สัญญาณเตือน 8 ข้อ  แนวโน้มภาวะเลิกจ้าง

ประเทศไทยมีสถานประกอบการ 7.37 แสนราย (มิ.ย.2562) โดยส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็ก มีสัดส่วนแรงงาน 54% กิจการขนาดกลาง 16.4% และกิจการขนาดใหญ 29.6% สถานประกอบการภาคเอกชน

นอกจากมียังมีภาคการศึกษามีการจ้างงาน 21-22 ล้านคน ด้านการจ้างงานช่วงครึ่งปีแรกปี2562 มีผู้ว่างงาน 4.36 แสนคน สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีที่ผ่านมา

ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาส 2 ปีนี้ เศรษฐกิจขยายตัวเพียง 2.3% คาดว่าทั้งปีอาจขยายตัว 2.8-3.0% จนรัฐบาลต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 3.1 แสนล้านบาท 

ปรากฏการณ์ ที่มีต่อภาคแรงงาน คือ กําลังการผลิตเฉลี่ยของอุตสาหกรรมลดลงเหลือ 65% โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่อยู่ในโซ่อุปทานกับจีน เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสถานการณ์ส่งออกและการบริโภค เริ่มเห็นสัญญาณทางลบ เช่น กรณีการเลิกกิจการเดือน มิ.ย.ปีนี้ เทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นถึง 12% แต่เมื่อเปรียบเทียบ ม.ค.–มิ.ย.2562 มีธุรกิจเลิกกิจการ 6,667 แห่ง เพิ่มขึ้น 6%

ผลกระทบต่อแรงงานเริ่มเห็นสัญญาณการเลิกจ้างชัดเจน ล่าสุดปลายเดือน ก.ย.นี้ บริษัทเอแพ็ก เซอร์คิต ไทยแลนด์ ในนิคมอุตสาหกรรม จ.สมุทรสาคร ปิดกิจการเลิกจ้าง และมีแนวโน้มจะเห็นอีก โดยเฉพาะใน จ.สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าโลกทําให้คําสั่งซื้อลด

สัญญาณการเลิกจ้างจะเริ่มจากมาตรการขนาดเบาไปจนถึงการให้ออกจากงานด้วยวิธีการต่างๆ เช่น 

1.เริ่มไม่รับพนักงานคนใหม่แทนตําแหน่งที่ว่างลง

2.ใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรออโตเมชั่น

3.เลิกใช้บริการเอาท์ ซอร์สที่เกี่ยวกับแรงงาน

4.เริ่มลดค่าล่วงเวลา (โอที) 

5.การลดชั่วโมงการทํางานหรือลดกะ 

6.การปิดไลน์การผลิตหรือปิดสาขาที่ไม่จําเป็น

7.การลดแรงงานกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงทดลองงานไม่ถึง 4 เดือน

8.มีโครงการเกษียณก่อนเวลา หรือสมัครใจลาออกแรงงานที่มีความเสี่ยง เช่น อายุ 40 ปีขึ้นไปหรือเป็นแรงงานที่ไม่ผ่านผลการประเมิน

ความเสี่ยงของแรงงานภายใต้ความไม่แน่นอนปัจจัยภายนอกเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโลกอยู่ในวัฏจักรขาลง ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีในการฟื้นตัว ขณะที่เศรษฐกิจของไทยผูกพันกับการค้าระหว่างประเทศสูงมาก เมื่อภาคส่งออกชะลอตัวไปจนถึงติดลบ ทําให้กระทบทั้งภาคการผลิต ภาคบริการและภาคเกษตร

  • ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาดแรงงาน 

ประการแรก การเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่นําเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์อัจฉริยะ ตลอดจนการเปลี่ยนระบบการผลิตไปสูดิจิทัลลีนออโตเมชั่น ซึ่งจะทําใหการจ้างงานลดลง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

ประการที่สอง ไทยต้องไปสู่อุตสาหกรรมออโตเมชั่นและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ตัวเลขขอส่งเสริมการลงทุนในชวง 2 ปีที่ผ่านมา 60% ลงทุนในอีอีซี ในอุตสาหกรรมที่เป็นซุปเปอร์คลัสเตอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกสอัจฉริยะ ทั้งการลงทุนใหมเน้นเทคโนโลยีชั้นสูงทําให้แนวโน้มการจ้างงานลดน้อยลง 

ประการที่สาม เศรษฐกิจโลกอยู่ในวัฏจักรชะลอตัวทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น แม้แต่จีนการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 20 ปี

จากสภาวการณ์ดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อตลาดแรงงานไทย ทำให้คนไทยมีงานทำลดลงค่อนข้างสูง การวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลของแทนเพาเวอร์ กรุ๊ป ระบุว่าตำแหน่งงานใน 2 ปี ข้างหน้า อาจมีความเสี่ยงจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่มาทดแทนแรงงาน ส่วนงานในภาคการผลิตอาจเพิ่มขึ้น 5% แต่เป็นงานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกสชั้นสูงและหุ่นยนต์

การส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีจะต้องควบคู่ไปกับเพิ่มทักษะแรงงาน เพื่อให้แรงงานกลุ่มนี้ผ่านโจทย์ที่ยากนี้ไปได้

คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- นายกฯ กล่อม 'สภาฯ' ผ่าน 'ร่างพ.ร.บ.งบฯ63' 3.2ล้านล้าน
- '7 ข้อควรรู้' งบประมาณ ปี 2563
- 'ผู้นำฝ่ายค้าน' จี้ นำร่างพ.ร.บ.งบฯ 63 ทบทวนใหม่
- 'ฝ่ายค้าน-รัฐบาล' อัด ร่างพ.ร.บ.งบฯ 63 ไม่ตอบโจทย์วิกฤตศก.