงเป็นสตาร์ทอัพรายแรก ที่บุกเบิกการพัฒนาบิ๊กดาต้า ด้านอสังหาริมทรัพย์ ให้ความสำคัญการเก็บข้อมูลทั้งอีโคซิสเต็ม ครอบคลุมข้อมูล 3 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลผู้บริโภค , ข้อมูลอสังหาฯ และข้อมูลสภาพแวดล้อม โดยนอกเหนือจากลงพื้นที่เก็บข้อมูล ยังรวบรวมจากจากโซเชียลมีเดีย ซึ่งยุคนี้ทำได้ง่ายเพราะคนไทยชอบเล่นโซเชียล

“หนึ่งในกรณีศึกษาที่ที่ดีของการใช้บิ๊กดาต้าพัฒนาเมือง คือ การพัฒนาของย่านพระราม 4 มีการขยายตัวของการเป็นพื้นที่นวัตกรรม คือ สามย่านมิตรทาวน์ และกล้วยน้ำไท ภายในระยะทางไม่กี่กิโลเมตร อีกทั้งเมกะโปรเจคเด่นๆ ได้แก่ โครงการของเครือดุสิตธานี และเซ็นทรัล มีอาคารสำนักงาน 21 แห่ง พื้นที่ใช้สอยกว่า 500,000 ตร.ม. เห็นถึงการขยายตัวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และยังใช้ข้อมูลนี้คาดการณ์อนาคตอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี ว่าเมืองจะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด”

นายสุขสันติ์ ชื่นอารมย์ หัวหน้าศูนย์วิจัย งานสร้างสรรค์และออกแบบ สภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า แก่นของเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ทซิตี้) คือ การเอาเทคโนโลยีดีที่สุดในยุคนั้นเข้ามาใช้ ต้องมีการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับบริบทแต่ละยุค ขณะที่ ย่านนวัตกรรม เปรียบเสมือนกลไกที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ยกตัวอย่าง กล้วยนำไท อินโนเวที อินดัสตรี ดิสทริกต์ (KIID) หรือกล้วยนำไทโมเดล ซึ่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เป็นตัวอย่างที่จับต้องได้ของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่รวบรวมอยู่ใน Data Platform จากพื้นที่โดยครอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัยกว่า 3 ล้านตารางเมตร และพื้นที่จ้างงานหลักล้านตารางเมตร มีองค์ประกอบสำหรับการสร้างระบบนิเวศเชิงนวัตกรรม ทั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรม ผู้ประกอบการสื่อ มีสถาบันการศึกษาเป็นแหล่งความรู้

157458618099

157458618028

สมาร์ท ซิตี้ “ออกแบบได้”

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานเดียวกันนี้ว่า หนึ่งในแนวโน้มสำคัญที่กำลังเกิดขึ้นกับทั่วโลกและประเทศไทย ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่ส่งผลกระทบในทุกมิติของชีวิต ซึ่งเมื่อผนวกรวมกับปรากฏการณ์เติบโตของสังคมเมือง (Urbanization) สัดส่วนประชากรสังคมเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นโจทย์สำคัญสำหรับการพัฒนาโครงสร้างทุกด้านที่ต้องปรับให้เข้ากับแนวโน้มเหล่านี้

“การขยายตัวของเมืองยังคงเกิดขึ้นแน่ๆ ทำให้การพัฒนาต่อจากนี้ไปต้องคิดถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย อีกทั้ง ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการพัฒนาเมือง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต คุณภาพบริการสาธารณะ และปรับปรุงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผู้นำในการพัฒนาเมืองต่อจากนี้ไป ไม่ใช่ภาครัฐ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”

นายภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า (DEPA) กล่าวว่า สมาร์ท ซิตี้ จำเป็นต้องมีอีโคซิสเต็มที่สำคัญ ได้แก่ การใช้ดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้อยู่ดีมีสุข ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเติบโต “คนเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน เมืองจึงโดน disrupt” โจทย์ปัญหาของเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคม

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า การจะทำให้เมืองเป็นของทุกคนในทุกระดับได้จริงๆ ต้องมีการสร้างสรรค์ร่วมกัน โดยในส่วนของ NIA เริ่มทำงานผ่านแนวคิดการพัฒนาเพื่อชุมชน เพื่อสังคม นำร่องตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ด้วยโครงการพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovation District) เป็นการทำนวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Area-based Innovation) โดยนำนวัตกรรมแทรกซึมเข้าไปในโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยในการออกแบบ ช่วยในการบริโภคได้คุ้มค่า นวัตกรรมแบบไหนควรอยู่ในเมืองแบบนั้น และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม ถ้าทำให้เกิดขึ้นได้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบทด้วย

ปัจจุบัน NIA เข้าไปสนับสนุนการพัฒนาย่านนวัตกรรมแล้ว 15 แห่ง แบ่งเป็นในกรุงเทพ 8 แห่ง และอีก 7 แห่งในต่างจังหวัดครอบคลุมทุกภาคของประเทศ ตัวอย่างเด่นๆ ได้แก่ ย่านนวัตกรรมโยธา เน้นนวัตกรรมด้านการแพทย์ เพราะโดยรอบบริเวณนั้นเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลหลายแห่ง รวมถึงมหาวิทยาลัยลำดับต้นๆ ด้านการแพทย์, ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท เน้นการพัฒนาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์, เทคโนโลยีสื่อและดิจิทัล, ย่านนวัตกรรมปทุมวัน หรือสามย่าน สำหรับเทคโนโลยีดิจิทัล และงานด้านการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น