'ข้อมูลพิกัดโลเคชัน' โมเดลการตลาดยุคใหม่ นำทางธุรกิจเข้าถึงลูกค้า

'ข้อมูลพิกัดโลเคชัน' โมเดลการตลาดยุคใหม่ นำทางธุรกิจเข้าถึงลูกค้า

ซีอีโอสยามเมทริกซ์ฯแชร์ประสบการณ์ ใช้ประโยชน์ทางธุรกิจและสังคมจาก “ข้อมูลตําแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์” ผสานAI นอกจากระบุพิกัดลูกค้ายังบ่งบอกพฤติกรรมและบริบทโดยรอบช่วยแบรนด์รู้จักเป้าหมายมากขึ้น ทั้งยังช่วยวิเคราะห์จุดเสี่ยงอันตรายบนถนน ลดความถี่อุบัติเหตุ

ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งและ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสยามเมทริกซ์ คอนซัลติ้ง จํากัด บริษัทที่ปรึกษาในการต่อยอดธุรกิจด้วยข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ กล่าวระหว่างการสัมมนา “Unlocking Business and social Value from Geolocation Data" ในงานดิจิทัลไทยแลนด์ บิ๊กแบง 2019 ระบุว่าปัจจุบันยักษ์ใหญ่ทางธุรกิจล้วนนํา “ข้อมูล” มาใช้แล้วทั้งนั้นเพียงแต่จะแตกต่างที่วัตถุประสงค์ 'ข้อมูล'ความได้เปรียบทางธุรกิจ

ณภัทร กล่าวว่า ประเทศไทยมี “ข้อมูล จํานวนมากอยู่อย่างกระจัดกระจายไม่ถูกนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ยังขาด “นักยุทธศาสตร์ข้อมูล (Data Strategist)" จึงเกิดความคิดริเริ่มที่จะเปิดบริษัทที่ปรึกษาในการต่อยอดธุรกิจเชิงข้อมูล ด้วยการใช้โซลูชั่นเอไอเข้ามาช่วย ตั้งแต่มาร์เก็ตติ้ง คาดการณ์ดีมานด์ประเมินที่ดิน ไปจนถึงการดูว่าเทรนด์ในโลกโซเชียลขณะนี้กําลังให้ความสนใจกับสิ่งใดด้วยการวิเคราะห์จาก “ข้อมูลตําแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์" (Geolocation Data)

ข้อมูลระบุพิกัดในปัจจุบันนั้นถูกตีค่าต่ํา ทั้งที่มีพลังค่อนข้างมากในการขับเคลื่อนธุรกิจและสังคมไม่ใช่บอกแค่พิกัดตําแหน่งลูกค้า แต่ยังบอกได้ถึงพฤติกรรมและบริบทรอบตัวลูกค้าด้วย ข้อมูลเหล่านี้จะเข้ามาช่วยเติมเต็มความเข้าใจให้กับแบรนด์ ฉะนั้นนักธุรกิจจําเป็นต้องพึ่งพา “ข้อมูลตําแหน่ง ทางภูมิศาสตร์"

การจะลงทุนสินทรัพย์ทางกายภาพนั้นจะต้องตัดสินใจบนหลักฐานข้อมูล ไม่เช่นนั้นก็ไม่อาจทราบความเป็นไปของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้ อีกทั้งคนเดินทางน้อยลง แต่ดีมานด์สินค้ากลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และที่สําคัญไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเชิงพาณิชย์หรือธุรกิจเท่านั้นกลับต่อยอดสู่การขับเคลื่อนสังคมให้ไปในทางบวก”

เทคโนโลยีระบุพิกัดภูมิศาสตร์ นอกจากจะช่วยบริหารจัดการสินทรัพย์ทางกายภาพแล้วยังช่วยแก้ปัญหาสังคมได้ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งไทยมีผู้เสียชีวิตบนถนนกว่า 2 หมื่นคนต่อปี ติดอันดับ 2 รองจากลิเบียจึงเกิดการร่วมมือลดอุบัติเหตุบนถนนกับมูลนิธิจราจรแห่งประเทศไทย

“แทนที่เราจะแก้ปัญหาด้วยวิธีเดิมๆ ด้วยการลงพื้นที่ก็เปลี่ยนเป็นการรวบรวมข้อมูลในมิติต่างๆเข้าด้วยกัน ทั้งข้อมูลอุบัติเหตุข้อมูลสภาพถนนข้อมูลเชิงพื้นที่ สัญญาณไฟจราจร ข้อมูลสภาพอากาศข้อมูลการก่อสร้างและอื่นๆ แล้วใช้เอไอวิเคราะห์หาจุดที่มีความเสี่ยงสูง พบว่าเอไอมีความแม่นยําสูงมาก สามารถลดความถีการเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น"

'เอไอ' จุดสตาร์ทสร้างสมาร์ทซิตี้

Siametrics มีข้อมูลและทฤษฎีทางสถิติที่ได้จากการนําทักษะทางสถิติกับปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยให้การทําธุรกิจเดินไปอย่างถูกทิศถูกทางมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการนํามาใช้ในการสร้างเมืองอัจฉริยะด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ สภาพแวดล้อม และจํานวนของผู้อยู่อาศัยเพื่อให้ทุกอย่างสอดคล้องกันและดําเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

157296475925


สมาร์ทซิตี้
เป็นประเด็นสําคัญที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลาย แต่การที่จะทําให้ทุกอย่างบรรลุผลนั้นต้องเชื่อมต่อกัน ผ่านระบบไอโอทีเช่นระบบควบคุมตู้สัญญาณไฟจราจรทุกตู้ควรทํางานร่วมกัน เช่น เมืองเบอร์ลินมีระบบสัญญาณไฟจราจร สามารถเชื่อมต่อและสังการผ่านศูนย์ควบคุมกลาง เมื่อการจราจรหนาแน่นเกินระดับที่ตั้งไว้ก็จะมีสัญญาณเตือนให้เจ้าหน้าที่รีบดําเนินการแก้ไขโดยด่วน

ที่ผ่านมาได้ศึกษางานวิจัยพบว่า การทําสมาร์ทซิตี้ต้องไปให้ถึงระดับสูง อาจจะต้องเป็นเมืองใหม่ที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขณะที่ข้อมูลเทคโนโลยีระบุพิกัดสามารถวิเคราะห์ได้ว่าพื้นที่ไหนเหมาะสําหรับกิจกรรมประเภทใดชนิดของต้นไม้ ที่ปลูก สภาพอากาศในพื้นที่นั้นๆ เพื่อทําการจําลองครบรอบด้านว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้าง แล้วทําได้ดีแค่ไหนบนกราฟนี้ ทั้งยังมีเกณฑ์วัดว่าหากการพัฒนาเมืองเทน้ําหนักให้กับ จีดีพี่ก็จะไม่มีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศก็จะค่อยๆหายไป

“นักพัฒนาเมืองสามารถนํา "ข้อมูลตําแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์" มาเปลี่ยนเป็นพื้นที่ให้เหมาะแก่การสร้างเมืองใหม่กับความปลอดภัยของการจราจร หรือ ฝุ่นจิ๋ว 2.5 วิธีคิดแบบนี้มีความสําคัญในการทํา beyond smart city ไปสู่ การออกแบบผังเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยพลังของ “ข้อมูลเทคโนโลยีระบุพิกัด” ที่จะทําให้เรามองแผนที่เหล่านี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป” ณภัทร กล่าว