Bank Sector (8 พ.ย.62)

Bank Sector (8 พ.ย.62)

ธนาคารทยอยปรับลดดอกเบี้ยลง

Event

SCB และ GSB เริ่มมีการปรับดอกเบี้ยลงตามดอกเบี้ยนโยบาย

lmpact

ธนาคารต่าง ๆ เริ่มลดดอกเบี้ยแล้ว

หลังจากที่ ธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อวานนี้ SCB และ GSB ก็ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลงทั้งสองขา โดย SCB ประกาศปรับลด MRR และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.25% (มีผลทันที) ในขณะที่ GSB ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (MRR, MOR, MLR) ลง 0.125% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.125% (มีผลต้นปีหน้า)

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบกับรายได้ และ margin น้อยมาก

นอกจาก SCB และ GSB แล้ว เราคิดว่าธนาคารต่าง ๆ ก็จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อบรรเทาผลกระทบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว MRR จะใช้อ้างอิงกับดอกเบี้ยสินเชื่อจดจำนอง, สินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อ SME ขนาดเล็กบางราย โดยสินเชื่อที่คำนวณดอกเบี้ยโดยอิงกับ MRR คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 40% ของพอร์ตสินเชื่อ แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีของ SCB เราคิดว่าสัดส่วนของสินเชื่อที่คิดดอกเบี้ยโดยอิงกับ MRR จะสูงถึงประมาณ 45% เนื่องจากธนาคารมีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อจดจำนองสูงที่สุดถึง 30% ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าธนาคารต่าง ๆ จะลดดอกเบี้ยเฉพาะเงินฝากประจำระยะยาวเท่านั้น แต่จะไม่แตะอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ ซึ่งหากประเมินผลของการปรับลด MRR ลง 0.25% ก็พบว่าจะทำให้รายได้ของ SCB ลดลงประมาณ 2.4 พันล้านบาท แต่การลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลงจะทำให้ประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยไปได้ถึงประมาณ 1.7 พันล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณาผลสุทธิ เราคาดว่าการลดดอกเบี้ยจะทำให้รายได้ของ SCB ลดลงประมาณ 700 ล้านบาท และฉุดให้ NIM ลดลงประมาณ 1.4bps สำหรับในกรณีของ KBANK และ KTB ก็คล้าย ๆ กัน (เราใช้สมมติฐานว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอัตราเดียวกัน) อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าการลดดอกเบี้ยรอบนี้จะส่งผลดีกับ BBL, TCAP และ TISCO
เนื่องจากมีสัดสว่นสินเชื่อที่อิงจาก MRR ต่ำ

Risks

มีการปรับลด MLR ลงอีก, NPL พลิกมาเป็นขาขึ้นและทำให้ต้องกันสำรองเพิ่ม, มีการปรับลดค่าธรรมเนียมลงอีก

อ่านข่าว-BIG STORY : 'ไทยพาณิชย์-ออมสิน' นำร่องลด