CONNEXT ED เฟส3 ฝากรัฐหนุนบริจาคเพื่อการศึกษา

CONNEXT ED เฟส3 ฝากรัฐหนุนบริจาคเพื่อการศึกษา

ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และ 33 องค์กรเอกชน เดินหน้า CONNEXT ED ระยะที่ 3 พัฒนาสมุดพกดิจิทัล ระบบการบริจาคออนไลน์ CONNEXT ED Crowdfunding ตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาและขยายเครือข่ายความร่วมมือภาคเอกชน ฝากภาครัฐร่วมสนับสนุนบริจาคเพื่อการศึกษา

จากการประชุมนโยบายและแผนงานขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาไทย ภายใต้ “โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED” ประจำปี 2562 ซึ่งโครงการสานอนาคตการศึกษาได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 โดย 12 องค์กรเอกชนชั้นนำของไทย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ กลุ่มเซ็นทรัล บมจ.ซีพี ออลล์ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร

กลุ่มมิตรผล:กลุ่มธุรกิจน้ำตาลประเทศไทย และธุรกิจใหม่ กลุ่มปตท. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เอสซีพี บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป และบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เข้าร่วมยกระดับการศึกษาไทยสู่การสร้างเด็กดี เด็กเก่ง ของประเทศอย่างยั่งยืน

157154840039

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานภาคเอกชน กล่าวว่า โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED เป็นการตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคน และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ ซึ่งจากการดำเนินการระยะแรกมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงระยะที่ 2 ปี2562 นี้ ได้มีการยกระดับการจัดการการศึกษาในโรงเรียนประชารัฐ จากโรงเรียนในสังกัดสพฐ.ทั่วประเทศได้ถึง 4,781 โรงเรียน มีนักเรียนที่ร่วมโครงการเพิ่มขึ้นเป็น 1,047,660 คน

อีกทั้ง ขยายความร่วมมือจาก 12 องค์กรเอกชนชั้นนำผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ กับเครือข่ายพันธมิตรใหม่อีก 21 องค์กรเอกชน รวมเป็น 33 องค์กร ได้แก่ บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น บมจ. บ้านปู สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โรงเรียนเอ็นคอนเส็ปท์ อี แอคเคเดมี่ บจ. ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม และบจ. สวนอุตสาหกรรมบางกะดี บมจ. บีอีซี เวิลด์ บจ. สลิงชอท กรุ๊ป บจ. เอดู พาร์ค บจ. เอ.พี. ฮอนด้า บจ. โพซิทีฟ โซลูชั่น บจ. เอส เค โพลีเมอร์ บจ. เบอร์แทรม (1958) บจ. โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์)

157154841771

บจ. แม็คเอ็ดดูเคชั่น บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) บจ. เควี อิเล็กทรอนิกส์ บจ. แอล แอนด์ อี แมนูแฟคเจอริ่ง บจ. เลิร์น คอร์ปอเรชั่น บจ. เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม (เทสโก้ โลตัส) และบจ. เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) โดยมีผู้นำรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นพนักงานจิตอาสาจากองค์กรภาคเอกชน เพิ่มขึ้นเป็น 900 คน และองค์กรภาคเอกชน จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโรงเรียนประชารัฐ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 3,153 ล้านบาท ครอบคลุม 77 จังหวัด

สำหรับการดำเนินงานโครงการสานอนาคตการศึกษาในระยะที่ 3 (2562-2563) คณะทำงานยังคงยึด 5 ยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาไทยอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีแผนการดำเนินงาน ได้แก่ สมุดพกดิจิทัล พัฒนาระบบฐานข้อมูลและการจัดการสถานศึกษาให้สามารถประมวลผลข้อมูลและแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนรายบุคคลในรูปแบบสมุดพกดิจิทัลที่จะช่วยให้ทราบจุดอ่อน จุดแข็ง ความถนัด ของนักเรียนแต่ละคน อันนําไปสู่การพัฒนาทักษะและส่งเสริมศักยภาพได้ตรงจุด

นอกจากนี้จะมีการพัฒนาระบบการบริจาคออนไลน์  CONNEXT ED Crowdfunding จัดทําระบบบริจาคออนไลน์เพื่อระดมทุนสนับสนุนด้านการศึกษาสําหรับโรงเรียนที่ต้องการการสนับสนุนงบประมาณในด้านต่างๆ โดยระบบได้รวบรวมโครงการตามแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียนประชารัฐที่ผ่านการคัดกรองจากคณะทํางานส่วนกลางเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนทางการศึกษา

157154840429

รวมทั้งจัดทำมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา ซึ่งจะเป็นคณะทํางานด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นํา เปลี่ยนสถานะเป็นมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดี เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาพื้นฐานของประเทศ รวมทั้งจะขยายโอกาสความร่วมมือไปยังองค์กรเอกชนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมโรงเรียนประชารัฐที่ยังต้องการการดูแลจากองค์กรเอกชน จํานวน 2,124 โรงเรียน โดยปัจจุบันมีโรงเรียนภายใต้ความดูแลของภาคเอกชน จํานวน 2,657 โรงเรียน จากจํานวนทั้งหมด 4,781 โรงเรียน

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า จากการหารือกับกลุ่มภาคเอกชนในการดำเนินโครงการดังกล่าว สิ่งที่ต้องการสนับสนุนจากภาครัฐ มีทั้งหมด 5 ประเด็นสำคัญ คือ 1. Transparency ความคาดหวังต่อโครงการและภาพความสำเร็จที่ภาครัฐอยากเห็น จัดทำ KPI วัดคุณภาพของโรงเรียนร่วมกัน พร้อมร่วมประเมิน ถอดบทเรียน สนับสนุนการเก็บข้อมูลโรงเรียนในระบบโรงเรียนประชารัฐ กำกับ ติดตามเอกสาร E-donation อย่างเข้มงวด Tax Benefit การบริจาคเพื่อการศึกษาให้สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้เกิน 10% ของกำไรสุทธิ

157154840421

2.Market Mechanisms สนับสนุนนาทีโฆษณาในช่วงไพร์มไทม์(1 นาที) เพื่อเผยแพร่ ความรู้ด้านการศึกษา สนับสนุนนโยบายสร้างการมีส่วนร่วมของภาคอาชีวะ/อุดมศึกษา สื่อสารข้อมูลโครงสร้าง/ประโยชน์ที่โรงเรียนจะได้รับในมุมมองของภาครัฐ(ไม่ได้เพิ่มภาระ) ร่วมทำ matching fund ในระบบการบริจาคออนไลน์ (เช่น รัฐ:เอกชน 1:1)

3. High Quality Principals&Teachers กำหนดให้ผอ.ต้องดำรงตำแหน่งอย่างน้อย 5 ปีเพื่อความต่อเนื่องของโครงการ มีการให้คุณให้โทษแก่ผอ.และครู สร้างแรงจูงใจให้ครูร่วมโครงการ อาทิ การให้ incentive/การปรับวิทยฐานะเมื่อทำผลงานสำเร็จ เพิ่มทักษะ coaching และfacilitator แก่ครู แก้ไขการขาดแคลนครูวิชาการเอกหรือปรับการผลิตครูให้สอน

4.Child Centric& Curriculum เน้นการพัฒนาครูด้านการสอนแบบ Child Centric ประเมินผลอย่างจริงจัง การสนับสนุนกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อสร้างเสริมทักษะชีวิต ส่งเสริมให้ครูออกแบบหลักสูตรได้เอง ที่มีการบูรณาการบริบทของชุมชนให้เข้ากับวิชาการ ทักษะอาชีพ 

157154841640

5.Digital Infrastructures สนับสนุนการขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสู่ทุกห้องเรียน สนับสนุนงบซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไอซีทีต่างๆ จากโครงการ สนับสนุนการจัดจ้างบุคลากรด้านไอซีทีประจำโรงเรียน สนับสนุนโครงการบริจาคคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียน

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานภาครัฐ กล่าวว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาไทย สะท้อนถึงความตั้งใจของทุกฝ่ายที่ต้องการปฏิรูปการศึกษาให้เห็นผลอย่างรวดเร็ว  กระทรวงศึกษาธิการ ต้องการผลักดันให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นทั่วประเทศ (95% ของโรงเรียนทั้งหมด) ภายในพฤษภาคม 2563

โดยนำเทคโนโลยีมาเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกระทรวงและโรงเรียน พัฒนาครูบุคลากร และสนับสนุนการบริหารจัดการในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และพร้อมให้การสนับสนุนโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ถือว่าสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในบริบทที่ไม่เคยมีมาก่อน และสามารถใช้พลังจากความร่วมมือนี้ขับเคลื่อนต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันผลักดันให้สิ่งดีๆ เกิดขึ้นได้

157154841637

น.ส.วจี มูลหงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำปั้ว จ.น่าน เล่าว่าเข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ โดยได้รับการสนับสนุนจากบมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จำนวน 1 แสนบาทเพื่อนำไปใช้ในโครงการ T for STEM เพื่อยกระดับการเรียนการสอนด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทยและอังกฤษให้กับนักเรียนทั้ง 91 คน โดยมีเป้าหมายยกระดับผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้สูงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทดลองให้นักเรียนเรียนคณิตศาสตร์ผ่านแอปพลิเคชั่นแล้วคะแนนโอเน็ตดีขึ้นจากอันดับ 144 มาเป็นอับที่ 20

“ขณะนี้งบ 100,000 บาทได้นำไปใช้ในการเตรียมระบบเพื่อให้นักเรียนได้เรียน 4 วิชาหลักได้ในช่วงเปิดเทอมเชื่อว่าจะสามารถเรียนรู้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนทั้งด้านเครื่องมือต่างจากโครงการโรงเรียนประชารัฐ จะช่วยให้สามารถจัดการศึกษาให้กับนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น” ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำปั้ว จ.น่าน กล่าว

157154840016