‘ผบ.ตร.’ ห่วงใยผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางระบบคอมพิวเตอร์

‘ผบ.ตร.’ ห่วงใยผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางระบบคอมพิวเตอร์

“ผบ.ตร.” เตือนก่อนทำธุรกรรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรวจสอบข้อมูลดีให้ดี กำชับทุกหน่วยปราบปราม เร่งจับกุมกลุ่มมิจฉาชีพดำเนินคดีตามกฎหมาย เผยสถิติปี 2561-2562 ผู้เสียหายแจ้งความกว่า 5 พันราย สามารถจับผู้กระทำผิดได้ 446 ราย

เมื่อวันที่ 25 ..62  พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีการหลอกลวงในรูปแบบผ่านระบบออนไลน์ อาทิเช่น การฟิชชิ่ง หรือ ปลอมข้อมูลให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ทำให้ได้รับความเสียหาย ในห้วงที่ผ่านมา ว่าขอเรียนว่าในเบื้องต้นนั้น การ Phishing คือคำที่ใช้เรียกเทคนิคการหลอกลวงโดยใช้อีเมลหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือสร้างความเสียหายในด้านอื่น เช่น ด้านการเงิน การลงทุน เป็นต้น

สืบเนื่องมาจากในยุคปัจจุบันมีการเข้าถึงและใช้เครื่องมือสื่อสาร แอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านระบบโซเชียลกันได้โดยง่าย รวมทั้งการติดต่อสื่อสารและสนทนานั้นอาจจะขาดการตรวจสอบที่ดี ความถูกต้องของบุคคลที่พูดคุยด้วย หรือแม้กระทั่งในการลงทุน ต่างๆ ควรตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือให้ดีเสียก่อน จึงทำให้ตกเป็นเหยื่อได้โดยง่ายอีกทั้งได้รับรายงานจาก บก.ปอท. พบว่าการหลอกลวง หรือ นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีในหลายรูปแบบที่กลุ่มมิจฉาชีพใช้ในการกระทำความผิด อาทิเช่น 1. สร้างเว็บไซต์ ข่าวปลอม ปิดบังตัวตนผู้จดทะเบียนเว็บไซต์ สร้างความเสียหายต่อความมั่นคง-เศรษฐกิจของประเทศ สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชน เช่น ดดีข่าวปลอม ฝุ่นละออง PM 2.5

2. สร้างสื่อออนไลน์ปิดบังตัวตน หรือนำรูปภาพบุคคลอื่นมาเป็นภาพประจำตัว มี เพจเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ วีเค สร้างโพสต์โจมตี สถาบันหมิ่นเบื้องสูง โจมตี รัฐบาล

3. สร้างสื่อออนไลน์ปิดบังตัวตน หรือนำรูปภาพบุคคลอื่นมาเป็นภาพประจำตัว มี เพจเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ วีเค สร้างโพสต์ข่าวปลอม ตัดต่อภาพปลอม มีผู้คนที่ใช้สื่อออนไลน์ที่แสดงตัวตนจริง หลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง แล้วกดแชร์ต่อ

4. สร้างสื่อออนไลน์ปิดบังตัวตน หรือนำรูปภาพบุคคลอื่นมาเป็นภาพประจำตัว มี เพจเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ วีเค นำคลิปวีดีโอ/ภาพลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และประกาศขายคลิปหรือภาพลามก หรือทำให้ผู้ที่ปรากฏในคลิปหรือภาพได้รับความเสียหาย หรือ อ้างว่าเป็นบุคคลใกล้ รู้จักกัน ขอยืมเงิน หรือ ขอความช่วยเหลือ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อแล้วโอนเงินไปให้

ซึ่งที่ผ่านนั้นพลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยสำหรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเหล่านี้ จึงได้มีนโยบายกำชับให้ทุกหน่วย .1-9 , สตม. , บช.ทท. , สันติบาล, บช.. โดย บก.ปอท. เป็นต้น ให้ทำการสืบสวน จับกุม ปราบปรามการกระทำความผิดในลักษณะนี้มาโดยตลอด เพราะถือได้ว่ากลุ่มมิจฉาชีพทำการหลอกลวง สร้างความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านความมั่นคง สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ หรือ ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง เกิดความตื่นตระหนก ผบ.ตร. จึงได้มีคำสั่ง ตร.ที่ 574/62 จัดตั้ง ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ศปอส.ตร.) โดยมอบหมายให้ พล...สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร. เป็นผู้อำนวยการศูนย์ เพื่อดำเนินการปราบปราม จับกุมผู้ที่กระทำความผิดให้มารับโทษตามกฎหมาย พร้อมดำเนินการบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม สร้างความเชื่อมั่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้กับประชาชน นักท่องเที่ยว นักลงทุน และสังคม

พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวต่ออีกว่า โดยในห้วงปี 2561-2562 พบว่ามีสถิติที่ผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์เกี่ยวกับการกระทำความผิดในลักษณะข้างต้น ยอดรวมทั้งสิ้นกว่า 5,918 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 1,100,885,638 บาท อีกทั้งในมิติของการปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดพบว่ามีจำนวน 446 ราย ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมาย

พร้อมกันนี้ขอฝากเตือนประชาชนเกี่ยวกับวิธีป้องกันเกี่ยวการหลอกลวงในรูปแบบฟิชชิ่ง หรืออีเมลหลอกหลวง โดย 1. อย่าหลงเชื่อข้อมูลการโพส หรือลิงค์ที่มาพร้อมกับอีเมลที่ไม่แน่ใจแหล่งที่มา ห้ามเปิดลิงค์แนบอย่างเด็ดขาด 2. ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวใด ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับผู้อื่นหากยังไม่ได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อน 3.หากพบ เพจเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ไลน์ วีเค หรืออีเมลสงสัยติดต่อสอบถามกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่เป็นทางการเสียก่อน 4. ในกรณีหลงเชื่อให้รีบเปลี่ยนรหัสผ่านทันที หรือรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือติดต่อหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ธนาคาร สถาบันทางการเงิน เป็นต้น

ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อมูล เบาะแส หรือ การกระทำความผิด สามาแจ้งได้ที่หมายเลขสายด่วน ศปอส.ตร. 1155 , บก.ปอท. 02-142-2556 และ 02-142-2557 ได้ตลอด 24 ชม.