เทคโนโลยีแช่แข็งร่างกาย ความหวังคนตาย คืนชีพในโลกอนาคต

เทคโนโลยีแช่แข็งร่างกาย  ความหวังคนตาย คืนชีพในโลกอนาคต

เมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนา ยารักษาโรค การปลูกถ่ายอวัยวะ ฯลฯ ทำให้คนมีชีวิตยืนยาวขึ้น เกิดเป็นคำถามที่ว่า หากคนเราสามารถมีชีวิตอยู่ถึงโลกอนาคตอันยาวไกลได้ โรคต่างๆ เช่น มะเร็ง จะมียาที่สามารถรักษาให้หายได้เหมือนหวัดหรือไม่

แต่การที่จะมีชีวิตอยู่จนถึงวิวัฒนาการทางการแพทย์รุดหน้าและสามารถรักษาโรคที่เป็นอยู่ได้ อาจดูเป็นเรื่องที่ห่างไกลเกินกว่าสังขารจะรอไหว ในปี 2503 จึงเกิดนวัตกรรม ไครโอนิกส์” (Cryonics) หรือเทคโนโลยีการแช่แข็งร่างกาย ขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นกระบวนการแช่แข็งร่างสิ่งมีชีวิตที่เสียชีวิตไปแล้ว ด้วยไนโตรเจนเหลวภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า -196 องศา คงสภาพเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายได้เป็นระยะเวลานาน เนื่องจากไม่สามารถรักษาได้ในปัจจุบัน จึงต้องรอความหวังที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยวิธีการรักษาโดยใช้วิวัฒนาการทางด้านการแพทย์ในอนาคต

  • มีร่างแช่แข็งกว่า 400 ร่างทั่วโลก

คลิฟ บราวน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไครโอนิกส์ฟอร์ยู ที่ปรึกษาด้านไครโยนิกส์ที่จัดบริการการแช่แข็งที่ศูนย์ในต่างประเทศ กล่าวในงานประชุม “Life Conference 2019” ครั้งแรกในไทย พร้อมเปิดตัวบริการให้คำปรึกษาการรักษาชีวิตและความเจ็บป่วยด้วยเทคโนโลยี “ไครโอนิกส์” (Cryonics) แบบครบวงจร ณ พาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ ว่า ปัจจุบัน มีคนให้ความสนใจทำไครโอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริการัสเซียเกาหลีออสเตรเลียสหราชอาณาจักรสเปนเยอรมนีแคนาดาญี่ปุ่น และจีน โดยประเทศที่สามารถทำกระบวนการ ไครโอนิกส์  มีด้วยกัน 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ออสเตรเลีย สเปน และในประเทศจีนกำลังจะเปิดให้บริการในไม่ช้า

ขณะนี้ มีร่างคนไข้ที่ถูกแช่แข็งด้วยวิธีไครโอนิกส์ในสหรัฐอเมริกา จำนวน 250 คน และมีคนที่เซ็นสัญญาแล้ว 1,500 คน ขณะที่ทั่วโลกมีทั้งหมด 400 คน และมีการเซ็นสัญญาแล้วกว่า 4,000 ราย โดยมีกรณีตัวอย่าง อาทิ ในปี พ.ศ. 2559 ผู้ป่วยนาม Justin Smith ในเพนซิลเวเนีย สามารถกลับมามีชีวีตได้อีกครั้งหลังแช่แข็ง 12 ชั่วโมง 

  • ด.ญ.วัย 2 ขวบคนแรกของไทย

สำหรับในประเทศไทย หลังจากมีเคสตัวอย่าง การทำไครโอนิกส์ของ “น้องไอนส์” เด็กหญิงไทยอายุ 2 ปี ในปี 2559 ลูกสาว ดร.สหธรณ และ ดร.นารีรัตน์ เนาวรัตน์พงษ์ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสมอง ทั้ง 2 จึงตัดสินใจนำร่างลูกสาวแช่แข็ง ในรัฐแอริโซน่า สหรัฐอเมริกา เพื่อหวังว่าอนาคตจะมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ที่จะสามารถชุบชีวิตลูกสาวคืนมาได้อีกครั้ง

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับคนทั่วไป แม้จะเป็นเรื่องที่ใหม่ แต่ก็มีประชาชนเริ่มศึกษามากขึ้น จนกระทั่งล่าสุด “ไครโอนิกส์ฟอร์ยู” ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านไครโยนิกส์ที่จัดบริการการแช่แข็งที่ศูนย์ในต่างประเทศ ได้เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นแห่งแรกในเอเชีย โดยทำหน้าที่เป็นเอเจนซี่ เพื่อให้ความรู้และให้คำปรึกษาสำหรับคนที่สนใจในด้านนี้

157366293788

บราวน์ อธิบายว่า สิ่งที่ทำให้ตัดสินใจ เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เนื่องจากมองเห็นโอกาสที่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเปิดรับเทคโนโลยี และความรู้ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งยุโรป อเมริกา มีวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง รวมถึงจำนวนประชากรสูง เป็นตลาดที่น่าสนใจ และเป็นประเทศที่มีศักยภาพ จึงเริ่มจากประเทศไทยในปีนี้ และจะขยายไปยังเกาหลีใต้ในปี 2563 รวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตั้งแต่เด็กอายุน้อย ไปจนถึงวัยกลางคน รวมถึง  ตั้งเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในไทยอีกด้วย

สำหรับการดำเนินงานของ “ไครโอนิกส์โฟร์ยู” คือเป็นที่ปรึกษาอิสระซึ่งให้บริการแต่ละบุคคล ช่วยสร้างทางเลือกที่เป็นความสำเร็จในกระบวนการสุดท้ายของชีวิตด้วยการทำ “ไครโอนิกส์” ให้คำแนะนำด้านสถานบริการที่ใช้สำหรับกระบวนการสุดท้ายของการทำไครโอพรีเซิร์ฟเวชั่น (Cryopreservation) รวมทั้งการเลือกกรมธรรม์ประกันภัยที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในเรื่องนี้

นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน การประกันภัย ที่ปรึกษาด้านกฎหมายการแจ้งแก่ครอบครัว การแถลงเปิดพินัยกรรม ความยินยอมของแพทย์ทั่วไป การแจ้งแก่แพทย์หรือโรงพยาบาลประจำท้องถิ่นซึ่งจะช่วยให้ขั้นตอนในการทำไครโอพรีเซิร์ฟเวชั่น (Cryopreservation) ดำเนินไปอย่างราบรื่น และการรักษาความลับของผู้ใช้บริการแต่ละคนเป็นอย่างดี

“ในด้านค่าใช้จ่ายในการบริการคือ 3 ล้านบาท แช่ทั้งร่างกาย ซึ่งอาจจะมองว่า ผู้ที่มีรายได้สูงเท่านั้นที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา แต่ในปัจจุบันมี การทำประกันชีวิตที่คุ้มครองการทำไครโอนิกส์แล้ว จึงทำให้คนชั้นกลางเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาทางเลือกนี้ได้เช่นกัน” บราวน์กล่าว

157366293713

คลิฟ บราวน์ (ซ้าย) แอรอน เดรค (ขวา)

ด้าน แอรอน เดรค ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านไคโรเพรเซอร์เวชั่น อธิบายเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในกระบวนการพูดคุยกับบริษัทประกันชีวิตของประเทศไทย ซึ่งมีบริษัทที่สนใจเข้าร่วมและอยู่ขั้นการดำเนินการ และจะติดต่อกับโรงพยาบาลในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ ค่าบริการจำนวน 3 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องจ่ายในครั้งเดียว แต่ทยอยจ่ายเหมือนการซื้อประกัน ใช้เวลาในการทำเอกสารทั้งหมดราว 3 เดือน

ทั้งนี้ หากผู้ที่รับบริการเสียชีวิต จะมีทีมเข้าไปย้ายผู้ป่วย ก่อนที่สมองและอวัยวะภายในจะล้มเหลว เพื่อส่งร่างเข้าสู่กระบวนการไครโอนิกส์ ในประเทศที่ผู้เสียชีวิตได้แจ้งความประสงค์ไว้ ในระหว่างการเคลื่อนย้ายอาจมีการสูบฉีดเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงอวัยวะภายใน และฉีดยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วยด้วย

ขณะที่หลายคนมองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หรือเสียเงินเพื่อซื้อความหวัง “เดรค” ให้ความเห็นว่า แม้การกลับมามีชีวิตอีกครั้ง จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและมองว่าเป็นเรื่องที่ห่างไกล แต่จากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ผ่านมา ทำให้หลายคนมีความหวัง และคิดว่าเป็นไปได้ แต่ก่อนคนเสียชีวิตด้วยโรคที่รักษาง่ายในปัจจุบัน เช่น เป็นไข้ เป็นหวัด ท้องร่วง ฯลฯ แต่ขณะนี้รักษาได้ง่ายเพียงแค่กินยา กระบวนการแช่แข็งก็เช่นเดียวกัน การแช่แช็งร่างกายสามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกโรค รวมถึง HIV และอุบัติเหตุ แขน ขา ขาด แต่มีกรณีเดียวที่ไม่สามารถทำได้คือ สมองเสียหาย เพราะสมองเป็นสิ่งสำคัญ”

“เราไม่รู้ว่าในอนาคต จะมีเทคโนโลยีนวัตกรรมอะไรที่สามารถรักษาได้ อาจมียาที่สามารถรักษามะเร็งได้ด้วยเพียงแค่กินยา ขณะที่บางคนอาจกังวลว่า ฟื้นขึ้นมาแล้วไม่มีครอบครัว ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว จึงมีบางครอบครัว ที่ทำการเซ็นสัญญาให้แช่แข็งทั้งครอบครัว โดยเป็นผู้หญิงชาวไทย ที่มีสามีเป็นชาวสวิสต์ ได้มีการเซ็นสัญญาไว้ที่ต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว” เดรค กล่าวทิ้งท้าย