'เคลมดิ' แชร์โมเดลโตไกด์เส้นทางสู่ ‘องค์กรนวัตกรรม’

'เคลมดิ' แชร์โมเดลโตไกด์เส้นทางสู่ ‘องค์กรนวัตกรรม’

เวทีเสวนาถ่ายทอดประสบการณ์ก่อนก้าวสู่ "สุดยอดองค์กรนวัตกรรมแห่งปี"จากเอนนี้แวร์ทูโกผู้ให้บริการ "เคลมดิ" แพลตฟอร์มเคลมประกันรถยนต์เจ้าเดียวในไทย ด้านเอ็นไอเอเปิดตัว IOP โปรแกรมทรานส์ฟอร์มองค์กรผ่านเครื่องมือ3 ระดับ8มิติ ยิงกรอบการบริหารนวัตกรรมองค์กร

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อํานวยการสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (เอ็นไอเอ) กล่าวว่า “องค์กรนวัตกรรม” ต้องเริ่มจากการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้กล้าคิด กล้าทดลองในสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น พัฒนาทักษะเปิดรับสิ่งใหม่และไม่ยึดติดกับโมเดลเดิมๆ ค้นหาเทคโนโลยีจากภายนอกที่เป็นที่ยอมรับและนํามาปรับใช้ในองค์กรโดย เฉพาะเทคโนโลยีเอไอ สิ่งสําคัญคือวันนี้ไทยมีต้นแบบ “องค์การนวัตกรรม” ทั้งในและต่างประเทศระดับนานาชาติให้ได้เรียนรู้ดังนั้นการจะเติบโตในโลกกว้างจึงไม่ใช่เรื่องที่ยากอย่าง ในอดีตที่ผ่านมา

สิ่งท้าทาย "วัฒนธรรมนวัตกรรม"

กิตตินันท์ อนุพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท เอนนี่แวร์ทู โก จํากัด ซึ่งได้รับรางวัลเกียรติคุณดีเด่นประเภทธุรกิจขนาดกลาง หรือ รางวัลองค์กรนวัตกรรมแห่งปี 2562 จากเอ็นไอเอ กล่าวว่า บริษัทตระหนักถึงความสําคัญในการสร้างนวัตกรรมให้หมุนเวียนอยู่เสมอ และพบว่าการสร้างนวัตกรรมในองค์กรไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากคือการสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์กรเห็นความสําคัญของสิ่งใหม่และรู้ว่าองค์กรกําลังทําอะไรมีเป้าหมายอย่างไร

โมเดลการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเริ่มจากการกําหนดวิสัยทัศน์การทํางานคือ Co-Exit ความสําเร็จทําคนเดียวไม่สําเร็จ พร้อมทั้งพยายามปลูกฝังให้กับคนในองค์กรกว่า 180 คน ควบคู่กับการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผนก เนื่องจากวัฒนธรรมขององค์กรต้องการพื้นที่ศูนย์รวมที่ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนความคิตร่วมกันได้ หรือการทํา OKR ผ่านการตั้งโจทย์ เช่น ทําอย่างไรให้ยอดเคสมเพิ่มเป็น 2 เท่า จากนั้นให้พนักงานจัดตั้งทีมที่ประกอบด้วยตัวแทนแต่ละแผนก เพื่อหากลยุทธ์แชร์เป้าหมายร่วมกันจากนั้นส่ง OKR ก็จะเกิดเป็นวัฒนธรรมนวัตกรรมภายในองค์กร

“เส้นทางการพัฒนาไปสู่ “องค์กรนวัตกรรม” จําเป็นต้องสร้าง 2 อย่างไปพร้อมกัน คือวัฒนธรรมในองค์กรและโครงสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สังคมในสิ่งที่เรากําลังจะให้บริการ” กิตตินันท์ กล่าว

ทั้งนี้ เอนนี่แวร์ ทู โก ได้ผลิตแอพพลิเคชั่นออกมาแล้วหลากหลายซีรี่ส์สําหรับการช่วยเหลือในสภาวะ ฉุกเฉิน เช่น BESilort บริการเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินในเครือโรงพยาบาล กรุงเทพ, Police I lert U บริการขอความช่วยเหลือจากตํารวจรวมไปถึงแอพพลิเคชั่นชื่อดังเคลมติ (Claim D)

โดยเคลมดิมีระบบปฏิบัติการตอบสนองความช่วยเหลือด้านประกันภัยรอบด้านไม่ว่าจะเป็น I lert U ระบบขอความช่วยเหลือเข้ามาที่บริษัทประกันภัย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเห็นตําแหน่งจุดเกิดเหตุ ทะเบียนรถกระทั่งกรมธรรม์ของลูกค้าทันที, ระบบ ISP (Inspection) ที่ลูกค้าสามารถทําการสํารวจรถของตนเองเพื่อขอทําการอนุมัติกรมธรรม์ได้โดยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ หรือระบบ NA (Non Accident Claim) ที่ลูกค้าสามารถทํารายการเคลมได้เองแบบไม่มีคู่กรณี เพียงแค่ถ่ายภาพส่งมาจึงเป็นบริการแรกในประเทศที่ช่วยให้ผู้ขับรถยนต์สามารถทําเคลมประกันภัยได้โดยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถ (Surveyor) ก้าวข้ามการทํางานแบบเดิมที่ผู้ประสบภัยต้องโทรศัพท์เรียกเจ้าหน้าที่มาทําเคลมโดยเปลี่ยนมาให้ผู้ประสบภัยทําการเคลมได้เอง

ปัจจุบันบริษัทมีรูปแบบธุรกิจเป็นการทํางานร่วมกับคู่ค้าที่หลากหลายในอีโคซิสเต็ม ปีที่ผ่านมารายได้และยอดผู้ใช้งานแพลตฟอร์มเติบโตอย่างก้าวกระโดด นอกจากนั้นองค์กรยังเน้นการใช้ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ (Tacit Knowledge) ระหว่างบุคคลมากกว่าความรู้ทั่วไปทางทฤษฎี (Explicit Knowledge) โดยผ่านกระบวนการอไจล์ (Agile) ซึ่งเป็นแนวคิดการทํางานขององค์กรยุคดิจิทัลอีกด้วย

157408786445


5 กลยุทธ์ทรานส์ฟอร์ม

ยุทธนา ศิลปสรรค์วิชช์ นายกสมาคม อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย สะท้อนมุมมองว่า ความพร้อมของผู้ประกอบการไทยในเรื่องของนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรนั้นนับว่ามีน้อยมากถ้าเทียบในการแข่งขันของตลาดโลก

สิ่งสําคัญคือ ผู้ที่ทําธุรกิจจะต้องเห็นว่าโลกเปลี่ยนไปเร็วแค่ไหนและจะสามารถอยู่กับการเปลี่ยนแปลงในเชิงของธุรกิจอย่างไร โดยมีกลยุทธ์ง่ายๆ คือ 1.สร้างประสิทธิภาพใหม่ให้กับธุรกิจเช่นทําอย่างไรให้ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าให้จบครบทุกชิ้นส่วนของเสื้อได้ง่ายในหน้าเพจเดียว 2.กระบวนการ วิธีคิด เทคโนโลยี จะต้องปรับเปลี่ยนสู่การเป็น Mass customization 3.เปลี่ยนวัฒนธรรมในองค์กรให้พนักงานนํานวัตกรรมมาปรับใช้จนเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 4.เจ้าของกิจการต้องเป็น “นักนวัตกรรม” ควบคู่ไปด้วย โดยให้ความสําคัญกับการสร้างนวัตกรรมในองค์กร และต้องดําเนินการตามขั้นตอนที่วางกลยุทธ์ไว้ และ 5.การวัดผลต้องย้อนกลับมาดูว่าสิ่งที่ทํานั้นประสบ ผลสําเร็จแค่ไหน ควรปรับปรุงต่อไปอย่างไร พร้อมทั้งเปิดกว้างรับสิ่งใหม่ๆ เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรได้อย่างเหมาะสม

157408789486


เครื่องมือขับเคลื่อนนวัตกรรม

ชัยธร ลิมาภรณ์วณิชย์ ผู้จัดการกลยุทธ์นวัตกรรม กล่าวว่า เอ็นไอเอได้จัดทํา “โครงการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร (IOP) มากว่า 4 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กรของหน่วยงานให้เป็นหน่วยงานที่สามารถเติบโตและสร้างเข้มแข็งบนฐานของนวัตกรรมได้ เพราะการก้าวไปสู่องค์กรนวัตกรรมไม่ใช่เพียงแต่การผลิตสินค้าหรือบริการใหม่ๆ แต่ยังรวมถึงการพัฒนาทักษะทรัพยากรมนุษย์ให้รู้จักเปิดรับสิ่งใหม่ๆ และไม่ยึดติดกับโมเดลเดิมที่เคยประสบความสําเร็จ การค้นหาเทคโนโลยีจากภายนอกที่เป็นที่ยอมรับและนํามาปรับใช้ในองค์กร (Open Innovation) 

พร้อมทั้งนําแสนอเครื่องมือที่ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมองค์กรใน 3 ระดับ 8 มิติ คือ 1. ระดับยุทธศาสตร์ เป็นตัวกำหนดภาพรวมในการขับเคลื่อนเชื่อมโยงเป้าหมายและทิศทางของการประกอบ ด้วย 2 มิติ ได้แก่ มิติด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรม และมิติด้านการมุ่งเน้นธุรกิจ 2. ระดับโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย 4 มิติ ด้านบุคลากร องค์ความรู้ วัฒนธรรม และทรัพยากร และ 3. ระดับปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์นกับองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ ประกอบด้วย 2 มิติทางผลิตผล และกระบวนการ