'รมว.แรงงาน' ฟังความเห็นกลุ่ม รพ.ประกันสังคม

'รมว.แรงงาน' ฟังความเห็นกลุ่ม รพ.ประกันสังคม

"รมว.แรงงาน" ฟังความเห็นกลุ่ม รพ.ประกันสังคม สร้างพลังขับเคลื่อนบริการคนไทยยั่งยืน

ที่ห้องประชุมชั้น 28 อาคาร ทรูแปซิฟิกเพลส ถ.สุขุมวิท (ย่านนานา) นายจัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน และหัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย พร้อมทั้ง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยและผู้ก่อตั้งพรรคฯ ร่วมจัดประชุมเรื่อง "ทิศทางการประกันสังคมในประเทศไทย" ระดมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ประกอบโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม และประชาชน ร่วมแสดงข้อเสนอนแนะการพัฒนาระบบประกันสังคม

'รมว.แรงงาน' ฟังความเห็นกลุ่ม รพ.ประกันสังคม

โดย นายสุเทพ กล่าวเปิดงานว่า มูลนิธิฯ มุ่งมั่นให้ความสนใจกับทุกภาคส่วนที่ร่วมปฏิรูปประเทศ ขณะที่งานประกันสังคมก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประชาชนและประเทศไทย หากมีระบบประกันสังคมที่ดีมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ คนไทยก็จะมีหลักประกันที่ดีในชีวิตและมีความสุขที่เข้ามาสู่ระบบประกันสังคม และยังจะช่วยลดภาระของรัฐในการดูแลประชาชนทั้งเรื่องความเจ็บป่วยและการดูแลความเป็นอยู่หลังวัยทำงาน หากไม่วางรากฐานหลักประกันสังคมให้ดี ก็อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้อีก 20 หรือ 30 ปีข้างหน้า และตนในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย ภูมิใจที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล หัวหน้าพรรคฯ ที่มีความรู้ด้านการเงินการคลัง ได้รับแต่งตั้งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ รมว.แรงงาน ดังนั้นตนค่อนข้างมั่นใจว่าอนาคตกองทุนประกันสังคมจะมีเสถียรภาพเติบโตขึ้นเป็นหลักประกันของประเทศชาติได้ และเมื่อนายจัตุมงคล ได้ปฏิบัติหน้าที่ รมว.แรงงาน หลังจากได้ยินว่ากระทรวงติดหนี้การประกันสังคม กับโรงพยาบาลมาก ขณะที่กองทุนประกันสังคมมีเงินถึง 2.1 ล้านล้านบาท โดยสิ่งแรกที่ รมว.แรงงานสั่งการไปคือ ให้นำเงินชำระหนี้ชุดแรกแล้วประมาณกว่า 2 พันล้านบาท 

เราต้องการเห็นงานประกันสังคมมีผู้ใช้บริการด้วยความมั่นใจว่าจะได้รับการต้อนรับที่ดี และเราต้องการเห็นโรงพยาบาลปฏิบัติดูแลผู้เอาประกันตนอย่างดี เมื่อรักษาเสร็จจะได้เงินทันทีภายใน 15 วันหรือ 30 วัน ไม่ใช่ 3 เดือนหรือ 6 เดือน ซึ่ง รมว. แรงงานก็กำลังสั่งปฏิรูประบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงกันใหม่ โดยเชื่อว่าในยุคนี้จะได้เห็นความฉับไวในการแก้ปัญหา เช่นเรื่องหนี้ของระบบประกันสังคมที่จะได้รับการใช้ได้เร็วกว่าที่มีการคาดหมาย  

'รมว.แรงงาน' ฟังความเห็นกลุ่ม รพ.ประกันสังคม

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน กล่าวถึงการแก้ปัญหาที่มีการชำระเงินประกันสังคมล่าช้า ให้กับโรงพยาบาลที่ร่วมงานประกันสังคมว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดเท่าที่ฟังมาก็คือเรื่องของการหมุนเวียนเงินสด ดังนั้นในการแก้ปัญหาเมื่อมีเงินอยู่พอชำระก็ให้ทยอยชำระให้เร็ว เมื่อกองทุนประกันสังคม มีเงินที่เก็บมาจากผู้ประกันตน โรงพยาบาลก็ควรนำบิลมาแสดงแล้วจ่ายเงินให้ก่อน 100% หากทำได้ทันที หรือจ่ายบางส่วน 90% แล้วเดือนต่อไปเคลียร์เอกสาร จากนั้นจ่ายส่วนที่ขาดของเดือนเก่า บวกกับเงินของเดือนใหม่ 90% ที่ผ่านมาอาจจะเกิดเป็นปัญหาว่าข้าราชการยังไม่กล้าจ่าย เพราะกลัวว่าจะเหมือนยอดหายแล้วจะกลายเป็นความผิด ขณะที่การแก้ปัญหาด้วยการชำระเงินก่อนบางส่วน 90% นั้นแล้วค่อยมาตรวจเอกสารเคลียร์กันภายใน 1 เดือนจะทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจ

 

ด้าน รศ.ดร.นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวถึงนโยบายสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ว่า ในการเข้าร่วมประกันสังคม มีสมาชิกโรงพยาบาลเข้าร่วม 78 แห่ง ซึ่งกฎหมายประกันสังคม ถือเป็นกฎหมายที่ดีเกือบดีที่สุดฉบับหนึ่งในด้านสังคมที่มีการรักษาพยาบาล และให้มีเบี้ยบํานาญชราภาพ ทั้งนี้ ระบบประกันสังคมการเริ่มตั้งแต่ ปี 2533 มีโรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมน้อยและยังมีคนไปใช้น้อย แต่ปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมประกันสังคม 78 แห่ง โดย 28 แห่งอยู่ใน กทม. ที่เหลือทั่วประเทศครอบคลุมเกือบทุกจังหวัดอีก 50 แห่ง (จากที่อดีตร่วม 120 กว่าแห่ง) โดยบางจังหวัดมีผู้ประกันตนน้อย เช่น จ.สระแก้ว มีผู้ประกันตนไม่ถึง 10,000 คน  อย่างไรก็ดีโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าสู่ระบบ ในอดีตสูงสุด 120 กว่าแห่ง แล้วค่อยๆ ทยอยลดจำนวนลงด้วยการออกจากระบบ

'รมว.แรงงาน' ฟังความเห็นกลุ่ม รพ.ประกันสังคม

  ทั้งนี้เนื่องจาก ระบบประกันสังคมนี้ เป็นระบบที่ผู้ประกันตนกับนายจ้าง เป็น self ensure โดยตัวประกันสังคมทำหน้าที่เหมือนบริษัทประกันขนาดใหญ่ที่มีรัฐบาลจ่ายให้ส่วนหนึ่ง ในส่วนของค่ารักษาพยาบาล และส่วนที่นายจ้าง-ลูกจ้างจ่ายอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันปี 2562 มีผู้ประกันตัวในระบบประกันสังคม ประมาณ 14,350,000 ล้านคน โดยในภาคเอกชน-รัฐบาล ภาคละครึ่ง โดยภาครัฐบาลส่วนใหญ่ก็สังกัดอยู่ที่สาธารณสุข ส่วนมหาวิทยาลัยแพทย์จะเป็นด้านโรคเรื้อรังไม่รับเพิ่มแต่ใช้ระบบส่งต่อ ซึ่งปัญหาอุปสรรคที่เป็นประเด็นต่อเนื่อง คือ 1.เรื่องของปรับค่าใช้จ่ายที่มีความไม่แน่อน ทำให้โรงพยาบาลขาดความมั่นใจ โดยการสร้างโรงพยาบาลเอกชนเพื่อรองรับระบบประกันสังคมนั้น จะแตกต่างกับเรื่องของหลักประกันสุขภาพ เพราะสเปคของประกันสังคมมีมาตรฐานสูงกว่ามาก ขณะที่ในแต่ละปีก็จะมีค่าแรงที่เพิ่มขึ้นและเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ก็มาเต็มระบบ            

 

ทั้งนี้ข้อดีระบบประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตน คือจะได้รักษาตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดโดยผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มนอกเวลา เพราะกองทุนประกันสังคมจะจ่ายเงินให้กับโรงพยาบาลในระบบเป็นค่าใช้จ่ายเหมารายหัวให้ ซึ่งหากบางครั้งโรงพยาบาลเจอเคสหนักเช่น 2-3 ล้านบาท/ราย โรงพยาบาลก็อาจจะลำบาก ยิ่งถ้าจะต้องไปซื้อบริการจากโรงพยาบาลอื่น เมื่อโรงพยาบาลเอกชนมีการลงทุนทั้งเครื่องมือ บุคลากร แล้วถ้าการปรับอัตราค่าใช้เหมาจ่ายรายหัวของระบบประกันสังคมไม่ชัดเจน ก็จะไม่มีความมั่นใจ รวมทั้ง เรื่องของการที่ได้รับชำระเงินจากกองทุนประกันสังคมของรัฐช้า แต่เมื่อ รมว.แรงงาน รับที่จะแก้ปัญหานี้ว่าจะจ่ายเร็วขึ้นโดยจะติดตามตรวจสอบภายหลัง เราก็สบายใจขึ้น ไม่ใช่ว่าต้องตรวจสอบแล้วหยุดการจ่ายเงินก่อนเช่นนี้โรงพยาบาลก็จะแย่กันหมด เช่น โรงพยาบาล ใน จ.สมุทรปราการ รายได้มาจากประกันสังคมเป็นหลัก ซึ่งเงินรายหัว 1,500 บาทแล้วแบ่งจ่ายเป็น วันที่ 1 อัตรา 25% และ วันที่ 16 อัตรา 75% เมื่อจ่ายช้าก็จะทำให้ระบบขาดสภาพคล่องแล้วน็อคไปได้

 

2.เรื่องการบันทึกเอกสารที่ต้องกำกับดูแลตรวจสอบ ขอให้รวดเร็วขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยในมีค่าใช้จ่ายสูง กับกรณีมีภาระเสี่ยง 26 โรคเรื้อรังที่ต้องมาตรวจปีละ 3 ครั้ง ปัจจุบันกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นควรต้องปรับค่าใช้จ่ายเหมารายหัว 400 บาทเพิ่มขึ้น ส่วนค่าทันตกรรม 900 บาทนั้น ควรปรับระบบใหม่ให้ชำระได้เร็วขึ้นภายใน 30 วันและในปี 2563 ไม่ควรออกมาตรการใหม่ระหว่างปี  

 

'รมว.แรงงาน' ฟังความเห็นกลุ่ม รพ.ประกันสังคม

 

ขณะที่ นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากนโยบายที่ รมว.แรงงานได้ให้ไว้ กับมุมมองที่สำนักงานประกันสังคมได้วิเคราะห์จึงออกเป็นมาตรการ และ 12 แนวทาง คือ เรื่องการยกระดับบริการทั่วไปและบริการทางการแพทย์ บริการทางการเงิน ให้มีมาตรฐานการบริการขั้นต่ำที่เท่าเทียม เข้าถึงผู้รับบริการทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง และสร้างความประทับใจกับผู้รับบริการทุกรูปแบบ , เรื่องความมุุ่งมั่น ในการพัฒนาสิ่งที่จะออกแบบ พัฒนาสิทธิประโยชน์ และประโยชน์ทดแทนตอบสนองต่อความหลากหลายของประชากรที่เป็นผู้ประกันตน , สำนักงานประกันสังคมในยุคถัดไป จะเพิ่มช่องทางและรูปแบบพิเศษในการให้บริการ ขยายเครือข่ายผ่านพันธมิตร เพื่อให้เข้าสู่กลุ่มผู้ประกันตนอย่างทั่วถึง , ทบทวนและให้ความสำคัญกับสิทธิประโยชน์ และประโยชน์ทดแทน ของผู้ประกันตนที่มีความต้องการเฉพาะอย่างเป็นธรรม , การเพิ่มรูปแบบบริการและขยายบริการ รวมถึงสร้างกิจกรรมรูปแบบใหม่เพื่อรองรับผู้ประกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย , ต้องสร้างความต่อเนื่องในเรื่องสิทธิประโยชน์ และโอกาสบริหารต่อความมั่นคงของผู้สูงอายุ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการกองทุนที่มีความมั่นคงและยั่งยืน  

          

ทั้งนี้ ตนยังมีแนวคิดที่จะดำเนินโครงการคือ 1.การทำให้ประชาชนคนไทยทั้งหมดได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม และ 2.การส่งเสริมสุขภาพ โดยจะรณรงค์ให้มีกิจกรรม Healthy Thailand รวมไปถึงการดูแลบุคคลที่ประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะ ที่จะช่วยกันสร้างอาชีพ ซึ่งในสำนักงานประกันสังคมก็มีหน่วยงานหนึ่งคือศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ก็จะให้ฝึกอบรมสำหรับบุคคลกลุ่มนี้ที่จะให้ช่วยเหลือตนเองได้