'ผู้บริโภค' ผวาเศรษฐกิจทรุด 'ดัชนีเชื่อมั่น' ร่วง 8 เดือนติด

'ผู้บริโภค' ผวาเศรษฐกิจทรุด 'ดัชนีเชื่อมั่น' ร่วง 8 เดือนติด

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ต.ค.2562 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ปัจจัยหลักจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน รวมถึงสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ

.หอการค้าไทย เผยผลของการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ..2562 จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,249 คน พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 แม้ว่ารัฐบาลเริ่มมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมามากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต 

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่อเนื่อง 8 เดือน ซ้ำต่ำสุดรอบ 65 เดือน ปมสงครามการค้า การเมืองในประเทศ ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ สวนทางแนวโน้มราคาสินค้าพุ่ง ทำคนไม่กล้าใช้จ่าย ขณะแผนกระตุ้นเศรษฐกิจส่อไร้ผล ลุ้นไตรมาส 4 โต 3.4-3.5% ทำทั้งปีโต 2.8% ชี้หากมาตรการไร้ผล ทำปีหน้าไม่เกิน 3%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้า และกำลังซื้อของประชาชนยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก ประกอบกับสถานการณ์ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และปัญหา Brexit รวมถึงการที่สหรัฐประกาศตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือจีเอสพี สำหรับสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐ จำนวน 573 รายการ

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม .. เท่ากับ 57.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 59.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ เท่ากับ 67.0 ลดลงจาก 68.5 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต เท่ากับ 87.3 ลดลงจาก 88.9 

"ดัชนีฯปรับตัวลดลงทุกรายการ เมื่อเทียบกับดัชนีในเดือน ก.ย. และดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตมากนัก"

การปรับตัวลดลงของดัชนีทุกรายการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 65 เดือน นับตั้งแต่เดือน เม.. 2559 เป็นต้นมา จากระดับ 72.2 มาอยู่ที่ระดับ 70.7 และการที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังฟื้นตัวขึ้นไม่มากนัก 

สำหรับปัจจัยที่กระทบความดัชนีความเชื่อมั่น ได้แก่ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวในปัจจุบัน สถานการณ์ทางการเมืองของไทย ตลอดจนสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต 

โดยเฉพาะเรื่อง Brexit ซึ่งอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปีนี้ อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันยังมีความเสี่ยงละความผันผวนสูง ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ยังคงเป็นตัวบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวม และความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองไทยในอนาคตยิ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ลดลงไปอีก

157319084418

สำหรับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 47.9 มาอยู่ที่ระดับ 46.5 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 217 เดือนหรือ 18 ปี 1 เดือน นับตั้งแต่เดือน .. 2544 เป็นต้นมา แสดงว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่ดีอย่างมากในมุมมองของผู้บริโภค

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต (ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า) ปรับตัวลงเช่นเดียวกัน โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 82.9 มาอยู่ที่ระดับ 81.3 ซึ่งยังปรับตัวอยู่ใกล้เคียงระดับ 100 (ซึ่งเป็นระดับปกติ) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นในอนาคตหากไม่มีปัจจัยลบของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยเข้ามาเพิ่มเติมมากไปกว่าปัจจุบัน

ความเชื่อด้านต่าง ที่ลดลงดังกล่าวส่งให้ความเชื่อมั่นไม่ดีนัก ประกอบกับสถานการณ์ราคาพืชผลทางการเกษตรในประเทศยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมัน แม้จะมีโครงการประกันรายได้ทั้งข้าวและปาล์มน้ำมัน แต่เป็นการพยุงราคาโดยรวมชั่วคราวเท่านั้น ทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจจะใช้เงิน เพราะเห็นว่าเงินนั้นหายาก จึงไม่กล้าจะใช้จ่ายในการซื้อบ้าน ซื้อรถหรือไปท่องเที่ยวมากนัก ทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดลดลง

อย่างไรก็ตาม ศูนย์พยากรณ์ฯ ได้ประเมินผลจากเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาขณะนี้ เห็นว่ายังคงเข้าระบบไม่เต็มที่ แม้ว่าจะมีเม็ดเงินจากการโอนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการชิมช้อปใช้ และการประกันรายได้ที่เม็ดเงินยังไม่เข้าสู่เข้าระบบเท่าที่ควร 

ดังนั้น คงจะต้องติดตามในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ที่รัฐบาลจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและกำลังซื้อผ่านโครงการต่าง ที่จะใช้เงินมากกว่า 25,000-30,000 ล้านบาทได้เต็มที่และเต็มวงเงินได้มากจริงก็น่าจะส่งผลให้กำลังซื้อกลับมา โดยทางศูนย์พยากรณ์ฯ จะขอรอดูผลสำรวจดัชนีด้านต่าง ของเดือน ..นี้ก่อนว่าจะปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 4 หากเศรษฐกิจโต 3.4-3.5% จะส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะเติบโตได้ 2.8% แต่หากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ ก็อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีหน้าจะไม่เติบโตเกิน 3%

นอกจากปัจจัยที่ผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยขณะนี้แล้ว ซึ่งมีความกังวลกันมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการว่างงาน เนื่องจากข่าวการปลดคนงานเริ่มมีมากขึ้นทุกเดือน ส่วนการลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ถือว่ากระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่มาก แต่จะลดภาระให้กับผู้ที่ผ่อนที่อยู่อาศัยได้ดี

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของผู้บริโภคช่วงวันลอยกระทงปี 2562 มูลค่าการใช้จ่ายวันลอยกระทงปีนี้จะอยู่ที่ 9,573 ล้านบาท ติดลบ 2.3%