Economic (22 พ.ย.62)

Economic (22 พ.ย.62)

Economy: ภาวะแห้งแล้งเป็นปัจจัยลบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจ

เริ่มต้นวิกฤติแล้ง

จากปริมาณฝนที่เข้าเขื่อนหลักน้อยกว่าปกติจะส่งผลให้เกิดภาวะแห้งแล้งในภาคเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออกในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2562 ถึง เดือนพฤษภาคม 2563 จะเป็ นปัจจัยลบหลักที่จะส่งผลให้ผลผลิตภาคการเกษตรได้รับความเสียหาย เช่น ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง และ ข้าวโพด ภาวะแห้งแล้งจะส่งผลให้ผลผลิตฤดูกาลใหม่ลดลงและส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้อัตราเงินเฟ้ อเพิ่มขึ้น 0.5-0.7% YoY ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2563 ผลผลิตที่ลดลงจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัว GDP ปี 2563 ประมาณ 0.2% ขณะที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกประสบภาวะแห้งแล้ง แต่ภาคตะวันตกและภาตใต้จะไม่ประสบปัญหาภาวะแห้งแล้งเนื่องจากปริมาณกักเก็บน้ำในเขื่อนอยู่ในระดับสูงมาก

ภาวะแห้งแล้งของไทยจะส่งผลต่อราคาพืชผลทางการเกษตรโลกไม่มากนัก เนื่องจากประเทศผลิตสินค้าเกษตรอื่น เช่น เวียดนาม กัมพูชา และ ลาว มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก

สิ้นสุดฤดูฝน เขื่อนชลประทานหลักในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีปริมาณนํ้ากักเก็บในระดับตํ่ากรมอุตุนิยมวิทยาประกาศประเทศไทยสิ้นสุดฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง (รูปที่ 1)

ภาวะดังกล่าวจะทำให้ปริมาณฝนในภาคดังกล่าวหมดลง ไม่มีปริมาณน้ำฝนไหลเข้าสู่เขื่อชลประทานหลัก เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิตต์ิ และ เขื่อนอุบลรัตน์ ปริมาณกักเก็บน้ำในเขื่อ
ภูมิพล (รูปที่ 2 และ 3) เขื่อนสิริกิตต์ิ (รูปที่ 2 และ 3) และ เขื่อนอุบลรัตน์ (รูปที่ 2 และ 4) ที่อยู่ในระดับต่ำมากจะส่งผลให้เกิดภาวะแห้งแล้งในช่วงฤดูแล้งนี้ แต่ปริมาณกักเก็บน้ำในเขื่อนหลักทางภาคตะวันตก เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ และ ภาคใต้ เช่น เขื่อนรัชประภา (รูปที่ 2) มีปริมาณกักเก็บน้ำในระดับที่สูงมาก ได้รับปริมาณน้ำฝนเป็นจานํวนมากในช่วงฤดูที่ผ่านมา

ส่วนภาคตะวันออกยังมีความเสี่ยงต่อภาวะแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนหลายเขื่อนอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่ามี 2 เขื่อนคือ เขื่อนขุนด่านปราการชล และ เขื่อนนฤบดินทรจินดา มีปริมาณน้ำในระดับที่สูงมาก 89% และ 94% ตามลำดับ แต่เป็นเขื่อนขนาดเล็ก นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนจะมีพายุดีเปรสชั่นเข้ามาแต่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนไม่มาก