Green Pulse | ทางรอดทะเลไทย... จากมหันตภัยขยะทะเล

Green Pulse | ทางรอดทะเลไทย...  จากมหันตภัยขยะทะเล

ขยะทะเลเป็นปัญหาของคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลก

ทั้งนี้ ขยะพลาสติกที่พบในทะเล ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมบนบกถึง 80% จากข่าวคราวและการศึกษาวิจัยได้พบขยะชิ้นโตและเส้นใยไมโครพลาสติกที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในสัตว์ทะเลตั้งแต่ขนาดใหญ่เช่น ปลาวาฬ พะยูน จนถึงปลาทูตัวเล็ก ๆ ทำให้คนไทยหันมาตื่นตัวให้ความสนใจกับขยะทะเลกันมากขึ้น

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้เปิดเวทีเสวนา เรื่องทางรอดทะเลไทย...จากมหันตภัยขยะทะเลในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2562 (National Engineering 2019) ณ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี เพื่อให้คนไทยได้อัพเดทกับองค์ความรู้เทคโนโลยีและสร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในการร่วมกันปกป้องทะเลจากขยะ ส่งเสริมความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาประเทศ เพื่อให้ทะเลไทยและทะเลโลกที่สะอาดและปลอดภัยกลับคืนมา

ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถานะการณ์โลกของขยะพลาสติกนั้น พบว่าส่งผลกระทบมากที่สุดในทวีปเอเชียและแอฟริกา วราภรณ์ หิรัญวัฒน์ศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมอาวุโสภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ธนาคารโลก (World Bank) อธิบายว่าเนื่องจากระบบการจัดการไม่ดี เราควรจะจับตามองว่าขยะในทะเลนั้นมีการเดินทางอย่างไร ประเด็นสำคัญคือต้องทราบแหล่งที่มาของขยะ เนื่องจากขยะพลาสติกข้ามพรมแดนนั้นเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก

ยกตัวอย่าง เมื่อประเทศจีนได้ประกาศหยุดการนำเข้าขยะเพื่อรีไซเคิล ทำให้กลุ่มประเทศ G7 มีปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มสูงขึ้น ขยะส่วนหนึ่งถูกผลักมายังประเทศกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น มาเลเซียมีขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นจาก 120,000 ตัน เป็น 460,000ตัน ดังนั้นการกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพจะต้องเกิดจากความร่วมมือกัน ทั้งประเทศผู้ผลิตพลาสติกและประเทศผู้รับขยะว่าทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการเสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากที่สุด หรือประเทศในกลุ่มASEANต้องมีการร่วมมือป้องกันการถูกผลักขยะพลาสติกออกจากประเทศผู้ผลิตต่าง ๆ มาทิ้งไว้เช่นกัน

สำหรับประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโดยทั่วโลกมีการผลิตพลาสติก 400 ล้านตัน โดยร้อยละ 36 เป็นพลาสติกสำหรับpackagingซึ่งมีเพียงร้อยละ 10 ของทั้งหมดเท่านั้นที่สามารถนำไปรีไซเคิลกลับมาใช้ประโยชน์ได้ และทุก ๆ ปีจะมีขยะพลาสติกกว่า 8 ล้านตันลงสู่ท้องทะเล โดยขยะพลาสติกที่ถูกพูดถึงมากที่สุดส่งผลกระทบต่อมหาสมุทร (Plastic Pollution) มาจากอุตสาหกรรมทางด้านอาหาร โดยคิดเป็นNatural Capital Costกว่า 8,000ล้านเหรียญต่อปี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง (Non-Durable Goods) เช่น ขวดแชมพู บรรจุภัณฑ์ล้างห้องน้ำ ขวดน้ำดื่ม เป็นต้น

ทั้งนี้ธนาคารโลก (World Bank) ได้ตั้งให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยได้ขอทุนจากผู้บริจาค จาก 7 ประเทศ เพื่อตั้งกองทุนPROBLUE มุ่งช่วยเหลือและจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกของประเทศสมาชิก ซึ่งจะดูแลตั้งแต่ระดับท้องถิ่น (Local),ระดับชาติ (National),ระดับภูมิภาค (Regional) และระดับโลก (Global) รวมถึงสนับสนุนเครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์ประเมินข้อมูลในระดับสากล และการร่วมมือกับภาคส่วนอื่นเพื่อให้การทำงานเป็นไปได้คล่องตัว

โดยPROBLUE มีทั้งหมด 4 Windows ได้แก่1.ปรับปรุงพัฒนาธรรมิบาลในการประมง (Improved Fisheries Governance) 2.การบริหารจัดการมลพิษทางทะเล รวมทั้งฝาพลาสติก (Marine Pollution Management including Marine Litter(Plastics) 3.การมี่ส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาสมุทร (Blueing of Oceanic Sectors) 4.ความร่วมมือในวิธีการปกป้องทะเลร่วมกัน (Integrated Seascape Approach) ซึ่งไทยจะนำในส่วนของวินโดว์ที่ 2 มาช่วยเหลือจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกในทะเลของประเทศไทย

ปีนี้ประเทศไทยเป็นประธานของกลุ่มประเทศASEANได้มีการจัดทำ“ปฏิญญากรุงเทพ”ย้ำบทบาทของผู้นำในการร่วมกันจัดการขยะพลาสติกของอาเซียน โดยจะจัดทำNational PROBLUE สำหรับประเทศไทย ในส่วนของภูมิภาคASEANนั้น ประเทศไทยกำลังจัดทำASEAN PROBLUE เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวัดให้เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคอาเซียน (Regional Action Plan) สำหรับกลุ่มประเทศสมาชิกASEANเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

โดยทำแผนปฏิบัติการทางทะเลระดับประเทศ (National Marine Reaction Plan) ใช้แนวทางตามปฏิญญากรุงเทพ 4 หัวข้อ 1.การพัฒนาในระดับนโยบาย 2.เสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน (Private Sector InvolvementEngagement)3.การใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีมาแก้ปัญหา (Innovative Technology) เพื่อทดแทนการใช้พลาสติก 4.สร้างการรับรู้ให้ประชาชน (Public Awareness) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลาสติก จัดระดมข้อคิดเห็นจากทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม

วรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมี และวัสดุ (PETROMAT) เสนอทางออกปัญหาขยะด้วย 3R(Reduce, ReuseและRecycle) เช่น การเริ่มต้นโครงการ 3R ภายในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งประชาคมแห่งนี้มีบุคลากรประมาณ 45,000คน สร้างขยะปีละมากกว่า 2,000 ตัน โดยมีปริมาณการใช้ถุงพลาสติกอย่างน้อย 130,000ใบต่อเดือน ในปี 2017 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นรณรงค์ด้วยการ 1.ไม่รับถุงพลาสติก และใช้ถุงผ้าทดแทน สามารถลดปริมาณถุงพลาสติกเหลือ 90,000ใบต่อเดือน และ 2.เก็บเงินค่าถุงพลาสติก ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกลดลงเหลือประมาณ 10,000ใบต่อเดือน คิดเป็นร้อยละกว่า 90 ของปริมาณการใช้ถุงพลาติก หากผู้นำองค์กรต่าง ๆ มีวิสัยทัศน์มุ่งมั่นลดการใช้ถุงพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย บริษัท วัด ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ก็จะสามารถสร้างผลกระทบที่ดีในสังคมวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว

ขณะที่ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เล่าว่าได้ทำงาน“เครือข่าย”มาตั้งแต่ต้นปี 2562 ส่วนที่1 “เก็บ”โดยเชิญชวนชาวประมงเข้าร่วมโครงการและร่วมมือกันเก็บขยะจากของกินของใช้และเศษอวนขณะออกเรือ กลับมายังท่าเทียบเรือ เพื่อให้มีการนำไปกำจัดอย่างถูกต้องส่วนที่2 “รวบรวม” เชิญชวนท่าเทียบเรือประมงให้เข้าร่วมโครงการและจัดหาภาชนะหรือสถานที่จัดเก็บขยะที่นำขึ้นมาจากทะลโดยเรือประมง และส่วนที่3 “กำจัด” ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำขยะที่นำขึ้นมาจากทะเลไปกำจัดอย่างถูกต้อง เพื่อให้ท้องทะเลไทยสะอาด ช่วยให้ทรัพยากรสัตว์น้ำมีความยั่งยืนและเป็นแหล่งทำกินของชาวประมงไทยได้ต่อไป

ทางรอดทะเลไทยจากมหันตภัยขยะ อยู่ที่เราทุกคนจับมือกัน และลงมือทำจริงจังตั้งแต่วันนี้