ที่ประชุมช้างเขาใหญ่เสนอมาตการระยะสั้น-ยาวแก้ปัญหาช้างตกเหวนรก

ที่ประชุมช้างเขาใหญ่เสนอมาตการระยะสั้น-ยาวแก้ปัญหาช้างตกเหวนรก

ยังไม่รื้อจุดบริการขวางด่านช้าง อส.ย้ำต้องศึกษาให้ชัดก่อนปรับภูมิทัศน์

รองอธิบดีกรมอุทยานฯ จงคล้าย วรพงศธร เปิดเผยหลังการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานและองค์กรเครือข่ายอนุรักษ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างตกนำ้ตกเหวนรกใน อช. เขาใหญ่ ซึ่งถูกตั้งคำถามถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกที่อาจไปขวางทางเดินของช้าง เป็นเหตุให้ช้างเดินผ่านไปใกล้หน้าผาจนตกนำ้ตกตาย 11 ตัว เมื่อต้นเดือนตุลาคมนี้ว่า ทางกรมฯ รับฟังข้อเสนอจากที่ประชุมซึ่งน่าสนใจในหลายๆข้อเสนอ และจะรับไปประมวลวิเคราะห์ดูความเป็นไปได้ โดยจะแบ่งเป็นมาตรการระยะเร่งด่วน และระยะยาว

ซึ่งในระยะเร่งด่วน ได้มีการพิจารณาการแก้ปัญหาในจุดเสี่ยงในพื้นที่ ซึ่งมาตราการที่นำเสนอ รวมถึงการปรับปรุงเพนียดที่เคยสร้างไว้เป็นแนวกั้นหลังเกิดเหตุในลักษณะเดียวกันนี้เมื่อเกือบ 30 ปีมาแล้ว แต่มีบางจุดชำรุดทรุดโทรมลงไป และมีการเสนอให้พิจารณาว่าที่มีอยู่ยาวพอที่จะกั้นช้างไม่ให้เข้าพื้นที่เสี่ยงใกล้น้ำตกแล้วหรือไม่
นายจงคล้ายกล่าวว่า มาตราการดังกล่าวได้เร่ิมทำไปบ้างแล้ว พร้อมกับการสร้างจุดสกัดเฝ้าระวังในจุดที่ช้างตกลงไป แต่การสร้างส่วนต่อเพิ่มคงต้องไปประเมินความเสี่ยงอีกครั้งอพร้อมๆ กับข้อเสนอเรื่องการสร้างสิ่งกีดขวางเพื่อช่วยชะลอน้ำก่อนจะไหลลงหน้าผาและข่วยกันข้างตกหน้าผา และการใข้เทคโนโลยีต่างๆในการช่วยแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ นายจงคล้ายกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาอาจเป็นแนวทางผสมผสานมากกว่าการใช้เพียงวิธีเดียว
นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอมาตรการระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งในส่วนของการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบๆ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งถูกระบุโดยเครือข่ายอนุรักษ์ว่ากีดขวางทางเดินของช้างในพื้นที่
ซึ่งทางเครือข่ายฯ รวมทั้งกลุ่มรักษ์เขาใหญ่ และนายเข็มทอง โมราษฎร์ หรือพี่จืดจากกลุ่มเด็กรักษ์ป่า จังหวัดสุรินทร์ ที่นอนพักแรมประท้วงหน้าอุทยานฯ ก่อนหน้านี้ ได้เสนอการย้ายจุดบริการนักท่องเที่ยวออกจากพื้นที่ แล้วปรับภูมิทัศน์โดยรอบออกแบบเป็นเส้นทางเดินแบบเรือนยอดเข้าไปยังน้ำตกเพื่อลดการรบกวนชัางแทน
ทางด้านนักวิชาการจากกรมอุทยานฯ ระบุว่า จากงานศึกษาวิจัยที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่พบว่า ช้างใช้ประโยชน์ในพื้นที่บริเวณน้ำตกประมาณ 8 ตารางกิโลเมตรจริง โดยมีเส้นทางหลักข้ามนำ้ตกไปมา แต่อย่างไรก็ตาม ช้างเป็นสัตว์ที่มีการปรับตัวยืดหยุ่น ทำให้ประเมินว่า สิ่งก่อสร้างในพื้นที่ไม่น่ามีผลกระทบกับช้างเพราะช้างสามารถเลี่ยงได้
อย่างไรก็ดี สิ่งรบกวนช้างคือเสียงและแรงสั่นสะเทือน ซึ่งทำให้กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ในพื้นที่มีผลกระทบกับช้างได้ จึงมีการเสนอให้มีการจัดการท่องเที่ยวและการใช้ถนนในบริเวณใกล้เคียงโดยการโซนนิ่งการใช้ประโยชน์และการกำกับช่วงเวลาการใช้ประโยชน์ร่วมด้วย
ทั้งนี้ จะมีการศึกษาเจาะลึกถึงพฤติกรรมช้างในพื้นที่เพื่อนำข้อมูลใช้ในการวางแผนจัดการต่อไป