'ฟีฟ่า' หนุนอาเซียนเจ้าภาพฟุตบอลโลก2034

'ฟีฟ่า' หนุนอาเซียนเจ้าภาพฟุตบอลโลก2034

"ฟีฟ่า" หนุนอาเซียนเจ้าภาพฟุตบอลโลก2034

วันนี้ (วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562) เวลา 17.00 น. ณ ห้อง Sapphire 205 – 206 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงกลาโหม และผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้าร่วม การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 แบบเต็มคณะ (Plenary) ภายหลังเสร็จสิ้น นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ว่า โอกาสนี้ผู้นำได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม MOU ระหว่างประธานฟีฟ่ากับเลขาธิการอาเซียนเพื่อส่งเสริมฟุตบอลในอาเซียน และสนับสนุนความปรารถนาร่วมกันของอาเซียนที่จะเสนอตัวร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2034 โดยมีผู้นาอาเซียนเป็นสักขีพยาน
การประชุมแบบเต็มคณะ (Plenary) จัดขึ้นเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือกับภายนอกของอาเซียน และการกำหนดทิศทางในอนาคต แลกเปลี่ยนทัศนะต่อประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาคและระหว่างประเทศ รวมถึงเพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้ เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามแนวคิดหลักของการเป็นประธาน อาเซียนของไทย “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ เลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมประชุม

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับ และยินดีที่ได้พบทุกท่านอีกครั้ง ย้ำถึงแนวคิดหลักในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ประเทศไทยประสงค์ใช้โอกาสนี้แลกเปลี่ยนมุมมอง วิสัยทัศน์ เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางอาเซียน โดยนายกรัฐมนตรีได้นำผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 ไปหารือกับผู้นำ G20 ที่นครโอซากา และได้นำประเด็นความร่วมมือส่งเสริมความยั่งยืนในมิติต่างๆ ไปหาหรือต่อ ในช่วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก ทั้งหมดนี้เพื่อสนับสนุนประชาคมอาเซียน ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และมองไปสู่อนาคต นายกรัฐมนตรีเชื่อว่าความเป็นหุ้นส่วนและการเป็นมิตรกับประเทศต่างๆ นอกภูมิภาคจะช่วยประชาคมอาเซียนให้ขับเคลื่อนแนวคิดหลักของอาเซียนเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

157270914691

ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนมุมมองในสามประเด็นที่อาเซียนควรร่วมกันผลักดัน 1. การส่งเสริมความมั่นคงที่ยังยืน เพื่อรักษาและเพิ่มพูนสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค อาเซียนควรเน้นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในระดับยุทธศาสตร์ ควรขยายผลจากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ให้แพร่หลายออกไปในวงกว้าง 2. การเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ความตกลง RCEP คือหัวใจสำคัญจะช่วยรองรับผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน เพิ่มประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุนของอาเซียนและภูมิภาค 3. การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นประเด็นสำคัญทางยุทธศาสตร์ของอาเซียนและเป็นพื้นฐานสำคัญของการเติบโตในอนาคต อาเซียนมีผลการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในหลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจัดตั้งเครือข่ายอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาการประมง IUU การแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ครอบคลุมทุกช่วงวัย

ทั้งนี้ ประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอาเซียนต้องกระชับความร่วมมือกับหุ้นส่วนนอกภูมิภาคอย่างมียุทธศาสตร์เพื่อให้ความร่วมมือเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และสมดุลเพื่อประโยชน์สูงสุด อาเซียนจึงควรเตรียมความพร้อมให้ดีสำหรับการประชุมกับประเทศคู่เจรจาที่เกี่ยวข้องที่กำลังจะเกิดขึ้น และการประชุมสุดยอดอาเซียนสาธารณรัฐเกาหลีสมัยพิเศษครั้งที่สามในปลายเดือนนี้

157270920346

ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีเสนอความเห็นว่าอาเซียนควรมีบทบาทให้ความช่วยเหลือเมียนมาในการแก้ปัญหาด้านมนุษยธรรมในรัฐยะไข่ผ่านเลขาธิการอาเซียนร่วมมือกับมิตรประเทศที่เมียนมามีความสะดวกใจเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นเฉพาะ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณการสนับสนุนการเป็นประธานอาเซียนของไทยในปีนี้ส่งผลให้อาเซียนได้ต่อยอด การดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก และประขาชนในอาเซียน

อนึ่ง ที่ประชุมได้รับรองให้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียนออสเตรเลียเป็นประจำทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2563 ที่เวียดนาม และจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนิวซีแลนด์ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 36 ที่เมืองดานังในปี 2563 ตลอดจนภายหลังการประชุมผู้นำได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม MOU ระหว่างประธานฟีฟ่ากับเลขาธิการอาเซียนเพื่อส่งเสริมฟุตบอลในอาเซียน และสนับสนุนความปรารถนาร่วมกันของอาเซียนที่จะเสนอตัวร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2034 โดยมีผู้นาอาเซียนเป็นสักขีพยาน


สำหรับรายละเอียดเจ้าภาพหุตบอลโลกจองอาเซียนที่ประชุมเจ้าหน้าที่กีฬาอาวุโส (Senior Officials Meeting on Sports: SOMS )ครั้งที่ 8 ณ กรุงเนปยีดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในเดือนตุลาคม 2561 ได้รับแจ้งจากนาย Fank Grothanus ผู้แทนสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ FIFA ว่า FIFA สนใจที่จะจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับอาเซียน เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านกีฬาฟุตบอลในอาเซียนเพื่อไปสู่ระดับมาตรฐานสากล

โดยนาง Fatima Samoura เลขาธิการ FIFA ได้มีหนังสือถึงเลขาธิการอาเซียน ลงวันที่ 25 มกราคม 2562 เสนอให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ FIFA โดยการจัดทำ MoU ซึ่งไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความร่วมมือในอนาคต โดยสำนักเลขาธิการอาเซียน ได้หารือในเบื้องต้นกับ FIFA เพื่อกำหนดสาขาความร่วมมือที่จะระบุใน MoU ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินการด้านกีฬาอาเซียนค.ศ. 2016 ถึง 2020 และ FIFA 2.0: The Vision for the Future and UNESCO’s Kazan Action Plan ด้วยต่อมานาย Kung Phoak รองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนได้มีหนังสือถึง SOMS ลงวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2019 เพื่อสอบถามข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำ MoU กับ FIFA ได้ ซึ่ง SOMSไม่มีขัดข้องใดๆ

รองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมีหนังสือถึงเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประเทศสมาชิกอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ลงวันที่ 9 กันยายน 2562 นำส่งร่าง MoU ระหว่างอาเซียนกับ FIFA ซึ่งทาง SOMS ให้ความเห็นชอบโดยวิธี ad-referendum แล้วเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 เพื่อขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาและดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในและมอบหมายให้เลขาธิการอาเซียนลงนามใน MoU ร่วมกับประธาน FIFA โดยคาดหวังว่าจะสามารถลงนามได้ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนครั้งที่ 5 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในเดือนตุลาคม 2562 หรือในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ณ กรุงเทพมหานคร ในเดือนพฤศจิกายน 2562

โดยร่าง MoU ดังกล่าวกำหนดสาขาความร่วมมือ 4 ด้านได้แก่ 1) Sports Integrity 2) Sports for Development 3) FIFA’s Football for Schools Programme และ 4) Professional Capacity Building โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กีฬาฟุตบอลเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและวิถีสุขภาพที่ดีและสนับสนุนให้ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ที่ประชุม ครม.ของไทย มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอคือเห็นชอบร่าง MoU และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองร่าง MoU ดังกล่าวร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน

ในช่วงการประชุม AMMS ครั้งที่ 5 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 7 ถึง 9 ตุลาคม 2562 ณ กรุงมะนิลา รายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการภายในของประเทศสมาชิกอาเซียนว่ามี 3 ประเทศที่ให้การรับรองเอ็มโออยู่แล้วได้แก่ อินโดนิเซีย สปป.ลาว และประเทศไทย และขอให้ประเทศสมาชิกที่เหลือเร่งรัดการดำเนินกระบวนการภายในโดยคาดหวังว่าเลขาธิการอาเซียนจะสามารถลงนาม MoU ร่วมกับประธาน FIFA ได้ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35