เปลี่ยนแป้งมันเป็น 'ถุงขยะรักษ์โลก' ฝังดินย่อยสลายเร็ว ประเดิมงานแรก 'กาชาด 62'

เปลี่ยนแป้งมันเป็น 'ถุงขยะรักษ์โลก' ฝังดินย่อยสลายเร็ว ประเดิมงานแรก 'กาชาด 62'

ถุงบรรจุขยะเศษอาหาร 2 หมื่นใบในงานกาชาด ปีนี้เป็นถุงขยะรักษ์โลกผลิตจากพลาสติกแป้งมันสําปะหลังที่ผ่านการพัฒนาจากแล็บเอ็มเทคให้มีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง รองรับน้ําหนักได้มากและฉีกขาดยาก ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ย่อยสลายใต้ดินกลายเป็นก๊าซและปุ๋ยบํารุงดิน

"ถุงพลาสติกย่อยสลายได้" ผลงานความร่วมมือที่ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ําจนถึงปลายน้ําในวัฏจักรของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานวิจัยเอ็มเทคหรือศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติบริษัทผู้ผลิตแป้งมันสําปะหลัง บริษัทผู้ผลิตเม็ดพลาสติกบริษัทเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกและสุดท้ายคือ ผู้ใช้ในงานกาชาด ประจําปี 2562 ระหว่างวันที่ 15-24 พ.ย. ที่สวนลุมพินี

จุลเทพ ขจรไชยกูล  ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า “ขยะพลาสติก" เป็นประเด็นสําคัญที่ทั่วโลกตื่นตัวกันมากประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลําดับที่ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกสู่ท้องทะเลมากที่สุดในโลก สาเหตุสําคัญมาจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-use Plastic) มีอัตราส่วนที่มากถึง 40% ของขยะพลาสติกทั้งหมด ซึ่งพลาสติกชีวภาพเพียง 1% ของการใช้พลาสติกทั้งหมด ทําให้ภาครัฐและเอกชนตื่นตัวจึงเกิด ความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ จัดทําแผน ปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก 20 ปี และกําหนดการลดและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งจํานวน 7 ชนิด ที่พบมากในทะเลของไทยและก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

157374527064


ถุงย่อยได้ ความหวังใหม่ของโลก

วีรวัฒน์ เลิศวนวัฒนา ประธานกรรมการ บริหารบริษัทเอสเอ็มเอสคอร์ปอเรชั่น จํากัด ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ไทย (TBIA) กล่าว ประเทศไทยส่งออกมันสําปะหลังเป็นอันดับ 1 ของโลก สามารถทํารายได้สูงถึงแสนล้านบาทต่อปี และในฐานะผู้ผลิตแป้งมันสําปะหลังดัดแปร สําหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร กระดาษ กาว สิ่งทอและอีกหลายอุตสาหกรรมเห็นความสําคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้วัตถุดิบจากมันสําปะหลังชนิด KU50 ที่มีปริมาณแป้งในหัวมันสูงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่มากในประเทศไทย ผสานกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าให้กับมันสําปะหลังเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้กับชาวไร่ของไทย

TAPIOPLAST เม็ดพลาสติกจากแป้งมันสําปะหลัง มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสําหรับการผลิตพลาสติกชีวภาพ โดยจะย่อยสลายกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปุ๋ยในดินที่เป็นประโยชน์กับพืช ดังนั้นจึงได้ร่วมวิจัยกับเอ็มเทค สวทช.ในการสนับสนุนให้ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเป็นถุงขยะใช้ในงานกาชาด นอกจากจะเป็นการลดต้นทุน ถุงพลาสติกในการจัดการขยะภายในงานแล้วยังต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์โดยทําให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้นและ ยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย” วีรวัฒน์ กล่าว

157374530995


“แป้ง” คีย์ฟังก์ชั่นของงานวิจัย

นพดล เกิดดอนแฝก นักวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีพลาสติก กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูงเอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า จุดเด่นของถุงพลาสติกย่อยสลายได้ มีส่วนผสมจากวัตถุดิบธรรมชาติคือแป้งมันสําปะหลังกว่า 50% เนื่องจากพลาสติกเรซินชนิดอื่นที่ย่อยสายได้นั้นจะใช้เวลานานพอสมควร แต่แป้งคือคีย์ฟังชั่นในการเร่งสร้างสปีดให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้นจึงนํามาเป็นวัตถุดิบหลัก ผสมกับพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ 2 ชนิดคือ PLA และ PBAT ด้วยสัดส่วนที่เท่ากัน โดยแป้งช่วยเรื่องราคา PBAT ช่วยเรื่องความเหนียว และ PLAช่วยเรื่องความแข็งแรงมาผสมผสานเข้าด้วยกันด้วยการใช้ความร้อนหลอมไม่เกิน 200 องศาเซลเซียส

เม็ดพลาสติกชีวภาพจากเอ็มเทคนี้มีความเหนียว ยืดหยุ่นและมีความแข็งแรงสามารถเป่าขึ้นรูปได้ง่ายด้วยเครื่องจักรที่ใช้กับพลาสติกทั่วไป โดยไม่ต้องดัดแปลง เครื่องจักรทั้งยังผ่านการทดสอบในเล็บด้วยการนําขยะอินทรีย์จําพวก เศษกล้วยเศษข้าว 1,500 กิโลกรัมใส่ในถุงพลาสติกย่อยสลายได้แล้วนําไปฝังดิน พบว่าสามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาเพียง 3 เดือนที่อุณหภูมิปกติหากนําไปใช้งานจริงในพื้นที่กรุงเทพฯ ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็จะทําให้ความรวดเร็วในการย่อยสลายสูงตามไปด้วย

"โดยทั่วไปแล้วขยะครัวเรือนจะมีสัดส่วนขยะอินทรีย์หรืออาหารประมาณ65% ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมทีมวิจัยคาดหวังว่าถุงขยะย่อยสลายได้นี้จะถูกนําไปใช้งานจริงอย่างเหมาะสม และช่วยให้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บขยะ สามารถจัดการขยะเปียกได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันทีมวิจัยจะติดตามการย่อยสลายขยะและถุงขยะไปอีก 3 เดือนในสภาวะจริงเพื่อเป็นการตอกย้ําความสําเร็จ สู่การใช้งานจริงที่จะส่งผลต่อร่วมมือของทุกฝ่ายและจุดประกายให้ทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมนพดล กล่าว