เจาะความสัมพันธ์ 'ไทย-สวีเดน' ภายใต้เอ็มโอยูพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

เจาะความสัมพันธ์ 'ไทย-สวีเดน' ภายใต้เอ็มโอยูพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

พร้อมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ บุคลากรทางด้านไอที และทุนการศึกษา

ถกปัญหาธุรกิจโอทีทีถาโถม

ด้านนายเอริก บอลิน ศาสตราจารย์ และอาจารย์ประจำคณะบริหารจัดการเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ ชามเมอร์ เสริมว่า สิ่งสำคัญในการผลิตบุคลากร และ งานวิจัย ตลอดจนการสำรวจตลาด คือ ต้องตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม เรามีพันธกิจของมหาวิทยาลัยคือ ต้องพัฒนาคน, มุมมอง และ การปฏิบัติ เพื่อให้มีความแตกต่าง ทั้งในระดับท้องถิ่น และ ระดับโลก

ชามเมอร์ จึงเน้นทำงานร่วมกัน บริษัท และ นักลงทุน เพื่อร่วมหาแนวคิดใหม่ๆ ยกตัวอย่างการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในปีนี้ เริ่มต้นจาก 150 ไอเดีย กลั่นกรองเป็นโครงการ 12 โครงการ และรวมเหลือ 5-6 ผลงานเพื่อสร้างสตาร์ทอัปและนำชิ้นงานป้อนสู่อุตสาหกรรมที่ได้ใช้จริง โดยยึดหลักการวิจัยใน 3 เรื่อง คือ 1.นวัตกรรม และ การสร้างผู้ประกอบการ 2.การบริหารจัดการห่วงโซ่ อุปทาน และ การบริหารจัดการการดำเนินงาน 3. ความยั่งยืนและสังคมการศึกษา

157426227695

ซึ่งล่าสุดชามเมอร์ร่วมกับกสทช.ศึกษาเรื่องโครงข่ายระหว่างประเทศ เพราะเกิดความเปลี่ยนแปลงของผู้เล่นโอทีที ซึ่งมีการใช้งานแบรนด์วิธบนโครงข่ายโทรคมนาคม แต่ตัวเองกลับไม่ได้ลงทุนหรือเสียอะไรกลับมาให้อุตสาหกรรมเลย ซึ่งนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกและหากในอนาคตโอทีทีจะเป็นผู้ลงทุนสร้างเคเบิลใต้น้ำเอง การแข่งขันจะเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

ดังนั้น การก้าวเข้าสู่ยุค 5จี ซึ่งเป็นเหมือนกับการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่โลกกำลังเข้าสู่ไอโอที บล็อกเชน วีอาร์ และเออาร์ อย่างเต็มตัว นโยบายของไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ “วัตถุดิบ” ซึ่งก็คือคลื่นความถี่ เป็นเหตุให้รัฐบาลและกสทช.ผลักดันให้เกิดคณะกรรมการขับเคลื่อน 5จีแห่งชาติ เพราะหากครั้งนี้ไทยตกขบวนเทคโนโลยีแล้วละก็ คำขู่ที่ว่ากลุ่มทุนต่างชาติคงหนีไปประเทศเพื่อนบ้านคงเกิดขึ้นแน่นอน