“อีอีซี”หมุดหมายใหม่เศรษฐกิจไทย จบปัญหาพัฒนาเมืองแบบเดิม มุ่ง :สร้างงานดี อยู่สบาย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

“อีอีซี”หมุดหมายใหม่เศรษฐกิจไทย จบปัญหาพัฒนาเมืองแบบเดิม มุ่ง :สร้างงานดี อยู่สบาย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

“คณิศ” ย้ำอีอีซี เน้นพัฒนาอย่างยั่งยืนและรอบด้าน ขณะดับบลิวเอชเอ แนะเจาะความต้องการนักลงทุนแบบครบวงจร ด้านพีทีมีจัซี ชี้อาร์แอนด์ดีคือคำตอบขับเคลื่อนธุรกิจ ส่วน”รมว.ศึกษา”กางแผนปั้นคนไทยโตทันโลกเปลี่ยน

นายคณิศแสงสุพรรณเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) กล่าวในงานสัมมนา“EEC NEXT: ทุนไทย-เทศปักหมุดEEC”  จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  ว่าโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่ผ่านมาได้เร่งดำเนินการไปแล้ว2 ระยะโดยในระยะแรกได้ทำเรื่องกฎหมายและเรื่องแผนงานทั้งหมดเช่นทำระเบียบพีพีพีใหม่ทั้งหมดในระยะที่2 ทำเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทั้ง5 โครงการที่สำคัญสิ้นปีนี้น่าจะจบส่วนระยะที่3 ในขณะนี้เป็นเรื่องการลงทุนและการพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชน

โดยอีอีซีเป็นการพัฒนาในระยะยาวเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมและชุมชนเมืองไม่ต่ำกว่า20 ปีเพื่อไม่ให้กระทบคนในพื้นที่จึงต้องทำแผนการใช้พื้นที่อย่างละเอียด

นอกจากนี้จะเร่งดำเนินงานด้านการศึกษาโดยจะเน้นสร้างบุคลากรในระดับอาชีวะศึกษาซึ่งในขณะนี้จะต้องผลิตคนตามความต้องการของภาคเอกชนไม่สามารถผลิตตามสถาบันการศึกษาเหมือนในอดีตรวมทั้งการจัดทำด้านสาธารณสุขยกระดับสุขภาพของคนในพื้นที่โดยเฉพาะในเรื่องการทำระบบประกันสุขภาพโดยทั้งนักท่องเที่ยวและทุกคนที่เข้ามาพักอาศัยในพื้นที่อีอีซีจะต้องมีประกันสุขภาพ

นางสาวจรีพรจารุกรสกุลประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริษัทดับบลิวเอชเอคอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน) หรือWHA กล่าวว่าจากการพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติจะสอบถามในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในโครงการอีอีซีเพราะเห็นเป็นเรื่องหลักรองลงมาเป็นเรื่องเมืองที่จะเข้ามารองรับที่พักอาศัยและแรงงานที่จะเข้ามาดังนั้นในอีอีซีจึงได้เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เพื่อรองรับแล้วและอยู่ระหว่างการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในแผนการพัฒนาอีอีซีได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาเมืองทั้งใน.ฉะเชิงเทรา.ชลบุรีและจ.ระยองที่จะเชื่อมโยงต่อเนื่องกันเพื่อรองรับนักลงทุนและครอบครัวที่จะเข้ามาอยู่ในพื้นที่อีอีซีซึ่งจะต้องมีโรงเรียนโรงพยาบาลและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆโดยโครงการเหล่านี้จะเข้ามาตอบสนองความต้องการของนักลงทุนได้ตรงจุด

นายคงกระพันอินทรแจ้งประธานเข้าหน้าที่บริหารบริษัทพีทีทีโกลบอลเคมิคอลจำกัด(มหาชน) หรือPTTGC กล่าวว่าบริษัทยังให้ความสำคัญกับเรื่องของเศรษฐกิจหมุนเวียน(circular economy) การตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการดำเนินการ3 ส่วนคือการปรับลดคาร์บอนในกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ลดคาร์บอนและการทำเรื่องของไบโอชีวภาพที่ปัจจุบันมีการตั้งต้องโรงงานในอีอีซีอยู่แล้วและเตรียมจัดตั้งแห่งใหม่ในโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ 157427007439

นายณัฏฐพลทีปสุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่าหลังจากที่เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก็มีความเป็นห่วงว่าจะผลิตบุคลากรเข้ามารองรับการลงทุนในพื้นที่

อีอีซีได้อย่างไรโดยหลังจากที่เข้ามาดูแล3-4 เดือนได้ปรับแผนในส่วนของอาชีวศึกษามั่นใจหากแผนงานของรัฐบาลที่ดึงดูดการลงทุนให้บริษัทต่างๆเข้ามาลงทุนในอีอีซีจะมีแรงงานฝีมือคุณภาพมารองรับได้อย่างแน่นอน

โดยสาเหตุที่มั่นใจเพราะพื้นฐานเยาวชนไทยมีพื้นฐานทักษะที่ดีแต่ขาดการเรียนการสอนที่เป็นไปตามความต้องการของตลาดเพราะขาดการประสานงานกับภาคเอกชนว่ามีความความต้องการบุคลากรในทักษะด้านใดบ้างโดยเฉพาะใน10 อุตสาหกรรมเป้าหมายโดยที่ผ่านมาได้ขอความร่วมมือกับเอกชนเข้ามาช่วยออกแบบหลักสูตรร่วมกันกำหนดทักษะที่ต้องการมากที่สุดในอนาคตนอกจากทักษะอาชีพคือภาษาอังกฤษจะต้องออกแบบหลักสูตรภาษาอังกฤษที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละสาขาอาชีพเช่นภาษาอังกฤษสำหรับอุตสาหกรรมอากาศยานหุ่นยนต์ยานยนต์แห่งอนาคตซึ่งจะต้องมีหลักสูตรเฉพาะไม่เหมือนกับในอดีตที่เหมือนกันหมดรวมทั้งจะต้องฝึกทักษะของเด็กต้องมีความคิดสร้างสรรค์และกล้าแสดงออกซึ่งจะต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน

สิ่งที่สำคัญที่สุดของอีอีซีคืออาชีวะจะต้องฉีดยาแรงเราไม่สามารถวางพื้นฐานด้านภาษาแบบเดิมๆได้ที่ต้องใช้เวลาเรียนยาวนานซึ่งจะปรับให้การสอนในระดับอาชีวะในปีการศึกษานี้กำหนดให้ต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษเช่นที่ชลบุรีจะเน้นการเรียนซ่อมเครื่องบินต้องใช้ภาษาอังกฤษเฉพาะด้านเพื่อให้เป็นแรงงานทักษะมีฝีมือตอลสนองความต้องการของตลาด

หลังจากแบ่งกลุ่มธุรกิจจะปรับโรงเรียนวิทยาลัยอาชีวะโรงเรียนที่สอนด้านการบินแถวดอนเมืองอู่ตะเภาสุวรรณภูมิภูเก็ตและเชียงใหม่ไม่ต้องไปสอนที่อื่นให้เป็นฐานการเรียนในด้านนี้เพราะไม่มีหน่วยงานตอบสนองการฝึกอบรมซึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เหลือก็จะทำแบบเดียวกันเช่นอุตสาหกรรมระบบรางควรทำที่ไหนเช่น.พระนครศรีอยุธยาและจ.นครพนมมีโรงเรียนพร้อมอุปกรณ์อยู่แล้วจะเลือกเพิ่มอีก3-4 แห่งเรียนรูระบบรางโฟกัสที่5-6 โรงเรียนแล้วโรงเรียนอื่นๆก็แยกไปตามธุรกิจบางโรงเรียนไม่ใกล้สถานประกอบการที่ฝึกงานได้ต้องปรับไม่ให้ซ้ำซ้อนกันเพื่อตอบสนองความต้องการอีอีซี

นอกจากนี้จะต้องปรับศักยภาพของครูซึ่งครูจะต้องมีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษโดยภายใน1 ปีน่าจะทำได้ครูรุ่นใหม่จะต้องไปท่องโลกอินเตอร์เน็ตเอาข้อมูลมาปรับปรุงการสอนปรับศักยภาพของตัวเองถ้าฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องก็ไม่สามารถถ่ายทอดให้เด็กได้ความรู้ก็จะแคบจึงต้องปรับครูอย่างแน่นอนปัจจัยนี้นี้คือตัวเลื่อนขั้นของคุณครูในทุกระดับเพราะครูเป็นตัวเชื่อมไปสู่เด็กและเยาวชนหากครูไม่ปรับตัวก็ไม่สามารถเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาในกระทรวงศึกษาได้เราจะไม่ยอมไม่เช่นนั้นก็ต้องย่ำอยู่กับที่ครูต้องพัฒนาตัวเอง 157427015150