เมกาซิตี้ ชู ‘ฮับ’กรุงเทพฯตะวันออก ดึง‘นักลงทุน’หนุนสร้างเมือง

เมกาซิตี้ ชู ‘ฮับ’กรุงเทพฯตะวันออก ดึง‘นักลงทุน’หนุนสร้างเมือง

การเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคในเขตกรุงเทพฯ ตะวันออกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และถนนสายหลักที่จะเชื่อมกรุงเทพฯ เข้ากับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ทำให้ “ย่านบางนา” ถูกยกระดับสู่พื้นที่ยุทธศาสตร์ 

ขับเคลื่อนการเติบโตทางด้านต่างๆ เอื้อต่อ เมกาซิตี้ มิกซ์ยูสโปรเจคที่ปักหลักอยู่บนถนนบางนา-ตราด เร่งแผนสร้างเมืองขนาดใหญ่ รองรับการใช้ชีวิตที่ครบวงจร!! 

ปพิตชญา สุวรรณดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์การค้าเมกาบางนา  กล่าวว่า  ช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ย่านบางนาได้พลิกจากพื้นที่พักอาศัยสู่ “ฮับ” ยุทธศาสตร์ ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ที่มีผู้พัฒนาอสังหาฯ เข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก  โดย เมกาซิตี้ นับเป็นหนึ่งในทำเลศักยภาพที่ตอบโจทย์การลงทุน!! ภายใต้จุดเด่นใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ให้ผลตอบแทนที่สูงได้ 

ทั้งนี้ เมกาซิตี้ เปิดกว้างรูปแบบการลงทุนในโครงการเมกาซิตี้ ทั้งการซื้อที่ดิน การเช่าระยะยาว และการพัฒนาโครงการตามความต้องการของนักลงทุนในฐานะพันธมิตรขับเคลื่อนการเติบโตไปด้วยกัน

เราเปิดกว้างนักลงทุนและพันธมิตรธุรกิจ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่เชื่อว่ายังมีอีกหลายองค์ประกอบที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ของเมกาซิตี้ให้เป็นจุดนัดพบที่ยิ่งใหญ่ และครบวงจร"

หากพิจารณาองค์ประกอบของ เมกาซิตี้ มี ศูนย์การค้าเมกาบางนา เป็นแม่เหล็กหลัก!! ในการดึงดูดผู้คนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง คาดมีผู้มาใช้บริการ 4.5 ล้านคน ภายในปี 2562 นี้ เพิ่มขึ้นจาก 3.8 ล้านคนในปี 2561 ขณะที่ยอดการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อใบเสร็จเพิ่มสูงขึ้นจาก 1,000 บาทเมื่อปี 2560 ขยับเป็น 3,500 บาทต่อใบเสร็จในปีนี้ 

นอกจากนี้ พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวของลูกค้าเมกาบางนาอยู่ที่ 150,000 บาทต่อครอบครัว ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง!!  และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง

เมกาบางนา มีแผนรีโนเวทศูนย์การค้าทุกๆ 3-4 ปี เพื่อความทันสมัย สามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดี น่าประทับใจ พร้อมปรับปรุงการจราจร มีการสร้างถนนเพิ่มสภาพคล่องการจราจรและเตรียมพร้อมรองรับการพัฒนาโครงการเมกาซิตี้ในระยะยาว โดยอาคารจอดรถใหม่ 2,000 คันจะแล้วเสร็จในปี 2563  รวมถึงสะพานกลับรถบนถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 7 เชื่อมเข้ากับโครงสร้างทางยกระดับบูรพาวิถี เป็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงหลักในเส้นทางสายตะวันออก เมื่อเปิดใช้สะพานจะช่วยเพิ่มผู้เข้ามาใช้บริการในเมกาบางนามากขึ้น

 

 

การลงทุนในเมกาซิตี้ ครอบคลุมพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย สำนักงาน โรงเรียน และสวนสาธารณะ โดยมีศูนย์การค้าเมกาบางนาเป็นศูนย์กลางของทุกไลฟ์สไตล์ ทั้งการชอปปิง รับประทานอาหาร และกิจกรรมสันทนาการต่างๆ สำหรับทุกเจเนอเรชั่น เชื่อว่าตอบโจทย์นักลงทุนได้ครบถ้วน จากการเติบโตทางธุรกิจของย่านบางนา ศักยภาพของทำเลที่ตั้ง โครงสร้างสาธารณูปโภค และกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ

ก่อนหน้านี้เมกาซิตี้ได้พันธมิตร อารียา พรอพเพอร์ตี้ พัฒนาคอนโดมิเนียมไฮไรซ์ 2 โครงการ บนที่ดินกว่า 7 ไร่ ชูจุดขาย คอนโดในห้าง แห่งแรกในไทย ได้แก่ A space mega จำนวน 1,328 ยูนิต มูลค่า 2,800 ล้านบาท เปิดขายเมื่อปี 2560 มีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติสนใจอย่างมาก สามารถปิดการขายทั้งโครงการได้ตั้งแต่รอบวีวีไอพี และ A space mega 2 เปิดตัวปลายปี 2561 ได้ Sold Out ตั้งแต่วันพรีเซล มีจำนวน 1,001 ยูนิต มูลค่าโครงการ 2,458 ล้านบาท 

 

สำหรับ “เมกาบางนา เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2555  เป็นศูนย์การค้าแนวราบใหญ่ที่สุดในอาเซียน ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 12,000 ล้านบาท ในปี 2560 ได้ประกาศแผนพัฒนา เมกาซิตี้  มิกซ์ยูสมูลค่ากว่า 67,000 ล้านบท โดยเมกาบางนาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง!! และแบ่งการพัฒนาเป็นหลายเฟส  

ที่ดินกว่า 400 ไร่ของเมกาซิตี้ ปัจจุบันใช้ไปแล้ว 250 ไร่ เป็นพื้นที่ของเมกาบางนา 200 ไร่ และส่วนต่อขยายต่างๆ ได้แก่ โซนเมกา ฟู้ดวอล์ค ศูนย์รวมร้านอาหารกว่า 40 ร้าน ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ และอาคารที่จอดรถ 2,000 คัน โซนเมกาสมาร์ทคิดส์โรงเรียนเสริมทักษะความรู้สำหรับเด็ก สวนสาธารณะเมกาพาร์ค โรงเรียนประถมศึกษานานาชาติดิษยะศริน กรุงเทพ ซึ่งเป็นเครือเดียวกับโรงเรียน ดิ อเมริกัน สคูล ออฟ แบงค็อก และเดอะ มูฟเม้นท์เพลย์กราวนด์ โดยมีพื้นที่อีก 200 ไร่ สำหรับการพัฒนาในโปรเจคเมกาซิตี้

โดยเฟสต่อไป! คือการพัฒนาโรงแรมและอาคารสำนักงาน คาดมีความชัดเจนในช่วงต้นปี 2563 รวมทั้งวางแนวคิดการหาองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าและเสริมศักยภาพของ เมกาซิตี้ให้ครบวงจรยิ่งขึ้น