เจ้าหนี้ต้องปรับ เมื่อกฎหมายทวงหนี้เปลี่ยน

เจ้าหนี้ต้องปรับ เมื่อกฎหมายทวงหนี้เปลี่ยน

ส่องรายละเอียด "พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้" ฉบับใหม่ แบบไหนทำได้ ทำไม่ได้ มาดูกัน!

“ทวงหนี้โหด เป็นอีกหนึ่งปัญหาสืบเนื่องจากการเป็นหนี้นอกระบบซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสังคมอย่างปัญหาอาชญากรรม เพื่อเป็นการป้องกันความรุนแรงที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีการทวงหนี้ จึงมีการปรับพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ .. 2558 ใหม่ เพื่อสร้างขอบเขตในการทวงหนี้ให้ชัดเจนขึ้น โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 นี้เป็นต้นไป 

พระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำจำกัดความของคำว่า “ผู้ทวงถามหนี้” หมายถึง เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตาม สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีสิทธิชำระหนี้อันเกิดจากการกระทำที่เป็นทางการค้าปกติ หรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย

ขณะที่ “ลูกหนี้” หมายความว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้ความหมายรวมถึง ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย

157450297879

  • สิทธิของลูกหนี้

เนื้อหาหลักๆ ของพระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ครั้งล่าสุดนี้ ระบุว่า ผู้ทวงถามหนี้ หรือเจ้าหนี้ ห้ามทวงถามหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ทวงถามได้เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-20.00 น. วันหยุดราชการ เวลา 8.00-18.00 น. และสามารถทวงถามได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง

สำหรับกรณีการทวงถามหนี้ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ หากมีการส่งข้อความไปหาลูกหนี้แล้วถูกเปิดอ่าน แม้ไม่มีการตอบรับก็ถือว่าลูกหนี้ได้รับทราบการทวงถามหนี้แล้วเช่นกัน

ส่วนกรณีการทวงถามหนี้ผ่านทางโทรศัพท์ หากลูกหนี้รับสายแล้วมีการพูดคุยกันในสาระสำคัญที่แสดงเจตนาในการทวงถามหนี้ถือว่าเป็นการทวงถามหนี้แล้ว แต่หากลูกหนี้ไม่รับโทรศัพท์ หรือรับสายก่อนกดตัดสายจะถือว่ายังไม่ได้มีการติดตามทวงถามหนี้

ที่สำคัญคือ ในมาตรา 11 ระบุว่า เจ้าหนี้ห้ามทวงถามในลักษณะข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือทำอะไรที่นำไปสู่ความเสียหายต่อร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น

ห้ามใช้วาจาดูหมิ่น พร้อมทั้งห้ามเปิดเผยข้อมูลการเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมถึงห้ามติดต่อลูกหนี้โดยใช้ไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อถึงการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน

กรณีที่ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นได้รับการปฏิบัติจากผู้ทวงถามหนี้ที่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ให้ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นนั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการการกํากับการทวงถามหนี้ประจําจังหวัด สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ประกอบด้วย 

ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัด ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในพื้นที่ ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัด คลังจังหวัด ประธานสภาทนายความจังหวัด เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง และผู้แทนองค์กรพัฒนาภาคเอกชนในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ฯลฯ ตามมาตรา 27 เพื่อวินิจฉัยสั่งการได้

157450610648

  • สิทธิของเจ้าหนี้

ในทางตรงกันข้าม หากมองในมุมของเจ้าหนี้ ...ฉบับนี้ทำให้การทวงถามหนี้ทำได้ยากขึ้น และต้องใช้ความระมัดระวังในการทวงถามหนี้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในฐานะของเจ้าหนี้หากถูกผิดนัดชำระหนี้ สามารถใช้สิทธิทางกฎหมายเป็นข่องทางในการเจรจา หรือทำให้ได้มาซึ่งเงินของตนได้ หากมีหลักฐานที่ชัดเจนและเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด

เช่น มาตรา 215 ระบุว่า เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์ อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซร้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้

หรือ กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ โดยมีสัญญาการกู้ยืมที่มีการลงมือชื่อของลูกหนี้และเจ้าหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่ง ตามมาตรา 213 ที่ว่าถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้

แต่ถ้าเจ้าหนี้ไม่มั่นใจว่า การทวงหนี้แบบที่เคยทำอยู่จะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ หรือไม่รู้ว่าต่อไปถ้ามีคนมากู้ยืมเงิน ต้องทำอย่างไรเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะได้เงินคืนแน่นอน มีข้อมูลจาก รณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ทนายความเจ้าของเพจทนายคู่ใจ เคยอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

"เป็นเรื่องน่าเบื่อมากเวลาใครมาทวงหนี้เราแล้ว ลูกหนี้ก็หลบหน้าหลบตาหนีหายไปจากชีวิตเจ้าหนี้เลย มีเพื่อนเสียเพื่อนจริงๆ

อาจลองใช้วิธีการทวงหนี้โดยการลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ระบุข้อความว่าให้ลูกหนี้จัดการชำระหนี้ที่ค้างไว้ ภายในกี่วันก็ระบุไปตามเห็นสมควร มิฉะนั้น จะดำเนินการตามกฎหมาย

ข้อความที่ประกาศนั้นเป็นเรื่องคำเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย ทั้งข้อความที่ประกาศก็ไม่มีข้อความใดที่เป็นการใส่ความลูกหนี้ (เป็นการระบุข้อเท็จจริงในภาษาทางกฎหมาย) จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328"

เอาเป็นว่า อย่าให้ถึงขั้นต้องลงประกาศเลย แค่ทวงหนี้ตามกฎระเบียบใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสม และหากจะให้ใครยืมเงินหรือปล่อยกู้ ก็ควรทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าหนี้ในยุคนี้