IMF ชื่นชมเสถียรภาพและบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศ

IMF ชื่นชมเสถียรภาพและบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศ

IMF ชื่นชมเสถียรภาพและบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศ

วันนี้ (วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562) เวลา 8.00 น. ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นางคริสตาลินา กอร์เกียวา (Mrs. Kristalina Georgieva) กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Managing Director, International Monetary Fund: IMF) เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน สรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีขอบคุณกรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ไทยเป็นเจ้าภาพ การเข้าร่วมของกรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นประโยชน์กับประเทศสมาชิก และคู่เจรจา และขอบคุณที่มาเข้าเยี่ยมคารวะเป็นโอกาสให้ได้ฟังความคิดเห็นโดยตรง และยินดีที่ให้เกียรติมาเป็นเจ้าภาพร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในงานสัมมนานานาชาติระดับสูงในหัวข้อ “Emerging Markets in the New Normal: Dealing with Rising Domestic Leverage and the International Financial Cycles” 

กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศยินดีความสำเร็จการจัดการประชุดสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ละการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องของไทย ชื่นชมบทบาทในเวทีระหว่างประเทศที่มีสนับสนุนความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายในโลกปัจจุบันได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองประเด็นที่ชื่นชมมาก คือมีการหารือเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดในภูมิภาค ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีเสถียรภาพ จึงส่งผลดีต่อการพัฒนาสำคัญทางเศรษฐกิจ 

อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่มีความท้าทายได้แก่การพัฒนาด้านการศึกษา และการพัฒนาแรงงาน ซึ่งรัฐบาลไทยยืนยันให้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเหล่านี้ โดยระบุในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะมีการตรวจสอบ ปรับปรุงทุก 5 ปี ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความเท่าเทียมทางเพศ 

ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมกรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ชื่นชมบทบาทไทยในเวทีอาเซียนซึ่งมีผลสำเร็จที่เป็นแผนแม่บทอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่าในโอกาสที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ได้ยืนยันชัดเจนที่จะลดการใช้พลังงานหลัก เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดการเผาไหม้กาซ CO2 ลดการใช้ขยะ และลดขยะในทะเล ในตอนท้าย ทั้งสองฝ่ายชื่นชมแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสนใจจะศึกษา ถือว่าเป็นประโยชน์กับชาวโลก