แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงภัย รับมือฝนฟ้าคะนอง-อากาศหนาว 13-15พ.ย.นี้

กอปภ.ก. ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือฝนฟ้าคะนอง อากาศเย็น และคลื่นลมปานกลาง ในช่วงวันที่ 13 – 15 พ.ย.นี้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เตรียมพร้อมรับมือฝนฟ้าคะนอง และอากาศเย็น ส่วนพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และภาคใต้บางพื้นที่จะมีฝนฟ้าคะนองและคลื่นลมปานกลาง ในช่วงวันที่ 13 – 15 พ.ย.62 กำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด
อ่านข่าว-เตือนฉ.5 ไทยอากาศหนาวเย็น ยอดภูหนาวจัด 7 องศาฯ
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 13 – 15 พฤศจิกายน 2562 ทำให้มีฝนฟ้าคะนองในช่วง 1 – 2 วัน โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิ จะลดลง 2 – 5 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ส่วนภาคกลางอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานจังหวัด รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศหนาวเย็น อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชนให้ดูแลรักษาสุขภาพ สวมใส่เสื้อผ้าหนาๆ เพื่อสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ จะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยจากสภาพอากาศหนาวเย็น
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ และภาคใต้ 8 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีฝนตกหนักบางพื้นที่อ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร จึงเน้นย้ำให้จังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
เงินบาทจะคืนร่างสู่ สกุลเงินธรรมดาในปี 2020?
ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำวินิจฉัยศาลรธน. สั่ง 'ธนาธร' พ้นสมาชิกภาพส.ส.
'เอสแอนด์พี' ปรับมุมมองศก.ไทย สู่เชิงบวกครั้งแรกรอบ 9 ปี
'กวินนาถ' เผยย้ายพรรคใหม่ยึดผลประโยชน์ปชช.เป็นหลัก
รัฐบาลระส่ำ & ฝ่ายค้านอ่อนแอ!
มติ กกต.ยกปม ‘นิติกรรมอำพราง’ ยุบอนค.