ปตท.เฟ้นไอเดียบุคลากรปั้น สตาร์ทอัพ ก้าวข้ามดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

ปตท.เฟ้นไอเดียบุคลากรปั้น สตาร์ทอัพ ก้าวข้ามดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

ปตท. เผยโฉมแชมป์ PTT TECH Savvy Agent Season 2 ต่อยอดธุรกิจ New Business Startup ก้าวข้ามดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ลุ้นรับเงินลงทุนสูงสุด 120 ล้านบาทต่อโครงการ (Prototype) จากคณะกรรมการด้านงบประมาณและการลงทุนของ ปตท. 

ปรากฏการณ์ Digital Disruption ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเกี่ยวโยงกับพฤติกรรมผู้บริโภค ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ก้าวข้าม Digital Transformation หรือกระบวนการที่นำเอาเทคโนโลยีดิจทัลมาปรับใช้กับทุกภาคส่วนของธุรกิจ ด้วยการพัฒนากระบวนการคิดในเชิงดิจิทัล (Digital Mindset) เพื่อก้าวให้ทันโลกและไม่ยึดติดกับโมเดลธุรกิจแบบเดิมๆ 

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำองค์กรแห่งยุคดิจิทัลด้วยการสร้างสรรค์สิ่งดี และสิ่งใหม่ แสวงหาธุรกิจที่เป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จใหม่ของ ปตท. ตามกลยุทธ์ CHANGE for the Future of Thailand ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสรรค์สร้างให้เกิดการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพและขยายการลงทุน ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของบุคลากรให้ก้าวทันโลกยุคดิจิทัล การสร้างคนรุ่นใหม่ การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีศักยภาพ มีความกล้าที่จะนำพาองค์กรก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมขับเคลื่อน ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานชั้นนำของประเทศไทยให้มั่นคงและยั่งยืน

157288684926

นาย ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2562 ปตท. ได้สานต่อโครงการ PTT TECH Savvy Agent Season 2 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากร สร้างวัฒนธรรม และค่านิยมองค์กรด้าน Digitalization (SPIRIT+D) ให้มีความพร้อมสำหรับการสร้างธุรกิจใหม่ หรือสร้างคุณค่าต่อยอดธุรกิจ (Business Value Chain) ในลักษณะของ บริษัทวิสาหกิจ (Startup) ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบ Coaching Session / Pitching Session บรรยายและเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและ Startup ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ พร้อมกิจกรรมกลุ่มซึ่งได้มีการบันทึกเทปการแข่งขันในรูปแบบ Reality Show เผยแพร่ผ่านสื่อภายในองค์กร และ YouTube Channel Account PTT People Plus

หลังจากผ่านการขับเคี่ยวอย่างเข้มข้นจากบุคลากรของ ปตท.ที่เข้าร่วมแข่งขัน “PTT TECH Savvy Agent Season 2” จำนวน 64 ทีม ทีมละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 192 คน ซึ่งการแข่งขันทุกรอบเป็นไปอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในรอบ 3 ทีมสุดท้ายที่ผู้เข้าแข่งขัน ผ่านการตัดสินจาก Commentator ชั้นนำกว่า 20 คน ทั้ง CEO จากบริษัทชื่อดังและผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจ Startup โดยมีเกณฑ์ในการตัดสินคือ การ Pitching Business Model ในเวลา 3 นาที โดยทีมผู้ชนะเลิศทั้ง 3 ทีมจะได้รับโอกาสสร้างธุรกิจในฐานะผู้มีส่วนร่วมก่อตั้ง (Co–Founder) เพื่อต่อยอดธุรกิจใหม่ให้ประสบความสำเร็จ และได้เดินทางไปศึกษาดูงานในบริษัทชั้นนำระดับโลก รวมถึงมีโอกาสได้รับเงินลงทุนสูงสุด 120 ล้านบาทต่อโครงการ (Prototype) จากคณะกรรมการด้านงบประมาณและการลงทุนของ ปตท. 

สำหรับผู้ชนะทั้ง 3 ทีม ได้แก่ ทีมชนะเลิศ อันดับ 1 ทีม “3J สร้างสรรค์” ผลงาน “PTT Media Space บริหารพื้นที่สื่อ Digital Signage ภายในสถานีบริการและสถานประกอบการของ ปตท.” โดย นายเจษฎา เจียมบุรเศรษฐ์ (โน้ต) ฝ่ายแผนกลยุทธ์บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม นางสาวเขมรินทร์ ชูสถาน (ขวัญ) ฝ่ายแผนกลยุทธ์บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม และนายจิรัฏฐ์ พรหมดิเรก (พบ) ฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร 

PTT Media Space

157288691561

โน้ต–เจษฎา เป็นตัวแทนทีมชนะเลิศ “3 สร้างสรรค์” เล่าให้ฟังว่า แนวคิด PTT Media Space บริหารพื้นที่สื่อ Digital Signage ในสถานีบริการและสถานประกอบการของ ปตท. เกิดขึ้นจากการที่สถานีบริการน้ำมัน (ปั๊ม) ปตท. มีจำนวนกว่า 1,800 แห่งครอบคลุมทั่วประเทศ และตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็น Prime Area ที่สามารถเข้าถึงคนส่วนมากได้อย่างทั่วถึง และเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ ปตท.ได้เปรียบคู่แข่งในตลาด ซึ่งจากการมองเห็นโอกาสดังกล่าวทำให้ทีมเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดธุรกิจที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งเพิ่มรายได้จาก Fixed Asset  เดิมที่จะช่วยประหยัดงบประมาณในการลงทุน และเพิ่มรายได้ของ ปตท.ให้สูงขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น จากการเพิ่มพื้นที่โฆษณาในหลายๆ จุดของสถานีบริการ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีป้ายบิลบอร์ดแบบเดิมๆ ให้เป็นในรูปแบบดิจิทัลและนำเสนอผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ซึ่งนอกจากจะช่วยให้โฆษณามีความน่าสนใจยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มรายได้ให้ ปตท. รวมถึงเพิ่มจำนวนผู้มาใช้พื้นที่เพื่อการโฆษณาได้อีกด้วย

“เราจะติดตั้ง Digital Out of Home แล้วใส่โปรแกรมการประมวลผลเข้าไป ทำให้การโฆษณามีความเป็น Personal มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าเข้ามาเติมน้ำมันเบนซินก็จะเห็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเบนซิน เป็นการทำให้สื่อโฆษณามีประสิทธิภาพมากยิ่ง สามารถใช้กล้องมองลูกค้า รู้ว่าลูกค้าเป็นวัยใด เพศใด เพื่อยิงโฆษณาออกมาให้ตรงกับเพศและวัยของลูกค้า เป็นการนำเทคโนโลยีมาต่อยอดและเกิดขึ้นได้จริง โดยจุดเด่นของโมเดลธุรกิจ PTT Media Space คือ 1.สร้างรายได้เพิ่มจากสิ่งที่ ปตท. มีอยู่แล้ว  2.วงเงินลงทุนไม่ได้มากจนเกินไปเมื่อเทียบกับผลกำไรที่จะได้กลับคืนมา และ 3.ได้กำไรเร็ว คืนทุนได้เร็ว ซึ่งไอเดียของทีมเรานอกจากจะสร้างธุรกิจใหม่ให้กับ ปตท. แล้ว เรายังมองว่าการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าถึงผู้บริโภค ถ้าเราสามารถพัฒนาต่อยอดนำไปใช้เพื่อสังคมได้ก็จะดีมาก เช่น ใช้ในการตามหาคนหายร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา หรือเป็นพื้นที่โปรโมทสินค้าโอทอปก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศเป็นอย่างมาก” โน้ต–เจษฎา กล่าว 

Innaqua เทคโนโลยีวัสดุปิดแผล

157288695350

ทีมชนะเลิศ อันดับ 2 ทีม “TRIPLE–T” ผลงาน “Innaqua เทคโนโลยีวัสดุปิดแผลจากไบโอเซลลูโลสคอมโพสิต” โดย นายนรินทร์ กาบบัวทอง (ต้น) ฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีกระบวนการปิโตรเลียมและปิโตรเคมี นายชัยพฤกษ์ เกตุเพ็ชร (ตั้ม) ฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีกระบวนการปิโตรเลียมและปิโตรเคมี และนายธันว์ เหลียงไพบูลย์ (ธันว์) ฝ่ายโครงการเอ็กสเพรสโซ 

“Innaqua เป็นโครงการที่ต่อยอดการพัฒนาวัสดุปิดแผลจากไบโอเซลลูโลสคอมโพสิตด้วยเทคโนโลยีที่เป็นเอกสิทธิ์ของสถาบันนวัตกรรม ปตท. เป็นงานวิจัยที่ ปตท.คิดค้นมาประมาณ 5–6 ปีแล้ว ด้วยความมุ่งมั่นอยากสร้างธุรกิจใหม่ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น เพราะช่วยเร่งกระบวนการรักษาบาดแผลของร่างกาย ชุมชนและสังคมก็จะเข้าถึงโอกาสในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีเทียบเท่าต่างประเทศ ในราคาที่สมเหตุสมผล โดยเรามีเป้าหมายที่จำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกผลิตภัณฑ์ไปทั่วโลก คาดว่าในปี 2563 จะเห็นความชัดเจนทางธุรกิจแน่นอนครับ” ต้น–นรินทร์ กล่าวในฐานะตัวแทนทีม TRIPLE–T  

Smart Box ธุรกิจรับ–ส่งสินค้าออนไลน์

157288699126

ปิดท้ายที่ ทีมชนะเลิศ อันดับ 3 ทีม “PTT HUB” ผลงาน “Smart Box ธุรกิจรับ–ส่งสินค้าออนไลน์ผ่านตู้ที่จะตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมันผ่าน Application” โดย นายประสิทธิ์ วงศ์เลอศักดิ์ (บิ๊ก) ฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและขนส่งปิโตรเลียม สถาบันนวัตกรรม ปตท. นายเตชินท์ เอี่ยมฤกษ์ศิริ (ไฮ้) ฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและขนส่งปิโตรเลียม สถาบันนวัตกรรม ปตท. และนางสาวสุชาดา วรพงษ์ (จิ๊บ) ฝ่ายบริหารธุรกิจค้าปลีกและพื้นที่เชิงพาณิชย์ PTTOR

จุดเด่นของ Smart Box ธุรกิจรับ–ส่งสินค้า น่าจะอยู่ที่การเป็นโมเดลธุรกิจที่สนับสนุนธุรกิจเดิมของ ปตท.  โดยเป็นรูปแบบใหม่ของโลจิสติกส์ในการรับ–ส่งสินค้า มั่นใจว่าโมเดลธุรกิจ Smart Box ของทีมเราจะเสริมให้ธุรกิจในปั๊ม ปตท. เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยที่ประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในธุรกิจนี้ด้วย ตอบโจทย์การขนส่งให้สะดวกและง่ายขึ้น ไม่เพิ่มปริมาณรถขนส่งสินค้าจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แก้ปัญหาให้หลายๆ คนที่ไม่สะดวกจะให้นำสินค้าออนไลน์ไปส่งที่บ้าน หรือสื่อสารกับคนส่งลำบากก็สามารถไปรับสินค้าได้ที่ปั๊ม ปตท.รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น กรณีมีรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามา ปตท.จะต้องปรับตัวอย่างไร การเข้าร่วมโครงการ  PTT TECH Savvy Agent Season 2 เหมือนได้ก้าวออกจาก Comfort Zone ได้กำลังใจในการทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจ