ส่องเทรนด์ธุรกิจดาวเทียมใต้เงา 5 จี

ส่องเทรนด์ธุรกิจดาวเทียมใต้เงา 5 จี

เป็นที่จับตามองว่าปี 2564 เมื่อหมดสัมปทานดาวเทียม กับ บมจ.ไทยคม และโอนทรัพย์สินกลับมาที่ภาครัฐ คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ทิศทางขับเคลื่อนแนวทางดาวเทียมสื่อสารของไทยจะเป็นอย่างไร

เขา เสริมว่า กสทฯเล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงเป็นโอกาสที่จะยกระดับพัฒนาธุรกิจดาวเทียมให้ตอบสนองการพัฒนาประเทศตามนโยบายรัฐบาล โดยเชื่อมั่นว่าทรัพยากรที่หน่วยงานมีอยู่ ทั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินให้บริการระดับนานาชาติด้วยมาตรฐานสากลถึง 3 แห่ง คือ สถานีดาวเทียมศรีราชา สถานีดาวเทียมนนทบุรี และสถานีดาวเทียมสิรินธร

“5จีจะเพิ่มมูลค่าธุรกิจต่อยอดสู่ดิจิทัล ฮับ ด้วยระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมดวงต่าง ๆ ทั้งในและระหว่างประเทศ อาทิ ไทยคม เอเชียแซท อินเทลแซท ครอบคลุมโซนมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก” 157416652395

ผนึกพันธมิตรสยายปีกธุรกิจ

สำหรับแผนต่อยอดการให้บริการผ่านดาวเทียมของกสทฯ ในส่วนของการถ่ายทอดสัญญาณ (Broadcast) จะพัฒนาบริการโอทีทีผ่านดาวเทียมรองรับการใช้งานแบบโมบิลิตี้ เพิ่มความสะดวกในการรับชมผ่านหน้าจอ โมบายดีไวซ์ต่าง ๆ และสำหรับบริการด้านบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมประจำที่ (Fixed Satellite) ซึ่งเป็นบริการกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในที่ทุรกันดารห่างไกล ซึ่งไฟเบอร์ออปติกไปไม่ถึง 

ล่าสุดได้ขยายจากลูกค้ากลุ่มพลังงาน น้ำมันและก๊าซไปยังกลุ่มอื่น ๆ เช่น ธุรกิจเดินเรือ ธุรกิจเรือสำราญ ธุรกิจการบิน ฯลฯ ธุรกิจดาวเทียมยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในยุค 5จี ในกระแสโลกยุคใหม่การสื่อสารดาวเทียมคืออนาคตที่มีบทบาทสำคัญไม่เพียงในการพัฒนาประเทศ แต่ทั่วโลกขณะนี้มุ่งใช้ประโยชน์จากดาวเทียมสื่อสารและแข่งขันในการจับจองทำเลทองในห้วงอวกาศ

โดยกสทฯอยู่ระหว่างเจรจาร่วมเป็นพันธมิตรในเครือข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ เพื่อพัฒนานวัตกรรมบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียม โดยใช้พื้นที่สถานีดาวเทียมภาคพื้นดินของกสทฯให้เป็นสถานีเกตเวย์ของกลุ่มเครือข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำครอบคลุมทั่วโลกกว่า 800 ดวง ซึ่งจะสามารถรองรับความต้องการของประเทศ และได้เจรจาพันธมิตรกับ ยูเทลแซทผู้ให้บริการดาวเทียมบรอดแบนด์เพื่อเพิ่มรัศมีการให้บริการที่ครอบคลุมได้ทั่วโลกด้วย