รฟท.เปิดช่องกลุ่มซีพี เช่าช่วงเดินรถไฟไฮสปีด

รฟท.เปิดช่องกลุ่มซีพี เช่าช่วงเดินรถไฟไฮสปีด

ร.ฟ.ท.เปิดสัญญาไฮสปีด มอบสัมปทาน “ซีพี” 50 ปี ตั้งเพดานตั๋วดอนเมือง–อู่ตะเภา สูงสุด 490 บาท ขีดเส้นสร้างช้าเกิน 5 ปี ปรับวันละ 9 ล้านบาท

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กำหนดให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะต้องมีการเปิดเผยสาระสำคัญของสัญญาให้สาธารณะทราบ ซึ่งที่ผ่านมามีการเปิดเผยสาระสำคัญสัญญาโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และขณะนี้มีการเปิดเผยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ร.ฟ.ท.ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งวานนี้ (6 พ.ย.) ร.ฟ.ท.ได้เปิดเผยสาระสำคัญสัญญาร่วมลงทุน และวิธีการคัดเลือกเอกชนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย 

157311710524

ทั้งนี้ กพอ.กำหนดให้เปิดเผยต่อสาธารณะภายใน 30 วัน หลังลงนามสัญญาร่วมลงทุน รวมทั้งชี้แจงวิธีการคัดเลือกเอกชนคู่สัญญา เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยรายละเอียดที่มีการเปิดเผยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย

สำหรับสาระสำคัญของเอกสารที่เปิดเผยนั้น มีการระบุถึงประเด็นของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ โดย ร.ฟ.ท.จะมอบสิทธิให้เอกชนพัฒนาโครงการในระยะเวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ

  • รฟท.ชดเชยกรณีเลิกสัญญา

ด้านกรณีของการเลิกสัญญาร่วมลงทุน มีการกำหนดออกเป็นกรณีที่เป็นความผิดของเอกชนคู่สัญญา 1.กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงการออกแบบและงานการก่อสร้างในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ ไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ 2.กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุน งานช่วงการให้บริการเดินรถและงานการซ่อมและบำรุงรักษา ในส่วนของรถไฟคว่ามเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงจะชำระค่าชดเชยให้

ส่วนการเลิกสัญญาร่วมลงทุนที่เป็นเหตุจาก ร.ฟ.ท.แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงการออกแบบและงานก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงชำระค่าชดเชย รวมทั้งชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี ทั้งนี้ไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนโครงการ และ 2.เลิกสัญญาร่วมทุนช่วงการให้บริการเดินรถ และงานการซ่อมและบำรุงรักษา รถไฟความเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัยพ์สินที่สามารถรับโอนได้

นอกจากนี้ ยังมีกรณีการเลิกสัญญาร่วมทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อสาธารณะประโยชน์ แบ่งออกเป็นกรณีที่เกิดจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา ผลของการเลิกสัญญาเป็นไปตามเหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา จะเป็นไปตามข้อกำหนดการเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะความผิดของเอกชนคู่สัญญา ส่วนกรณีไม่ได้เกิดจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา ผลของการเลิกสัญญาจะเป็นไปตามที่กฎหมายไทยกำหนด  

  • ร่างแบบโครงการ 3 เดือน

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า หลังจากลงนามสัญญาแล้วเอกชนคู่สัญญาจะต้องไปร่างแบบโครงการ ซึ่งภาครัฐกำหนดกรอบเวลาการทำงานไว้ 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดจะมาดูว่าการออกแบบก่อสร้างมีปัญหาในจุดใดหรือไม่ ก่อนที่จะสรุปเป็นแบบก่อสร้างโครงการ ซึ่งการออกแบบดังกล่าวจะทำให้รับทราบว่า

157311748152

การส่งมอบพื้นที่ให้ซีพีในช่วงแอร์พอร์ลิงค์จะส่งมอบได้ทันที และช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร กำหนดใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี แต่จะเร่งรัดให้เสร็จภายใน 1 ปี 3 เดือน

ส่วนช่วงสถานีพญาไท-สนามบินดอนเมืองเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานใต้ดินมากจะใช้เวลาเคลื่อนย้ายโครงสร้างต่างๆและส่งมอบที่ดินได้ไม่เกิน 4 ปี แต่จะเร่งทำให้เสร็จภายใน 2 ปี 3 เดือน โดยจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันหลายฝ่าย เพื่อร่วมมือกันทำงานให้การส่งมอบพื้นที่เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้