FLR 349 สู่แพลตฟอร์ม จัดการเศรษฐกิจสีเขียว

FLR 349 สู่แพลตฟอร์ม จัดการเศรษฐกิจสีเขียว

จากกองทุน FLR349 ช่วยเหลือเกษตรดูแลรักษาป่าแทนพืชเชิงเดียว ก้าวเข้าสู่ธุรกิจเพื่อสังคม ที่มีแพลตฟอร์มบริหารจัดการผลผลิต พร้อมมีระบบประเมินผลสิ่งแวดล้อมอย่างรูปธรรมเพื่อเชื่อมต่อกับงบ CSR จากองค์กรธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจสีเขียว

วิกฤติป่าเสื่อมโทรม พื้นที่สีเขียวถูกทำลายเป็นปัญหาครอบคลุมกว่า 7 ล้านไร่ในพื้นที่ภาคเหนือ ที่หลายองค์ตะหนักดีว่าธุรกิจและชุมชน ประเทศเติบโตไปเช่นนี้โดยเพิกเฉยต่อภัยด้านสิ่งแวดล้มที่ไม่นานก็จะย้อนกลับมาเป็นปัญหาของภาคธุรกิจและสังคม หลายหน่วยงานจึงช่วยกันค้นหาโมเดลที่ยั่งยืน ปลดล็อกปัญหาหนี้สินชุมชนคู่กับเศรษฐกิจสีเขียวได้

โมเดล กองทุนฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าและอาหารยั่งยืน หรือ “FLR349” ที่น้อมนำศาสตร์พระราชา ของการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 3 อย่าง เพื่อสร้างห่วงโซ่อาหาร พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ มีอาชีพมั่นคง คู่กับการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ ทางเลือกโมเดลนำร่องนำเสนอให้ชาวบ้านปรับเปลี่ยนทัศนคติที่เคยชินกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมสู่ดูแลต้นไม้ ปลูกพืชอาหาร และหารายได้ ถือเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาป่าต้นน้ำเสื่อมโทรมอย่างครบวงจร ปลดล็อกปัญหาในทุกมิติ ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วม ให้ชุมชนมีบทบาทดูแลรักษาป่า

จึงเกิดเป็นความร่วมมือพาคีเครือข่ายระหว่างองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย WWF มูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาสร้างความร่วมมือห่วงโซ่คุณค่าร่วมกับภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม รวมถึงชุมชน ร่วมกันนำโมเดล FLR349 สร้างเครือข่ายสนับสนุน โดยเริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาบนพื้นที่นำร่องโครงการ อ.แม่แจ่ม มีเกษตรกรเข้าร่วม 67 ครัวเรือน บนพื้นที่ 198 ไร่ ขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ แทนที่พืชเชิงเดี่ยว จนปัจจุบันมีการขยายเครือข่ายเข้าร่วมมากขึ้น

รัฐภัทร์ ศรีจันทร์กลัด เลขาธิการกองทุน FLR349 เปิดเผยว่า แนวทางของกองทุน FLR349 ยืนอยู่บนหลักการที่จะทำงานสร้างเครือข่าย รักษาป่าด้วยการส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชน ได้อยู่ร่วมกับป่าได้ โดยการตั้งกองทุนเข้าไปให้ความรู้การดูแลป่าภายใต้ศาสตร์พระราชา พร้อมกันตั้งกองทุนสนับสนุนการดูแลรักษาป่าให้ชาวบ้าน 2,000 บาทต่อไร่ ไม่เกินครอบครัวละ 5 ไร่ หรือ เฉลี่ยปีละ 10,000 บาทต่อครอบครัว โดยมีการสนับสนุต่อเนื่อง 6 ปี นำร่องไปแล้วในหมู่บ้าน บ้านแม่ขี้มูก ตำบลบ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยมีการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตั้งกองทุนการดำเนินงานให้กับครอบครัวนำร่อง 7 ครอบครัว พื้นที่ 35 ไร่ มีการขยายพื้นที่สร้างเครือข่ายส่งเสริมการการปลูกผักอินทรีย์ ส่งให้กับโรงเรียนและโรงพยาบาล

หลักการของกองทุน FLR 349 ได้น้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการพึ่งพาตัวเองได้เมื่อปลูกป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มีอาหาร มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างรายได้เมื่อผลผลิตดีขึ้นในระยะยาวก็ขายได้ มีต้นทุนชีวิตไม่ติดลบ ขณะที่อาชีพเดิมของชุมชน ปลูกข้าวโพด แต่ต้นทุนติดลบ ต้องซื้ออาหารกิน และรายได้ไม่เพียงพอกับต้นทุน ทั้งปุ๋ย พื้นที่เพาะปลูก มีต้นทุนชีวิตและทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาทต่อไร่” เขายืนยันถึงผลเสียของการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่คิด

ปัจจุบันกองทุนFLR349 ขึ้นสู่ปีที่มีการขยายพื้นที่ได้กว้างขึ้นเพ่อเป้าหมายเพิ่ม 1,600 ครอบครัว พื้นที่ 16,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดกว่า 50,000 ไร่ เป็นการปลูกพืชอินทรีย์ ภายใต้ศาสตร์พระราชา ต.บ้านทัพ ภายใน 10 ปี เพื่อเป็นต้นแบบโมเดลความสำเร็จของการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม ไปทั่วพื้นที่ภาคเหนือกว่า 7 ล้านไร่

โครงการมีการขยายวง ซึ่งเพิ่มเครือข่ายภาคธุรกิจเริ่มเข้ามาให้ความสนใจอาทิ ไทยเบฟเวอเรจ เซ็นทรัล อีกทั้งยังมีแผนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างพัฒนาแพลตฟอร์มการดำเนินงาน ตลอดจนจัดตั้งเป็นบริษัทวิสาหกิจชุมชนเพื่อมีการบริหารจัดการรับซื้อและกระจายผลผลิตจากชุมชน ที่จะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้มีการวางระบบเปิดตัวการจัดการวัตถุดิบเชื่อมต่อกับภาคธุรกิจที่จะเข้ามารับซื้อ รวมถึงมีการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่จะมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มในต้นเดือนหน้า(พ.ย. 2562)

พอเริ่มเซ็ทระบบแล้วเริ่มโรดโชว์กลุ่มธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะเชื่อว่าภาคธุรกิจเห็นทิศทางเดียวกัน ที่ผ่านมาหลายองค์กรใช้งบประมาณด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่อยู่ในรูปของการจัดอีเวนท์ ครั้งเดียวมากกว่าการติดตามแบบเข้าเชื่อมต่อพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน หลายองค์กรมีงบปลูกป่าเหมือนกันรวมกันแต่ละองค์กรปีละไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท แต่กลับไม่ได้เพิ่มพื้นที่ป่า แต่โครงการนี้หากมีการสนับสนุนจะเห็นการตรวจสอบต้นไม้ ป่า รวมถึงผลการดำเนินงานที่มีการตรวจสอบย้อนหลังได้ชัดเจน จึงเป็นแรงจูงใจให้ภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองทุน

โดยในพื้นที่นำร่องจังหวัดเชียงใหม่และน่าน ในปี้นี้มีความคืบหน้าเริ่มปลูกต้นไม้ไปแล้ว 83,500 ต้น มีพืช 17 ชนิด หรือป่า 3 อย่างคือไม้ใช้สอย ไม้ก่อสร้าง และไม้กินได้ ซึ่งจะสร้างประโยชน์ 4 อย่างคือ พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น หรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศนำไปใช้เป็นโมเดลฟื้นฟูดินสร้างป่า

ในขั้นตตอนซึ่งเราต้องระดมทุนจำนวนมากในการฟื้นแก้ไขปัญหาป่าต้นน้ำเสื่อมโทรมในพื้นที่เป้าหมายเริ่มต้นจากพื้นที่ต้นแบบ 50,000 ไร่ และสร้งผลกระทบเชิงบวกทำให้พื้นที่อื่นๆ เรียนรู้โมเดลและนำไปปรับใช้ในพื้นที่เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับโลก” นายรัฐภัทร์ ศรีจันทร์กลัด เลขาธิการกองทุน FLR349 กล่าว 

 

พลาย ภิรมย์ ผู้จัดการโครงการ WWF-Thailand กล่าวว่า การสร้างเครือข่ายกองทุนFLR349 ยังถือเป็นการยกระดับการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุง การประเมินและวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ให้พาคีเครือข่ายได้ติดตาม ตั้งแต่จำนวนต้นไม้ การดูแลรักษาป่า การเจริญเติบโตของต้นไม้ การวัดผลในการสร้างรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงอัตราการดูดซับคาร์บอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะปรากฏชัดเจนบนแพลตฟอร์ม ซึ่งลงทุนระบบมูลค่า 6 ล้านบาท เพื่อเป็นการสร้างเกณฑ์มาตรฐานที่มีการรายงานผลอย่างชัดเจน

“โมเดลกองทุน FLR349 ตั้งเป้าหมายในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 50,000 ไร่ ภายในระยะเวลา 10 ปี ส่งเสริมให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่และรายได้ที่มากขึ้น 40 %จากเดิม ผ่านการทำเกษตรอินทรีย์ สร้างพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้น พร้อมพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารที่ยั่งยืนและระบบตรวจสอบย้อนกลับ นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาและการสร้างภูมิคุ้มกันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนที่สุดอีกด้วย”

พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวว่า กลุ่มเซ็นทรัล มีเจตนารมณ์และมีความภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิต และสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ซึ่งโครงการกองทุนฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าและอาหารยั่งยืน (FLR349 Fund) เป็นอีกหนึ่งในโครงการที่ภาคธุรกิจให้ความสนใจในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการฟื้นคืนป่าต้นน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ และสร้างการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น