ทำไมการศึกษาไทย ไม่เดินไปข้างหน้า ?

ทำไมการศึกษาไทย ไม่เดินไปข้างหน้า ?

หลายคนเกิดคำถามที่ว่า "ทำไมการศึกษาไทย ไม่เดินไปข้างหน้า?" เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ธานินทร์ เอื้ออภิธร ชวนมาส่องการศึกษาเยอรมนี กับ แนวคิดดี ๆ ที่น่าเอาอย่าง

จากคำถามที่ว่า “ทำไมการศึกษาไทยไม่เดินไปข้างหน้า?” ธานินทร์ เอื้ออภิธร ผู้บริหารโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมา มีการตั้งคำถามถึงประเด็นนี้เอาไว้มากมายจากหลากมุมมอง ข้อคิด ข้อเสนอแนะ หลั่งไหลอย่างต่อเนื่องในรอบ 10-20 ปีมานี้ ที่สุดแล้วทุกอย่างก็ยังหยุดนิ่ง ณ จุดเดิม มองในด้านร้ายอาจถึงขั้นถอยหลังด้วยซ้ำ ตัวชี้วัดที่บอกได้ดีว่าการศึกษาไทย “ไม่เดินไปข้างหน้า” สักที เมื่อเทียบกับการศึกษาของเพื่อนบ้านในแถบเอเชียด้วยกันเอง และไกลกว่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบว่าปัญหาเกิดขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ 

ด้านปริมาณ บัณฑิตที่ผลิตออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ส่วน ด้านคุณภาพ เสียงสะท้อนพุ่งไปที่ว่าทักษะความสามารถไม่ตรงหรือไม่ถึงระดับที่ต้องการใช้งานปัจจุบันมีบัณฑิตจบใหม่จากทุกมหาวิทยาลัยมากกว่า 1 แสนคนต่อปี อัตราการว่างงานอยู่ที่ 27% ของจำนวนบัณฑิตจบใหม่ซึ่งมีไม่น้อยที่ออกไปทำอาชีพอิสระ ศึกษาต่อและเลือกทำงานที่ไม่ตรงหรือต่ำกว่าวุฒิการศึกษาวันนี้ ลองมองออกไปข้างนอก หาโมเดลที่ใช่เพื่อความหวังว่าการศึกษาไทยจะถึงเวลาเปลี่ยนสักที 

โดยหนึ่งในแนวคิดและกระบวนการทำงานที่ ประเทศเยอรมนี ทำให้เห็นว่าขอแค่เพียงตั้งใจในทุก ๆ การทำงานด้านการศึกษา “ผลลัพธ์” ที่ได้จะมากด้วยคุณค่าเสมอเส้นทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเยอรมนีกำหนดเอาไว้ชัดถึงการเดินไปสู่ The journey for professional มืออาชีพที่สร้างขึ้นนี้เกิดขึ้นได้ในหลายสายอาชีพอยู่ที่เยาวชนจะตัดสินใจเลือกเดินไปในเส้นทางไหน โดยวางโมเดลถึงการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมที่ร่วมกันพัฒนาทักษะให้กับบุคลากรและแน่นอนว่าการพัฒนานั้นต้องสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในภาพรวมด้วยการจัดการศึกษาในประเทศเยอรมนีให้ความสำคัญกับการฟังเสียงของเยาวชนคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก

เมื่อโยนคำถามกับเด็กๆ เหล่านี้ถึงสิ่งที่อยากทำในอนาคต “คุณอยากทำอะไร?”คำตอบที่ได้รับแตกต่างกัน ความความชอบของแต่ละคน “อยากเป็นสไตลิสต์” “ผมก็ไม่รู้ แต่อยากได้ทำงานดี ๆ ในอนาคต” “อยากเป็นแชมป์โอลิมปิก” การฟังเสียงของ “ผู้เรียน” จากนั้นสร้างกลไกการทำงานเป็นตัวเร่งให้ทุกฝันให้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้เยอรมนี การวางรากฐานด้านการศึกษาไว้ตั้งแต่ระดับ Secondary education ระดับมัธยมศึกษา ถึง Tertiary education อุดมศึกษาระบบการศึกษาที่นี่มีความหลากหลายนักเรียนสามารถเลือกเรียนตามความถนัดและความสามารถของตัวเอง

เช่น สายสามัญ หรือที่เรียกว่า Gymnasium มุ่งเน้นการทำ abitur หรือสอบแข่งขันชั้นสูงสุดของระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เพราะเข้าใจว่า เด็กบางคนอาจไม่ชอบเรียนวิชาการแต่ชอบลงมือปฏิบัติจึงเลือกศึกษาต่อในสายเทคนิค หรืออาชีวศึกษาหัวใจสำคัญของระบบการศึกษาในประเทศเยอรมนีอยู่ที่ ระบบ Dualsystem ระบบนี้เป็นการศึกษาทวิภาคีที่เกิดจากความร่วมระหว่างรัฐและเอกชน

โดยมีสาขาอาชีพให้เลือกเรียนตามความสนใจ เช่น งานวิศวกรรมศาสตร์​งานช่างฝีมือ ด้านออกแบบ มีระยะเวลาเรียน 2-3 ปีโดยแบ่งสัดส่วนการเรียน 60% ที่นักเรียนต้องใช้เวลาไปกับการเรียนรู้งานจริงในบริษัทเอกชน อีก 40% เรียนภาคทฤษฎี เพราะสังคมเยอรมนี หล่อหลอมเด็ก ๆให้เชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถเป็นมืออาชีพได้ ไม่ว่าคนๆ นั้นเรียนสถาบันใดคณะอะไร หรืออาชีพอะไร ถ้าตั้งใจทุกคนก็เป็นมืออาชีพได้ทั้งนั้นอย่างเช่น เด็กนักเรียนสนใจด้านรักกีฬา สามารถศึกษาต่อได้ที่ Poelchauoberschule โรงเรียนที่มุ่งเน้นพัฒนาทักษะด้านกีฬา

โดยเฉพาะแต่ก็เรียนควบคู่กับเนื้อหาวิชาการ การจะเดินเข้าสู่ระบบ Dual System ในเยอรมนี ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกคนต้องผ่านการคัดเลือกจากบริษัทซึ่งทำความร่วมมือและร่วมออก แบบหลักสูตรกับสถาบันการศึกษา ให้เป็นช่างฝีมือฝึกหัด หรือ apprentice จากนั้นบริษัทจะทำการติดต่อโรงเรียนอาชีวศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกันโดยที่นักเรียนต้องเรียนภาคทฤษฎีตามเวลาที่กำหนดทำให้นักศึกษาจะมีสองสถานภาพ คือนักเรียน และพนักงานบริษัทคู่กันไป

ในกรณีที่เด็กบางคนอยากเข้าเรียนในระบบนี้ แต่ไม่สามารถเข้าเรียนได้ สถาบันการศึกษามีแนวทางส่งเสริมให้นักเรียนเพิ่มเติมความรู้และทักษะโดยว่าจ้างบุคลากรจากอุตสาหกรรมมาเป็นอาจารย์สอน เพื่อให้เด็กได้ฝึกฝนและเกิดทักษะได้จริง นอกจากสายอาชีพ อีกทางเลือกที่จะไปได้นั่นคือเรียนในมหาวิทยาลัย University of Applied Sciences หรือ Fachhochschule วิทยาลัยเทคนิคที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี

การเรียนของที่นี่มุ่งเน้นเรื่องการประยุกต์เพื่อใช้งานได้จริงในวิชาเชิงเทคนิคที่อยู่ในความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า คอมพิวเตอร์​และเครื่องกล จากกระบวนการพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรในระบบการศึกษาที่เยอรมนีทำอยู่นี้เข้มข้น และวัดผลได้จริง สามารถผลิตบุคลากรมากด้วยฝีมือและตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม

จากสถิติ พบว่า ตลาดแรงงานเยอรมนี มีผู้สำเร็จการศึกษาจากระบบ DualSystem มากถึง 54% ส่วนระดับปริญญาตรี 18% โดยที่อัตราการว่างงานอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำสุดในยุโรปความสำเร็จในการจัดการศึกษาเยอรมนีทำให้เห็นว่าค่านิยมและความเข้าใจเป็นสิ่งที่สำคัญมองหาอาชีพที่ต้องการและฝึกฝนทักษะเพื่อไปสู่ความเป็นมืออาชีพในสายงานนั้นมากกว่า

ในขณะที่หลายประเทศยังติดอยู่กับกรอบคิดเดิม ๆ ผลิตบุคลากรแบบไร้ทิศทาง และไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน เมื่อเรียนจบต้องเผชิญกับปัญหาไม่สามารถหางานได้ อัตราว่างงานสูง เพราะไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันและทำงานได้จริง ประเด็นเหล่านี้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาของไทยต้องเริ่มกลับมาคิดอย่างจริงจังกันอีกครั้ง