ภาพรวมตลาดงานไทย8อาชีพ เลือกทำงานตาม"รายได้-ชีวิตสมดุล"

ภาพรวมตลาดงานไทย8อาชีพ เลือกทำงานตาม"รายได้-ชีวิตสมดุล"

สำนักงานโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประจำประเทศไทย ที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับโลก ออกมาเผยผลสำรวจเงินเดือน และแนวโน้มการจ้างงานในปี 2563 ของประเทศไทย โดยได้สำรวจพนักงาน ไปจนถึงผู้บริหารระดับกลางและระดับผู้บริหารระดับสูง ทั้ง 8 อาชีพ

อาชีพบัญชีและการเงิน การเงินและการธนาคาร ทรัพยากรบุคคล วิศวกรรมและการผลิต การขายและการตลาด กฎหมาย ซัพพลายเชนและจัดซื้อ และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงวิเคราะห์จากหลากหลายเครือข่ายสำนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งมาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซียในระหว่างปี 2562

ปุณยนุช ศิริสวัสดิ์วัฒนา ผู้จัดการประจำประเทศไทย กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้จะนำเสนอภาพรวมของตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเจาะลึกในส่วนของประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญในการจ้างงานในปี 2563

โดยภาพรวมของตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น อัตราเงินเดือนที่ผู้ย้ายงานคาดหวังที่จะปรับขึ้น ในปี 2563 อินโดนีเซียอยู่ระหว่าง 15-30% มาเลเซีย 15-20% ฟิลิปปินส์ 20-40% สิงคโปร์ 5-15% เวียดนาม 15-20% และไทย 20-30%

ส่วนปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ทำงานในองค์กรเดิม ไม่ย้ายงาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย มีความเหมือนกัน คือ วัฒนธรรมขององค์กรและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี แต่ฟิลิปปินส์ จะเป็นเรื่องของฐานเงินเดือนและสวัสดิการที่ดี

157425694340

ภาพรวมตลาดของประเทศไทยนั้น แนวโน้มการจ้างงานนั้น ในส่วนของผู้จ้างงาน มองว่า การจ้างงานในภาคการผลิตยังคงเป็นบวก มีความต้องการใช้กลยุทธ์โมบาย เฟิร์ส ผลักดันความต้องการบุคลากรในสายดิจิทัล ขณะที่ในส่วนของพนักงาน 75% ของพนักงานคาดว่าจะได้รับโบนัสประมาณ 15 % ขึ้นไปของเงินเดือน และ 29 %ของพนักงานให้ประเด็นความก้าวหน้าในอาชีพเป็นแรงจูงใจหลักในการเปลี่ยนงาน 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีนิติบุคคลจดทะเบียนบริษัทใหม่ในช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย.2562 ถึง 38,222 ราย ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายได้พบว่า มีนิติบุคคลจดใหม่มากถึง 6,370 รายต่อเดือน ดังนั้นถ้าคิดจำนวนทั้งหมดถึงสิ้นปี 2562 คาดว่าจะมีนิติบุคคลใหม่ถึง 76,000 ราย โดย 3 อันดับอุตสาหกรรมที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่มากที่สุด คือ ก่อสร้างรับเหมา อสังหาริมทรัพย์ และร้านอาหาร

ภาพรวมการลงทุน(ล้านบาท)ในภาคอุตสาหกรรมช่วงเดือน มค.-กย.ปี 2561 และปี 2562 พบว่า 3 อุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูงขึ้น คือ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ โดย ปี 2561  ลงทุน 140 ล้านบาท ปี 2562 ลงทุน 790 ล้านบาท มีการเปลี่ยนแปลงร้อยละ +464

เทคโนโลยีชีวภาพ ปี2561 ลงทุน 6,290 ล้านบาท ปี 2562 ลงทุน 14,920 ล้านบาท  เปลี่ยนแปลงร้อยละ +137 และการแพทย์ ปี2561 ลงทุน  4,290 ล้านบาท ปี 2562 ลงทุน 8,400 ล้านบาท มีการเปลี่ยนแปลงร้อยละ +96 

ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนน้อยลง ได้แก่ ดิจิทัล ปี 2561 ลงทุน12,020 ล้านบาท ปี 2562 ลงทุน 6,460 ล้านบาท เปลี่ยนแปลงร้อยละ-46 และอากาศยาน ปี2561 ลงทุน 6,490 ล้านบาท ปี 2562 ลงทุน540 ล้านบาท เปลี่ยนแปลงร้อยละ- 96  

นอกจากนั้น ยังพบว่า ประเทศไทยเป็นผู้นำของโลกในการใช้อุปกรณ์มือถือ โดยคนไทย 69.24 ล้านคน มีการใช้มือถือมากถึง 92.33 ล้านเครื่อง แสดงว่าคน 1 คนใช้มือถือมากกว่า 1 เครื่อง และมีการซื้อขาย ใช้บริการออนไลน์ มากถึง 90%

ผลสำรวจภาพรวมตลาดของประเทศไทย แบ่งตาม 8 สาขาอาชีพ จำแนกได้ดังนี้ อาชีพทรัพยากรบุคคล โดยเฉลี่ยผู้สมัครที่ย้ายงานคาดว่าจะมีการเพิ่มเงินเดือนระหว่าง 20-30% โดยปัจจัยย้ายงาน 4 อันดับแรก คือ ความก้าวหน้าในอาชีพ 36% ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีขึ้น 19% วัฒนธรรมองค์กรที่ดีกว่า 16% และสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น 14% ซึ่ง 27%ของพนักงานในอุตสาหกรรมทรัพยากรบุคคลมีอายุงานน้อยกว่า 2 ปี และพนักงาน 57% ที่ทำงานตำแหน่งเดิม คาดว่าได้เงินเดือนปรับขึ้นประมาณ 7-15%

157425694595

ต่อมาอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉลี่ยผู้สมัครที่ย้ายงานคาดว่าจะมีการเพิ่มเงินเดือนระหว่าง 15-30% โดยปัจจัยย้ายงาน 4 อันดับแรก คือ ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีขึ้น 27% ความก้าวหน้าในอาชีพ 27% สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น 15% และวัฒนธรรมองค์กรที่ดีกว่า 10% ซึ่ง 32%ของพนักงานในอุตสาหกรรมทรัพยากรบุคคลมีอายุงานน้อยกว่า 2 ปี และพนักงาน 56% ที่ทำงานตำแหน่งเดิม คาดว่าได้เงินเดือนปรับขึ้นประมาณ 7-15%

ในส่วนของอาชีพนักบัญชีและการเงิน โดยเฉลี่ยผู้สมัครที่ย้ายงานคาดว่าจะมีการเพิ่มเงินเดือนระหว่าง 15-25% โดยปัจจัยย้ายงาน 4 อันดับแรก คือ ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีขึ้น 28% ความก้าวหน้าในอาชีพ 26% สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น 16% และวัฒนธรรมองค์กรที่ดีกว่า 10% ซึ่ง 21%ของพนักงานในอุตสาหกรรมทรัพยากรบุคคลมีอายุงานน้อยกว่า 2 ปี และพนักงาน 49% ที่ทำงานตำแหน่งเดิม คาดว่าได้เงินเดือนปรับขึ้นประมาณ 7-15%

อาชีพการเงินและธนาคาร โดยเฉลี่ยผู้สมัครที่ย้ายงานคาดว่าจะมีการเพิ่มเงินเดือนระหว่าง 20-25% โดยปัจจัยย้ายงาน 4 อันดับแรก คือ ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีขึ้น 33% ความก้าวหน้าในอาชีพ 27% สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น 15% และวัฒนธรรมองค์กรที่ดีกว่า 8% ซึ่ง 30%ของพนักงานในอุตสาหกรรมทรัพยากรบุคคลมีอายุงานน้อยกว่า 2 ปี และพนักงาน 56% ที่ทำงานตำแหน่งเดิม คาดว่าได้เงินเดือนปรับขึ้นประมาณ 7-15%

อาชีพนักกฎหมาย โดยเฉลี่ยผู้สมัครที่ย้ายงานคาดว่าจะมีการเพิ่มเงินเดือนระหว่าง 15-25% โดยปัจจัยย้ายงาน 4 อันดับแรก คือ ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีขึ้น 61 % ความก้าวหน้าในอาชีพ 27% วัฒนธรรมองค์กรที่ดีกว่า 6% และสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น 6% ซึ่ง 17% ของพนักงานในอุตสาหกรรมทรัพยากรบุคคลมีอายุงานน้อยกว่า 2 ปี และพนักงาน 56% ที่ทำงานตำแหน่งเดิม คาดว่าได้เงินเดือนปรับขึ้นประมาณ 7-15%

สำหรับอาชีพวิศวกรรมและการผลิต โดยเฉลี่ยผู้สมัครที่ย้ายงานคาดว่าจะมีการเพิ่มเงินเดือนระหว่าง 15-30% โดยปัจจัยย้ายงาน 4 อันดับแรก คือ ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีขึ้น 33% โอกาสในการทำงานต่างประเทศ 30% ความก้าวหน้าในอาชีพ 15% และสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น 13% และ ซึ่ง 15 %ของพนักงานในอุตสาหกรรมทรัพยากรบุคคลมีอายุงานน้อยกว่า 2 ปี และพนักงาน 52% ที่ทำงานตำแหน่งเดิม คาดว่าได้เงินเดือนปรับขึ้นประมาณ 7-15%

157425694248

ทั้งนี้ อาชีพการขายและการตลาด โดยเฉลี่ยผู้สมัครที่ย้ายงานคาดว่าจะมีการเพิ่มเงินเดือนระหว่าง 15-30% โดยปัจจัยย้ายงาน 4 อันดับแรก คือ ความก้าวหน้าในอาชีพ 34% ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีขึ้น 28% สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น 15% และวัฒนธรรมองค์กรที่ดีกว่า 10% ซึ่ง 36%ของพนักงานในอุตสาหกรรมทรัพยากรบุคคลมีอายุงานน้อยกว่า 2 ปี และพนักงาน 49% ที่ทำงานตำแหน่งเดิม คาดว่าได้เงินเดือนปรับขึ้นประมาณ 7-15%

อาชีพซัพพลายเชนและการจัดซื้อ โดยเฉลี่ยผู้สมัครที่ย้ายงานคาดว่าจะมีการเพิ่มเงินเดือนระหว่าง 15-20% โดยปัจจัยย้ายงาน 4 อันดับแรก คือ ความก้าวหน้าในอาชีพ 29% ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีขึ้น 20% โอกาสในการทำงานต่างประเทศ 20 % และสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น 15% ซึ่ง 17%ของพนักงานในอุตสาหกรรมทรัพยากรบุคคลมีอายุงานน้อยกว่า 2 ปี และพนักงาน 62% ที่ทำงานตำแหน่งเดิม คาดว่าได้เงินเดือนปรับขึ้นประมาณ 7-15%

“ปัญหาที่ตลาดแรงงานไทยกำลังเผชิญอยู่ คือความต้องการด้านบุคลากรที่ตรงกับสายงานมากกว่าจำนวนผู้สมัคร นั่นหมายความว่ามีผู้สมัครจำนวนมาก แต่ไม่ตรงกับตำแหน่งงานที่รับ ดังนั้น ผู้ว่าจ้างต้องพึ่งคนในองค์กรเดิมของตนเอง โดยต้องตอบสนองความคาดหวังโบนัสประจำปี 15%"ปุณยนุช กล่าว

ส่วนทักษะที่ผู้ประกอบการต้องการจากพนักงาน ผู้บริหารระดับกลางไปจนถึงระบบสูง นั่นคือ ทักษะความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เพียงสื่อสารโต้ตอบได้แต่ต้องต่อรองทางธุรกิจได้ โดยเฉพาะในส่วนของผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงที่ต้องมีทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่ดี สามารถต่อรอง เข้าใจธุรกิจของตนเองเพื่อประโยชน์ขององค์กร

นอกจากนั้นต้องมีทักษะในการบริหารบุคคล และต้องมีความเข้าใจ เท่าทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าง ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมที่จะช่วยส่งเสริมการทำงาน การเติบโตขององค์กรได้ทั้งในระดับประเทศ และสากล

ภาพรวมของธุรกิจและเศรษฐกิจประเทศไทยยังคงมีความแข็งแกร่ง ควบคู่กับการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์ โมบาย เฟิร์ส หรือการที่ผู้บริโภคในยุคนี้เริ่มมีการติดต่อสื่อสารกันผ่านโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช่การพูดคุยกันธรรมดา แต่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ

เน้นไปการบริหารโดยผู้นำที่แข็งแรงและบุคลากรที่สร้างสรรค์แห่งนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่านายจ้าง ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง และสะท้อนไปถึงพนักงานว่าต้องเร่งปรับตัวเพื่อดึงดูดให้ทุกคนมุ่งมั่นทำงานที่เดิม และมีความสามารถมากขึ้น

ขอบคุณภาพประกอบจากโรเบิร์ต วอลเทอร์ส