เตือนปชช. ระวังอุบัติเหตุช่วงเทศกาลลอยกระทง

เตือนปชช. ระวังอุบัติเหตุช่วงเทศกาลลอยกระทง

กรมควบคุมโรค เตือนประชาชน ระวังอุบัติเหตุจากการ “จมน้ำ” อุบัติเหตุจากการจุดประทัด ดอกไม้ไฟ พลุ ในวันลอยกระทง

เมื่อวันที่ 8 ..62 นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ทุกปีจะพบผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำในคืนวันลอยกระทง จากข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เฉพาะช่วงลอยกระทง 3 วัน (ก่อนวันลอยกระทง วันลอยกระทง และหลังวันลอยกระทง) ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2557-2561 พบผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำรวม 166 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 29 คน โดยปี 2561 พบผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 26 คนในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 5 คน จึงมีแนวทางป้องกันการจมน้ำให้ยึดหลัก 3 อย่า คือ

1.อย่าใกล้: อย่ายืนใกล้ขอบบ่อ

2.อย่าเก็บ: อย่าลงน้ำไปเก็บเงินในกระทง

3. อย่าก้ม: อย่าก้มไปลอยกระทง

โดยผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดไม่ให้คลาดสายตา และเพิ่มความระมัดระวังเมื่อนำเด็กเข้าใกล้แหล่งน้ำ

157321038070

ส่วนอุบัติเหตุจากการจุดประทัด ดอกไม้ไฟ และพลุ ทำให้ได้รับบาดเจ็บตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย มีคำแนะนำเพื่อความปลอดภัย ดังนี้

  • ไม่จุดประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ ใกล้วัตถุไวไฟหรืออาคารบ้านเรือน ไม่เล่นผาดโผน อาจเสี่ยงเกิดการระเบิดได้
  • ผู้ปกครองไม่ควรให้เด็กนำประทัด ดอกไม้ไฟมาจุด
  • หากจำเป็นต้องใช้ในงานพิธี ควรอ่านคำแนะนำก่อน และควรจุดให้ห่างจากตัวประมาณ 1 ช่วงแขน
  • ห้ามพยายามจุดประทัด ดอกไม้ไฟ และพลุที่จุดแล้วไม่ติดอย่างเด็ดขาด
  • ไม่เก็บประทัด ดอกไม้ไฟ และพลุไว้ในกระเป๋าเสื้อ กางเกง หรือที่มีอากาศร้อน แดดส่องถึง เพราะอาจเกิดการเสียดสีและระเบิดได้
  • ควรเตรียมภาชนะบรรจุน้ำไว้ใกล้ๆ ไว้ใช้กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
  • ห้ามประกอบหรือดัดแปลงประทัด ดอกไม้ไฟ และพลุไว้จุดเองเด็ดขาด
  • ให้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 อย่างเคร่งครัด
  • หากเกิดอุบัติเหตุ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อนิ้วหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งขาดจากแรงระเบิด ให้รีบห้ามเลือดบริเวณที่อวัยวะขาด โดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผล และพันบาดแผลให้แน่นเพื่อป้องกันเลือดออก ไม่ควรใช้เชือกหรือสายรัดเหนือแผลเพราะจะทำให้เส้นประสาทหรือหลอดเลือดเสียหายได้