‘หัวเว่ย’ จุดประกายเอกชนอาเซียนดัน ศก. 4.0

‘หัวเว่ย’ จุดประกายเอกชนอาเซียนดัน ศก. 4.0

รองประธานหัวเว่ย เทคโนโลยี ประกาศช่วยอาเซียนขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล 4.0 ก้าวข้ามผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรมครั้งที่4 วางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเครือข่าย 5 จี ยืนยันไม่มีปัญหาเรื่องความมั่นคงไซเบอร์ตามที่สหรัฐอ้าง

ในเวที Asean Business and Investment 2019 (ABIS) จัดขึ้นเป็นวันที่สอง ณ ศูนย์แสดงสินค้าและประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งเป็นการประชุมจัดขึ้นโดย ASEAN-BAC โดยมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาเซียน รับมือยุคดิจิทัลและการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

นายเอ็ดเวิร์ด โจว รองประธานบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี ได้ขึ้นเวทีกล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (Digitalization) ถือเป็นแนวทางพัฒนาที่ช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจยุค 4.0 มุ่งเพิ่มขีดความสามารถ และสร้างการแข่งขันในตลาด อีกทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลก็สามารถเป็นสร้างการรวมตัวและสร้างตลาดเศรษฐกิจใหม่ให้กับภูมิภาคอาเซียนได้อย่างเต็มตัว

นายเอ็ดเวิร์ด กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยยกตัวอย่างการเติบโตในปี 2561 พบว่า อุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือมีมูลค่ามากกว่า 1.9 ล้านล้านหยวน หรือ 2.8 พันล้านดอลลาร์ หรือ 2.1% ของจีดีพี ขณะที่โรงงานผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ที่ตั้งขึ้นในปีที่แล้ว มีการลงทุนมากถึง 5.2 ล้านล้านหยวน หรือ 7.5 แสนล้านดอลลาร์ คิดเป็น 5.5% ของจีดีพีทั้งหมดนี้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีผลต่อขยายตัวทางเศรษฐกิจ

"ความชาญฉลาดของเทคโนโลยีนได้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพทางการผลิต และกระตุ้นการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะเดียวกัน ดิจิทัลยังแทรกอยู่ในหนทุกแห่งในสังคมสมาร์ทซิตี้ที่ช่วยให้ชีวิตของทุกคนง่ายขึ้นและมีคุณภาพที่ดี" รองประธานหัวเว่ย เทคโนโลยี กล่าวย้ำ

นายเอ็ดเวิร์ด มองว่า อาเซียนมียังโอกาสในการเติบโตอีกมาก แต่บริบทที่จะเกิดขึ้นนั้นมีความแตกต่างจากจีน เพราะการเติบโตของอาเซียนต้องอาศัยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เป็นตัวหลักช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค

โดยชี้ว่า จากข้อมูลอาเซียนมีประชากรเป็นอันดับสามของโลก 650 ล้านคน ซึ่งมีมูลค่าการค้าขายมากเป็นอันดับ4 ของโลก ที่สำคัญประชากรกว่าครึ่งมีอายุน้อยต่ำกว่า 30 ปี และคาดว่าอีก 6 ปีข้างหน้าหรือปี 2568 จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตจาก 100 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นมามีมูลค่ 300 ล้านดอลลาร์ โดยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภายในอาเซียนเป็นแรงผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจมากถึง 50% ทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 80% ให้เกิดขึ้นในอาเซียน

รองประธานหัวเว่ย เทคโนโลยี กล่าวว่า องค์ประกอบการสร้างสังคมเทคโนโลยีจะต้องประกอบด้วย 3 ประการได้แก่ ค่านิยมหลักด้าน ICT ที่จะช่วยสร้างวัฒนธรรมใหม่ในสังคมที่โหยหาและต้องใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน 2. การให้บริการด้านดิจิทัลทั้งในเรื่องการเงิน การขนส่งและคมนาคม การผลิตสินค้าและบริโภคเทคโนโลยี ประโยชน์จากการใช้ดิจิทัลที่มีผลต่อการสื่อสาร 3.การใช้เทคโนโลยีชั้นสูงใจภาคอุตสหกรรมทั้งการผลิตและการบริการ

ทั้งนี้ ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัลอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การเพิ่มความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน ซึ่งนายเอ็ดเวิร์ดชี้ว่า สิ่งสำคัญจะต้องมีกรอบแนวทางการดำเนินงานเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่ ประการแรกต้องวางรากฐานของโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุม ให้รวดเร็ว เช่น เทคโนโลยี5จี หรือแม้กระทั่งการวางไฟเบอร์ออฟติกทั่วพื้นที่

ลำดับถัดมาคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนแปลงไป การเข้าถึงแหล่งบริการดิจิทัล ทั้งระบบคลาวด์ อินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยี จะไม่ใช่เพียงแค่ความบันเทิงหรือการดูหนังฟังเพลงเท่านั้น แต่จะเป็นการเข้าถึงเพื่อให้เกิดการผลิตการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสุดท้ายเป็นการให้ความสำคัญกับผู้ใช้เทคโนโลยีที่มีการพูดถึงมากกันขณะนี้คือ สมาร์ทซิตี้จะเกิดขึ้นได้จริงจะต้องทำอย่างไร เตรียมการอย่างไร ใครจะลงทุนและใครจะดำเนินการบริหาร

นอกจากนี้ นายเอ็ดเวิร์ด ยังกล่าวถึงความกดดันที่สหรัฐ ขึ้นบัญชีบริษัทหัวเว่ยไม่ให้บริษัทเอกชนในสหรัฐดำเนินกิจการทางธุรกิจ ซึ่งเป็นผลจากที่จีนและสหรัฐกำลังอยู่ในสงครามการค้า และมีสงครามเทคโนโลยีบางอย่างที่หัวเว่ยตกเป็นเป้าหมายจับจ้องอยู่ในขณะนี้ด้วย

โดยเฉพาะการที่กูเกิลยกเลิกข้อตกลงมีกับหัวเว่ย จึงทำให้ไม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นของกูเกิลในโทรศัพท์รุ่นล่าสุดของหัวเว่ยได้ โดยหัวเว่ยมองว่า แม้ในช่วงไตรมาสที่สาม มีความกดดันในเรื่องนี้อย่างสูง แต่คาดว่าการเติบโตในช่วงที่เหลือของปี จะไม่น้อยไปว่าไตรมาสที่ผ่านมา และหัวเว่ยยินดีที่จะสนับสนุนการเติบโตด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน

รองประธานหัวเว่ย เทคโนโลยี กล่าวตอนท้ายว่า ขณะนี้เรากำลังเข้าสู่ยุค 5จี ซึ่งควรที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานกับการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ หัวเว่ยพร้อมสนับสนุนการพัฒนา 5 จี ในภูมิภาคอาเซียน และสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 ที่จะเกิดขึ้นอาเซียน เพื่อก้าวไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล 4.0 ที่มีความมั่งคั่งและยั่งยืนอย่างที่ 10 ประเทศอาเซียนตั้งใจไว้ นอกจากนี้ ยังย้ำว่า

สิ่งที่หัวเว่ยแถลงมาตลอดว่า หัวเว่ยไม่มีเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ตามที่สหรัฐกล่าวอ้างโดยไม่มีหลักฐาน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ลงทุน 5,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 150,843 ล้านบาท เพื่อตั้งศูนย์ทดสอบ 5 จีในไทย และได้รับเชิญให้ทำการทดสอบ 5 จีในตลาดอาเซียนอื่น ๆ อย่าง กัมพูชา และเวียดนาม เป็นต้น