'ทูตพาณิชย์' สหรัฐเตือนการค้าโลกส่อผันผวนอีกรอบ

'ทูตพาณิชย์' สหรัฐเตือนการค้าโลกส่อผันผวนอีกรอบ

ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยืดเยื้อมาตั้งแต่ต้นปี 2561 เมื่อรัฐบาลสหรัฐภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้มาตรการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อกดดันให้รัฐบาลจีนดำเนินมาตรการทางการค้าที่สหรัฐต้องการ

ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยืดเยื้อมาตั้งแต่ต้นปี 2561 เมื่อรัฐบาลสหรัฐภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้มาตรการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพื่อกดดันให้รัฐบาลจีนดำเนินมาตรการทางการค้าที่สหรัฐต้องการ

เช่น การเพิ่มมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรและเนื้อสัตว์ รวมถึงการดำเนินมาตรการในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง ซึ่งก่อให้เกิดการตอบโต้ทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง

ผลกระทบจากการตอบโต้ทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศที่ยืดเยื้อ ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าระหว่างทั้งสองลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากข้อมูลการค้าระหว่างจีนและสหรัฐโดย U.S. Census Bureau พบว่า ในระหว่างเดือนม.ค.-ก.ย.2562 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากจีนลดลง 13.43% เหลือมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 3.42 แสนล้านดอลลาร์ ในขณะที่จีนเองก็มีมูลค่านำเข้าสินค้าจากสหรัฐ ลดลง 15.54% เหลือมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 1.45 หมื่นล้านดอลลาร์

รายงานจากจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี สหรัฐ เผยว่าล่าสุดรัฐบาลทั้งสองประเทศได้จัดให้มีการหารือร่วมกันอีกครั้งเมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ได้ข้อสรุปร่วมกันทางการค้าบางส่วนซึ่งแม้ว่าจะได้มีกำหนดการลงนามข้อตกลงร่วมกันไว้ก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากปัญหาความไม่สงบในชิลีจึง ทำให้การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิกที่มีกำหนดจัดขึ้นในชิลี และจะเป็นเวทีสำหรับการ ลงนามข้อตกลงระหว่างจีนและสหรัฐจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเลื่อนกำหนดการลงนามออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าจีนและสหรัฐ จะสามารถจัดการประชุมเพื่อลงนามในข้อตกลงรอบแรก (บางส่วน) ได้เร็วที่สุดภายในเดือนธ.ค. นี้

157382517327

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญในตลาดที่น่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยได้ในอนาคตอันใกล้ คือ ปัจจัยด้านการแข็งค่าของค่าเงินบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เนื่องจากราคาสินค้าจากไทยมีราคาแพงขึ้นในสายตาผู้นำเข้าในสหรัฐและเป็นตัวผลักดันให้ผู้นำเข้าหันไปแสวงหาสินค้าจากประเทศคู่แข่งรายอื่นทดแทน

ปัจจัยด้านมาตรการระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้โครงการ Generalized System of Preferences หรือ GSP สินค้าไทย 573 รายการเป็นมูลค่ากว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ อันเนื่องมาจากประเด็นปัญหาด้านสิทธิแรงงานในไทยในภาคอุตสาหกรรมประมง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.2563 เป็นต้นไป

    ดังนั้น สคต.เห็นว่า จากสภาวะแวดล้อมทางการค้าในตลาดสหรัฐ แม้มีแนวโน้มการขยายตัวดีแต่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้นำเข้าในสหรัฐ แสวงหาแหล่งนำเข้าใหม่เพื่อทดแทนสินค้าจากจีนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการตอบโต้ทางการค้า

หากทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงทางการค้าบางส่วนในเดือนธ.ค.ที่จะถึงนี้ น่าจะส่งผลให้สหรัฐฯ ตัดสินใจยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภคจากจีนมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์ ที่มีกำหนดบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. นี้ประกอบกับปัจจัยด้านการตัดสิทธิ GSP แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น รวมถึงแนวโน้มบรรยากาศการค้าการลงทุนในตลาดโลกที่กำลังเริ่มเข้าสู่ช่วงชะลอตัว

น่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทยโดยรวมทำให้การส่งออกในตลาดสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2563 เป็นต้นไปและน่าจะเห็นผลชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563ผู้ประกอบการไทยและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจึงควรที่จะเร่งหาแนวทางรับมือของแนวโน้มทาง 157382558446 การค้าดังกล่าว

 โดยเฉพาะในมิติมหภาคที่รัฐบาลไทยภายใต้การดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศ (ผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน และสำนักงานพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน) จะเร่งหาโอกาสในการเจรจาและหารือร่วมกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ ในประเด็นด้านการตัดสิทธิ GSP

เพื่อหาทางออกก่อนที่มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า   อีกด้านคือหน่วยงานด้านการดูแลสิทธิแรงงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ด้านอัตราแลกเปลี่ยนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะมีมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก

ด้านผู้ประกอบการไทยเองก็ควรที่จะเตรียมความพร้อมถึงแนวโน้มตลาดสหรัฐฯ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการแสวงหารตลาดส่งออกศักยภาพใหม่ ๆ ทดแทนตลาดเดิม อีกทั้ง ยังควรพิจารณาปรับปรุงรูปแบบธุรกิจเพื่อรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ด้วย

สมเด็จ สุสมบูรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐและเอกชนควรจับตาสถานการณ์และปรับแผนการทำงานรับมือ รวมถึงการกำหนดแผนเชิงรุกที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ในส่วนตลาดสหรัฐ ประเมินว่า ปี 2563 ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ แต่อาจไม่สูงมากเนื่องจาก ฐานการส่งออกปีนี้ มีอัตราขยายตัวที่สูง นอกจากนี้ ในส่วนปัจจัยกระทบอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเงินบาทแข็งค่าและการตัดสิทธิจีเอสพี

เบื้องต้นได้เดินหน้าทำตลาดแห่งนี้ ทั้งการพบผู้นำเข้าสินค้าข้าวเพื่อย้ำจุดเด่นของสินค้าข้าวของไทย การผลักดันอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ และยังมีอีกหลายกิจกรรมไม่เฉพาะตลาดสหรัฐ และจะเน้นการทำตลาดให้มากขึ้นในทุกตลาดที่มีศักยภาพไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักหรือรองก็ตาม

“ความผันผวนทางการค้าจะส่งผลทั้งทางบวกและทางลบต่อการส่งออกของไทย  การรู้ทันสถานการณ์ ประเมินผลและกำหนดวิธีปรับตัวจึงเป็นหัวใจสำคัญของการผลักดันการส่งออกในยุคนี้”