“สภาวิศวกร” หวั่น พ.ร.บ.อีอีซี เปิดช่องต่างชาติเลี่ยงรับผิด

“สภาวิศวกร” หวั่น พ.ร.บ.อีอีซี เปิดช่องต่างชาติเลี่ยงรับผิด

สภาวิศวกร ห่วง พ.ร.บ.อีอีซี เปิดช่องวิศวกรต่างชาติหลีกเลี่ยงกฎหมายไทย ไม่รับผิดชอบความเสียหาย แนะรัฐเร่งปิดช่องโหว่ กำหนดสัดส่วนการใช้วิศวกรไทย

นายวัลลภ รุ่งกิจวรเสถียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาวิศวกร และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยระกว่างการเสวนานาในหัวข้อ “โครงการเมกะโปรเจกต์ภาครัฐ วิศวกรไทยได้หรือเสีย” ว่า พร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2561 มาตรา 59 และมาตรา 54 , 55 เปิดช่องให้ต่างชาติมาทำงานได้ และได้รับยกเว้นหลายเรื่อง ซึ่งเปิดกว้างมากและกฎหมายนี้มีผลระยะยาว หากวิศวกรต่างชาติได้ใบอนุญาตจากประเทศตัวเองแล้วไม่ต้องมาขอใบอนุญาตที่ไทย

ทั้งนี้ อีอีซี เป็นโครงการต้นแบบที่จะขยายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ซึ่งกังวลว่าในพื้นที่เหล่านี้วิศวกรต่างชาติจะได้สิทธิพิเศษเช่นกัน ซึ่งยังประเมินไม่ได้ว่าจะกระทบกับวิศวกรไทยแค่ไหน โดยภาครัฐควรกำหนดให้นำเข้าวิศวกรในสาขาที่ไทยยังไม่เชี่ยวชาญ จากนั้นต้องฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้วิศวกรไทย เพื่อให้วิศวกรไทยเข้ามาทำงานและให้วิศวกรต่างชาติกลับประเทศ 

สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จะมีภาคเอกชนไทยเข้ามาร่วมลงทุน ดังนั้นจึงใช้วิศวกรไทยเป็นหลัก แต่จะนำเข้าวิศวกรสาขาใหม่ที่ไทยยังไม่มีความรู้ จึงอาจไม่กระทบวิศวกรไทยนัก

แนะคุมวิศวกรต่างชาติ

นายวัลลภ กล่าวว่า สิ่งที่เป็นห่วง คือ ความรับผิดชอบของวิศวกรตามกฎหมายของไทย ที่กำหนดให้วิศวกรที่เซ็นต์ชื่อในโครงการต่างๆจะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นหากเป็นความผิดที่มาจากการออกแบบ การควบคุมการก่อสร้างตลอดอายุของสิ่งปลูกสร้าง หากพังทลายหรือสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน จะต้องรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด แต่หากเป็นวิศวกรต่างชาติสามารถบินกลับประเทศหนีไปได้ง่าย ซึ่งในต่างประเทศก็เคยเกิดกรณีแบบนี้มาแล้ว ดังนั้นต้องวางมาตรการป้องกันปัญหาเหล่านี้

โดยในขณะนี้ วิศวกรไทยสามารถสร้างโครงการรถไฟ และรถไฟฟ้าทุกชนิดที่มีความเร็วต่ำกว่า 160 กม./ชม.ส่วนรถไฟความเร็วสูงระดับ 250 กม./ชม.ขึ้นไป ยังไม่เชี่ยวชาญต้องรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งรถไฟความเร็วสูงช่วงดอนเมือง–นครราชสีมา เหมาะสมแล้วที่จะให้ต่างชาติทำ แต่ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย ควรให้วิศวกรไทยออกแบบและใช้วัสดุไทย

นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า การลงทุนขนาดใหญ่มีหลายโครงการ แต่ที่ผ่านมาพบข้อจำกัดในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม ทั้งในขั้นตอนการออกแบบ การก่อสร้าง และการผลิตแก่วิศวกรไทย อันเป็นผลให้ประเทศไทย มีความจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนำเข้าสิ่งก่อสร้างจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ การโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศระยะเร่งด่วน 8 ปี (2558-2565) มีจำนวนถึง 44 โครงการ วงเงิน 1.974 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาด้านการขนส่งทางถนน ระบบราง ทางน้ำ และทางอากาศ โดยเฉพาะการลงทุนขนาดใหญ่ในอีอีซีที่จะมีอีกหลายโครงการ

157244275875

157244267452