แกะรอย 'แชร์แม่มณี' ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

แกะรอย 'แชร์แม่มณี' ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

เจาะประเด็นร้อน! แกะรอย "แชร์แม่มณี" ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

พูดปากต่อปาก! ลงทุน 100 บาท ได้ผลตอบแทนมากถึง 93 บาท ทำให้คนหลงเชื่อ เอาเงินมาร่วมลงทุนจำนวนมาก หลายคนที่ลงทุนครั้งแรกแล้วได้ผลตอบแทนกลับมา ทำให้เชื่อถือและเอาเงินมาทุ่มลงไปอีก รวมถึงบอกต่อญาติพี่น้องเพื่อนฝูง จนทำให้คนกว่า 4 พันราย ตกเป็นเหยื่อ "แชร์แม่มณี" ของ "วันทนีย์ ทิพย์ประเวช หรือ "เดียร์" สาววัย 30 ปี

แกะรอย \'แชร์แม่มณี\' ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

การสร้างโปรไฟล์สวย หรู เริ่ด บนโลกโซเชียลมีเดีย ทำให้บรรดาเครือข่ายและคนที่สนใจอยากลงทุนหลงเชื่อเธอ กลายเป็นคนรวยขึ้นมาอย่างรวดเร็ว การอวดรถหรู การจัดอีเว้นท์เชิญดารา เซเลปดัง ๆ มาร่วมงาน ทำให้คนเข้าใจว่า เธอคือไฮโซ รวยแท้ มีเงินจริง และไม่หลอกลวง

ทว่า ลงทุนในรูปแบบของแชร์ลูกโซ่นั้น เป็นเรื่องแดงขึ้นมา เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผู้เสียหายชาวจังหวัดอุดรธานีจำนวนมาก เข้าแจ้งความที่ สภ.เมืองอุดรธานี ดำเนินคดีกับกับเน็ตไอดอลรู้จักดีในนาม “แม่มณี” หรือ น.ส.วันทนีย์ แม่ค้าขายตุ๊กตาผ่านออนไลน์ มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลบ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี ในข้อหา “ฉ้อโกง” มีผู้เข้าแจ้งความรวมถึงวันนี้กว่า 200 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 128 ล้านบาท ซึ่งผู้เสียหายส่วนใหญ่ปกปิดใบหน้าและไม่ยอมบอกชื่อจริง เพราะไม่ต้องการให้ญาติรู้ว่าถูกหลอก ซึ่งผู้เสียหายส่วนใหญ่รู้จักแชร์แม่มณีจากเฟซบุ๊คชื่อ “ฝากยอดต่ออนาคต”

แกะรอย \'แชร์แม่มณี\' ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

จากนั้นได้มีการยึดอายัดบัญชีธนาคารในชื่อของนายเมธี ชินภา และน.ส.วันทนีย์ ทิพย์ประเวช ก่อนที่ตำรวจจะลงพื้นที่เพื่อไปดูบ้านที่มีชื่อของน.ส.วันทนีย์แจ้งอยู่ แต่พบเป็นเพียงร้านเสริมสวยที่มีแม่ของวันทนีย์อยู่อาศัยภายในหมู่บ้านการเคหะ แต่บ้านก็ปิดเงียบ

จนกระทั่งวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ศาลจังหวัดอุดรธานี ได้อนุมัติออกหมายจับน.ส.วันทนีย์ ในข้อหา ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแต่ประชาชน พร้อมกับออกควานหาตัวน.ส.วันทนีย์เพื่อจับกุมตัว

แกะรอย \'แชร์แม่มณี\' ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

ในการออกติดตามหาตัวนี้เอง ได้พบการโกหกคำโต ทั้งการหลอกลวงลูกข่ายว่ามีที่ดิน 5.6 ไร่ เพื่อสร้างพักพลูวิลล่า พร้อมสระว่ายน้ำ จัดปาร์ตี้ แห่งแรกในอุดรธานี ห่างจากสนามบินอุดรธานีเพียง 300 เมตร แต่แท้จริงแล้วที่ดินดังกล่าวเป็นของนักธุรกิจคนหนึ่งในอุดรธานี รวมถึงการสร้างภาพว่ามีธุรกิจคาร์แคร์ซื้อขายแลกเปลี่ยนรถหรู มีรถมาขับหลายคัน ซึ่งความเป็นจริงแล้วเป็นเพียงการหลอกลวงเท่านั้น

จากนั้นวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ตรวจค้นอาคารพาณิชย์ ที่ น.ส.วันทนีย์ ในเขตซอย
จินตคาม เทศบาลนครอุดรธานี ที่ น.ส.วันทนัย์ ซื้อและเช่าไว้ พบกล่องเครื่องสำอางยี่ห้อ MANILA และตุ๊กตา ชั้น 2 เป็นห้องนอน และห้องนอนเด็ก ชั้นที่ 3 ห้องด้านหน้าเป็นห้องนอนพบกล่องพัสดุไปรษณีย์ เมื่อเปิดออกมาพบใบถอนเงินธนาคาร มีลายเซ็นนายเมธี ชิณภา จำนวนมาก

แกะรอย \'แชร์แม่มณี\' ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

ส่วนห้องที่ 2 ของชั้น 3 ที่หน้าห้องติดป้ายว่า บริษัท ห้างทองแม่มณี (2019) จำกัด เปิดเข้าไปในห้องพบว่า มีการตกแต่งห้องเป็นร้านขายทอง ที่มีตู้โชว์ทองและเคาน์เตอร์โชว์ทองรูปพรรณ ทั้งสร้อยคอ แหวน เลสข้อมือ จำนวนมาก เหมือนกับร้านทองทั่วไป มีป้ายราคาทองคำประจำวัน และพบตู้เซฟ 1 ตู้ ทางตำรวจพิสูจน์หลักฐาน และตัวแทนสมาคมร้านทองอุดรธานี มาตรวจสอบ พบว่าเป็นทองชุบ ที่คาดว่า แม่มณีใช้สำหรับไลฟ์สด โชว์ลูกข่ายให้ทราบว่า เป็นเจ้าของกิจการร้านทอง และสร้างโปรไฟล์ของตัวเองให้ดูดี

แกะรอย \'แชร์แม่มณี\' ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

และยังได้ไปค้นอาคารเลขที่ 80/41 ที่เป็นอาคารที่แม่มณีเช่า นางอุมารินทร์ อายุ 60 ปี และครอบครัว เจ้าของห้องเช่าเดินทางมาเป็นพยาน และเจ้าของอาคาร นำกุญแจสำรองมาเปิดให้ ที่ชั้น 1 หน้ากระจกหน้าอาคาร ติดป้าย MANILA แบรนด์เครื่องสำอางค์ของแม่มณี มีการตกแต่งโซฟา ม่าน เป็นแบบหลุยส์ ราคาแพง ที่ใช้สำหรับไลฟ์สดรีวิวสินค้า และเครื่องสำอางค์ MANILA หลายกล่อง และตู้เชฟขนาดใหญ่ ส่วนชั้น 2 เป็นห้องนอนหรูตกแต่งด้วยตู้ เตียงหลุยส์ และ ตู้เชฟ ส่วรชั้น 3 ห้องด้านหน้าเป็นห้องนอนธรรดา ส่วนห้องด้านหลังเป็นห้องพระ มีหุ้นขี้ผึ้งเกจิอาจารย์ดังเท่าตัวจริง จำนวน 3 รูป ที่คาดว่าแม่มณี ใช้สร้เงภาพว่า เป็นคนชอบทำบุญ สร้างพระ สร้างโปรไฟล์กับตัวเอง

ส่วนอาคารเลขที่ 80/42 ที่ซื้อไว้ พบว่าเป็นห้องโล่ง ไม่มีสิ่งของอยู่ภายใน ส่วนอาคารพานิชย์ตรงกันข้ามเลขที่ 452/10 ที่แม่มณีซื้อไว้ ยังขอหมายค้นไม่ได้ เพราะไม่ชัดเจนเรื่องผู้ครอบครอง

ขณะเดียวกัน พ.ต.ท.อัครบุตร อัครสุขบุตร รอง ผกก.สส.สภ.เมืองอุดรธานี พร้อมกำลังตำรวจชุดสืบสวน สภ.เมืองอุดรธานี นำหมายค้นศาล จ.อุดรธานี เข้าตรวจค้นบ้านเลขที่ 651/407 บ้านเอื้ออาทรอุดรธานี 3 หมู่1 ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นบ้านที่น.ส.เดียร์ มีชื่ออยู่ทะเบียนบ้านหลังนี้ และมารดาอาศัยอยู่ พบว่าบ้านถูกปิดเงียบไม่มีคนอยู่พบเพียงเพื่อนบ้านระบุว่า เมื่อสัปดาห์ก่อน มีคนเข้ามาทำความสะอาด และเมื่อรับทางตำรวจแจ้งว่าประธานชุมชนไม่อยู่ จึงไม่มีพยานนำเข้าตรวจค้น ทางตำรวจจึงใช้การติดหมายอายัดบ้านไว้ก่อน รอเข้าตรวจค้นอีกครั้ง

จากนั้นตำรวจชุดสืบสวน สภ.เมืองอุดรธานี ได้นำหมายค้นศาล จ.อุดรธานี เข้าตรวจค้นที่บ้านเลขที่ 445/40 ชุมชนพาสุกมั่นคง ถ.นเรศวร เทศบาลนครอุดรธานี ซึ่งเป็นบ้านของมารดานายบอสฯ พบมารดานายบอสอยู่ที่บ้าน และนำตำรวจเข้าตรวจค้น โดยใช้หน้ากากอนามัยปิดใบหน้า จากการตรวจค้นในบ้าน ตำรวจได้ตรวจยึดเอกสาร,สมุดเงินบัญชีเงินฝากธนาคาร และกรมธรรม์ประกันชีวิตของนายบอส ที่ทำขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา และถูกส่งกรมธรรม์ทางไปรษณีย์ วงเงินประกันชีวิต 19 ล้านบาท จ่ายเบี้ยประกันครั้งแรก 1,050,133บาท ผู้รับผลประโยชน์เรียงลำดับคือ น.ส.วันทนีย์,นายเมธี และบุตรสาว ตามลำดับ ตำรวจเชิญแม่นายบอสฯ ไปให้ปากคำที่ สภ.เมืองอุดรธานี

จากการตรวจค้นครั้งนี้ ทั้งโน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์ และ เอกสารการเงิน ตำรวจเก็บไว้เป็นหลักฐาน ส่วนร้านทองที่อยู่บนชั้น 3 ตรวจสอบแล้วว่าเป็นทองชุบ และห้องที่ตกแห่งด้วยตู้ และเตียงหลุยส์ ไว้สำหรับไลน์ขายสินค้า และทรัพย์สินอื่น เพื่อจะสร้างโปรไฟส์โชว์ลูกค้าว่ารวยจริง จะตรวจยึดไว้ทั้งหมด ซึ่งทรัพย์สินภายในอาคารพานิชย์ทั้งหมด ตำรวจจะอายัดทรัพย์ไว้ ห้ามเคลื่อนย้าย และจะทำบัญชีสรุปว่า ตรวจยึดอะไรบ้าง โดยทางตำรวจขอแจ้งให้ผู้เสียหาย ทราบว่าทองทั้งหมดเป็นทองปลอม อย่าเพิ่งตื่นตระหนกกันแห่กันมาดูทรัพย์สินที่ตรวจยึด

และเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 พล.ต.ท.เจริญวิทย์ ศรีวนิชย์ ผบช.ภ.4 พร้อมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เข้าตรวจค้นอาคารพาณิชย์ เลขที่ 80/39 , 80/41 และ 80/42 ซ.จินตคาม เทศบาลนครอุดรธานี ของ น.ส.วันทนีย์ ได้เดินทางเข้าทำการตรวจค้นอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น เลขที่ 452/10 ตามหมายค้นของศาล จ.อุดรธานี ฝั่งตรงข้ามกับอาคารพาณิชย์ 3 ห้องของ น.ส.วันทนีย์ ที่ซื้อและเช่าไว้ อาคารหลังนี้ มีชื่อของ นางนธวัลรัตน์ ทิพย์ประเวช อายุ 47 ปี มารดาของ น.ส.วันทนีย์ เป็นผู้ครอบครอง ซึ่งทางตำรวจให้ช่างกุญแจมาเปิดประตู พบว่าที่ชั้นล่าง มีกล่องน้ำปลาร้าสำเร็จรูป ตรา “ปลาร้า แม่มณี” ที่บรรจุกล่องละ 12 ขวด ประมาณ 2,500 กล่อง วางอยู่เต็มพื้นที่ชั้นล่าง ส่วนชั้นอื่นไม่พบสิ่งของใด



“วิธีการหลอกลวงของแม่มณี เป็นรูปแบบเดิม ๆ ทั้งนั้น ถ้าเหยื่อไม่มีความโลภ รู้ว่าการลงทุนและได้ผลตอบแทนอย่างมหาศาลแบบนี้ ซึ่งความจริงไม่มีธุรกิจอะไรที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนกำไรมากถึงขนาดนี้ เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นอุทาหรณ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เพื่อจะไม่ได้ตกเป็นเหยื่อแบบนี้ซึ่งถึงขณะนี้ในเขตตำรวจภูธรภาค 4 ทั้ง 12 จังหวัด มีมูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 140 ล้านบาท มีผู้เสียหายมากกว่า 244 คน โดยที่ จ.อุดรธานี มีผู้เสียหายมากที่สุด 220 คน มูลค่าเสียหาย 115 ล้านบาท มีผู้ที่เสียหายมากที่สุด 20 ล้านบาท นอกนั้นกระจายกันไปหลักล้านถึงหลักหมื่น หลักพัน โดยตอนนี้ทางตำรวจกำลังสืบสวนขยายผล มีใครที่ร่วมขบวนการของแม่มณีอีก ถ้าพบว่ามีใครที่ร่วมกระทำผิด เราจะดำเนินการอย่างเต็มที่ ไม่มีละเว้นผู้ใด” พล.ต.ท.เจริญวิทย์ กล่าว

จนในที่สุด เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ตำรวจได้ควบคุมตัวน.ส.วันทนีย์ พร้อมสามีได้ที่ห้องเช่าในพื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ก่อนนำตัวมาสอบปากคำที่ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี และ มี พล.ต.ท.เจริญวิทย์ ศรีวนิชย์ ผบช.ภ.4 เป็นคนลงมือสอบปากคำเอง

ต่อมา พล.ต.ท.เจริญวิทย์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ที่ห้องประชุม ภ.จว.อุดรธานี ว่า ตำรวจได้จับกุม น.ส.วันทนีย์ หรือ เดียร์ หรือ แม่มณี ทิพย์ประเวช อายุ 30 ปี และนายเมธี หรือบอส ชิณภา อายุ 20 ปี สองสามีภรรยา ตามหมายจับศาล จ.อุดรธานี จ.261/2562 และ จ.262/2562 ในข้อหา ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน,ร่วมกันให้กู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง 12 จังหวัดของภาค 4 มีผู้เสียหาย 277 ราย มูลค่าเสียหาย 157 ล้านบาทเศษ โดย จ.อุดรธานี มีมากที่สุด ซึ่ง สภ.เมืองอุดรธานี รับคำร้องทุกข์ไว้ 232 ราย มูลค่าความเสียหาย 128 ล้านบาท

ซึ่งทางตำรวจสืบสวน ภ.จว.อุดรธานี และ สภ.เมืองอุดรธานี ได้ขยายผลเพื่อหาผู้ร่วมขบวนการ เข้าตรวจค้นบ้านและอาคาร 6 จุด พบหลักฐาน ทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ เอกสาร ซึ่งจะได้ตรวจสอบ อายัด ทำการสืบสวนขยายผลต่อไป เบื้องต้นทราบว่าได้จดทะเบียนเพื่อทำธุรกิจ ทั้งที่จดแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งน้ำปลาร้า,เครื่องสำอางค์,อาหารเสริม,ร้านทอง และบางธุรกิจมีหลายสาขา โดยได้อายัดอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 2 คูหา ที่น.ส.วันทนีย์เป็นผู้ครอบครอง และอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น 1 คูหา มีน.ส.ธวัลรัตน์ ทิพย์ประเวช มารดาของ น.ส.วันทนีย์ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และยังมีรถยนต์หรู 3 คัน โฉนดที่ดิน รวมมูลค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ และรถยนต์ รวม 22.1 ล้านบาท ส่วนทองปลอม รับว่าซื้อมาจาก จ.ขอนแก่น ที่ซื้อเหมามาเป็นกิโล เพื่อมาสร้างภาพไลฟ์สดหลอกผู้เสียหาย

แกะรอย \'แชร์แม่มณี\' ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

ส่วนความคืบหน้าการสอบปากคำผู้เสียหาย พนักงานสอบสวน สภ.เมืองอุดรธานี ได้สอบปากคำผู้เสียหายแล้วกว่า 200 ปาก ซึ่งวันจันทร์นี้ จะนำผู้ต้องหาฝากขังต่อศาล และคัดค้านการประกันตัว ส่วนสำนวนการสอบสวน ตอนนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้ประสานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีคำสั่งให้รวบรวมคดีที่เกิดขึ้นในภาค 4 และภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมส่งสำนวนให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ภายในวันที่ 16 พฤศจิกายน ซึ่งสำนวนทั้งหมดจะไปรวมกันที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่วนประเด็นที่ว่าจะมีใครเกี่ยวข้องหรืออยู่เบื้องหลัง คงจะต้องพิสูจน์ทราบทางเชิงลึก รวมถึงเส้นทางการเงิน ว่ามีใครอยู่เบื้องหลังหรือโดนต่อไปที่ไหนอย่างไรหรือไม่

แกะรอย \'แชร์แม่มณี\' ยอดเสียหายพุ่ง 984 ล้าน แต่สืบทรัพย์ได้เพียง 22 ล้าน

พล.ต.ท.เจริญวิทย์ กล่าวอีกว่า น.ส.วันทนีย์ ยังให้การภาคเสธ ว่าไม่ได้มีเจตนาจะโกงผู้เสียหาย ส่วนมารดาของ น.ส.วันทนีย์ จะมีความผิดด้วยหรือไม่นั้น ต้องรอการสอบปากคำผู้เกี่ยวข้อง น.ส.วันทนีย์ ก่อน แต่เบื้องต้น น.ส.วันทนีย์ ก็บอกว่าตัวมารดาของเขาก็ร่วมเล่นแชร์กับลูกสาวด้วย ส่วนจะว่ามีคนมีสีอยู่เบื้องหลัง และช่วยในการหลบหนี เรื่องนี้จะต้องมีการสืบสวนสอบสวนอีก หากพบว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้อง ก็จะดำเนินการตามกฎหมาย ส่วนข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ คงไม่สามารถบอกได้ เพราะอยู่ในสำนวน

นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นในการดำเนินคดีกับน.ส.วันทนีย์ ที่ฉ้อโกงประชาชน แต่กรณีแชร์รูปแบบนี้เคยเกิดขึ้นในสังคมไทยหลายครั้งที่โด่งดังที่สุดคือ คดีแชร์ชม้อย หรือคดีนางชม้อย ทิพย์โส คดีนี้กล่าวหานางชม้อย ทิพย์โส หรือประเสริฐศรี หรือที่ประชาชนเรียกติดปากว่า แม่ชม้อย กับพวกรวม 10 คน ผู้ต้องหา ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และฝ่าฝืนพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

คดีดังกล่าวเป็นคดีความผิดพลาดทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงจากการระดมเงินจากประชาชนที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2520-2528 โดยการระดมเงินจากประชาชนในรูปการเล่นแชร์น้ำมัน ซึ่งนางชม้อย ทิพย์โส ได้คิดค้นขึ้น มีผู้เสียหายจำนวน 13,248 คน รวมให้กู้ยืมเงินไปทั้งสิ้น 23,519 ครั้ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,043,997,795 บาท และผู้เสียหายที่ให้กู้ยืมเงินภายหลังพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ประกาศใช้บังคับ (ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2528) เป็นผู้เสียหายจำนวน 2,983 คน รวมให้กู้ยืมเงินไปทั้งสิ้น 3,641 ครั้ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 510,584,645 บาท แต่ท้ายที่สุดแม่ชม้อยติดคุกเพียง 7 ปีและมีผู้เสียหายที่ยังไม่ได้เงินคืนอีกจำนวนมาก

ทั้งนี้กรณี "แชร์แม่มณี" ยอดผู้เสียหาย (2 พ.ย.) ลงทะเบียนผ่านคิวอาร์โค้ดของ "ดีเอสไอ" แล้ว 3,428 คน มูลค่าความเสียหาย 984,865,471.45 บาท แต่ทรัพย์สินที่ตรวจพบ รวมมูลค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ และรถยนต์ เพียง 22.1 ล้านบาทเท่านั้น

น่าสนใจว่า ความเสียหายที่ต้องชดใช้กว่า 962 ล้าน ถูกซุกซ่อนหรือฝากใครไว้??

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-'แม่มณี' โป๊ะแตก! เปิดร้านทองปลอม สร้างโปรไฟล์อวดลูกข่าย
-ยอดเหยื่อ 'แชร์แม่มณี' พุ่งเฉียด 3 พันราย เสียหายกว่า 860 ล้าน
-คืบหน้า! เร่งล่า 'แม่มณี' แชร์ร้อยล้าน ศาลอนุมัติจับแล้ว
-'ซุปตาร์' เกือบซวย! บทเรียน 'แม่มณี' แชร์หมื่นล้าน?