"Remote Health Care" เทคโนโลยีนำพาคนไข้กับหมอใกล้ชิดกัน

"Remote Health Care" เทคโนโลยีนำพาคนไข้กับหมอใกล้ชิดกัน

"Remote Health Care" เทคโนโลยีนำพาคนไข้กับหมอใกล้ชิดกัน

ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคหัวใจมากขึ้น เนื่องจากคนในครอบครัว หรือญาติสนิท เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดที่ผิดปกติ พบมากขึ้น เป็นปัญหาหลักของคนไทย

พ.ญ ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กำกับดูแลฝ่ายสารสนเทศโรงพยาบาลพระราม9 ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคยอดนิยมของคนไทย สาเหตุ วิธีป้องกัน รวมถึงวิธีการรักษารูปแบบใหม่ ที่หมอกับคนไข้สามารถที่จะใกล้ชิด กันมากขึ้นโดยใช้ แอบพลิเคชั่น ชื่อว่า"Remote Healh Care"

คุณหมอ ปิยะรัตน์ กล่าวว่า สาเหตุหลักของโรค มาจากการใช้ชีวิต ความเครียด การกินอาหารหรือนั่งทำงานบนโต๊ะเป็นเวลานาน ๆ ไม่เคยออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมากขึ้น

"ส่วนใหญ่คนไข้จะไม่รู้ตัวเองว่าตัวเองเป็นโรค เพราะไม่มีอาการ ในช่วงแรก ไม่เคยพบแพทย์ ไม่เคยตรวจร่างกาย อยู่มาวันหนึ่งอาจจะเป็นลม หมดสติ รู้สึกใจสั่น คือเป็นการแสดงอาการของโรค น่าจะเป็นค่อนข้างมาก หากเกิดอาการขึ้น แต่เรามีวิธีการป้องกัน และตรวจพบได้ก่อนสามารถรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ปัจจุบันเทคโนโลยี่ทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก เรามีอุปกรณ์หลายอย่างที่จะช่วยดูแลรักษาเรื่องเหล่านี้ ปัจจุบันคนไข้ต้องมาทำการติดตามรักษาที่โรงพยาบาล แต่เนื่องจากแพทย์และพยายามเกิดความเป็นห่วงคนไข้ เมื่ออยู่ที่บ้านจะมีสัญญาณอะไรที่เป็นอันตราย รพ.พระราม 9 ได้จัดหาให้มีอุปกรณ์ ทำให้ดูแลคนไข้ได้อย่างใกล้ชิด แม้คนไข้จะอยู่ที่บ้านหรือที่ใดในโลกนี้ขอให้มีอินเตอร์เนต ก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพของคนไข้ให้การดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงที"

นอกจากนี้คุณหมอ ยังกล่าวอีกว่า รพ.มีบริการ ที่ชื่อว่า "Remote Healh Care"คือเครื่องที่ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์หรือ Medical IOT สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต โดยผ่านSmart Phoneได้ ทำให้แพทย์พยาบาลซึ่งอยู่ในโรงพยาบาลสามารดูแลและประเมินค่าต่าง ๆของคนไข้ที่อยู่ที่บ้านได้

"เครื่องมือชนิดแรก คือ เครื่องวัดความดันโลหิต คนไข้สามารถเอาไปวัดเองที่บ้านได้ โดยใช้อุปกรณ์ ต่อเชื่อมกับอินตอร์เนต จะทำการเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่น ในโทรศัพท์มือถือ ส่งค่าความดันโลหิตขึ้น Cloud โดยทางรพ.จะมีทีมงานและบุคคลากรทางการแพทย์ ทำหน้าที่เป็น Command Center คอยเฝ้า ดูค่าต่าง ๆ ที่คนไข้วัดและส่งผลเข้ามา ถ้าค่าที่ส่งเข้ามาอยู่ในระดับที่อันตราย ทีมงานจะทำการติดต่อโทรหาคนไข้สอบถามถึงอาการ ถ้ามีสภาวะที่ไม่ปลอดภัย จะให้คนไข้มาโรงพยาบาลโดยด่วน และประสานงานกับทีมแพทย์ของโรงพยาบาลเพื่อเตรียมรับคนไข้ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้คนไข้ปลอดภัยมากขึ้น"

แบบเดิมคนไข้มารักษาความดันโลหิตสูง คุณหมอทำการวัดความดันโลหิตของวันนั้น ให้ยาไปกินที่บ้าน หมอจะไม่ทราบว่าพอคนไข้ไปอยู่ที่บ้านความดันของคนไข้เป็นอย่างไร ยาได้ผลดีหรือไม่ หากมีอุปกรณ์ตัวนี้ คนไข้สามารถวัดได้เองทุกวัน ทุกเวลา มันจะแสดงผลเป็นกราฟ คุณหมอจะทราบว่ายาที่ให้ มันเหมาะสมกับคนไข้หรือไม่ โดยไม่ต้องรอให้คนไข้มาที่รพ.ในครั้งต่อไป เราสามารถดูผลได้ในปัจจุบัน(Real Time)สามารถบริหารจัดการได้ ประโยชน์ของอุปกรณ์ชนิดนี้คือ คนไข้ไม่ต้องเสียเวลามาโรงพยาบาลบ่อย ๆ ประหยัดเรื่องเวลาการเดินทาง เพราะแพทย์สามารถติดตามผลได้ตลอดเวลา นอกจากคนไข้มีสัญญาณบางอย่างที่อันตราย ปรับยา ลดยาแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องมาพบแพทย์เป็นขั้นตอนต่อไป

นอกจากนี้ "Remote Healh Care"ยังช่วยวินิจฉัยคนไข้ เช่นคนไข้บางคนมาถึงโรพยาบาล แล้วพยาบาลวัดความดัน จะสูงทุกครั้ง แต่คนไข้บอกว่าถ้าวัดที่อื่น ไม่เคยสูง แต่มาโรงพยาบาลทุกครั้ง วัดสูงทุกครั้ง เป็นอาการที่พบบ่อย คือกลุ่มคนไข้ที่กลัวโรงพยาบาล มีความเครียดเกิดขึ้น โดยไม่รู้ตัว ทำให้วัดความดันได้สูง กรณีนี้ หมอจะไม่สามารถแยกได้ว่าความดันสูงจริงหรือไม่ หรือแค่มีความเครียด ทำให้ความดันสูงแค่บางครั้ง อุปกรณ์ตัวนี้ช่วยได้ โดยมีบริการให้เช่าใช้เครื่อง โดยให้คนไข้เอาไปวัดที่บ้านราวหนึ่งสัปดาห์วันละ4ครั้ง พอถึงวันนัดครั้งต่อไป คุณหมอจะทราบทันที่ว่า คนไข้มีความดันอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่

แต่มีอีกกลุ่มคนไข้ที่ความดันสูงจริงเกิน140/90 อยู่ตลอด กลุ่มนี้ต้องทำการรักษาได้ทันท่วงที มันจะมีผลทั้งร่างกาย หากความดันโลหิตสูงจะมีผลต่อทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหัวใจ เพราะถ้าความดันโลหิตสูง หัวใจก็ต้องทำงานหนัก อนาคตอาจจะเป็นโรคหัวใจได้ ระบบของตา เส้นเลือดในตาละเอียดอ่อน ถ้าความดันโลหิตสูงนาน ๆ เส้นเลือดในตาจะแข็งตัว ทำให้เกิดปัญหาการมองเห็น หรือขั้นที่แย่ที่สุดคือตาบอด เพราะเส้นเลือดในจอตาเสื่อม หรือการทำงานของไต เป็นอวัยวะที่มีเส้นเลือกเยอะ ถ้าความดันโลหิตสูง ในระยะเวลานาน ๆ ไตก็จะเสื่อมและนำไปสู่สภาวะไตวาย ต้องฟอกไตหรือเปลี่ยนไตเป็นต้น

โรงพยาบาลพระราม9 นำเทคโนโลยีมาช่วยในการดูลรักษาคนไข้ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ดีขึ้นกว่าก่อน จากคนที่มีแค่ความเสี่ยงสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคได้ ขณะที่คนที่เป็นโรคแล้วเราก็ดูแลให้ดีขึ้นไม่ให้เขานำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้

ขณะที่การเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ ปกติ หัวใจคนเราเต้น 60-70 ครั้ง/นาที เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ แต่บางคนก็เต้นช้าหรือเร็วเกินไป ยกตัวอย่าง หากหัวใจเต้นช้า เต้น40ครั้ง/นาที ก็ไม่สามารถปั้มเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ คนไข้จะมีอาการหน้ามืด เป็นลม ไม่สามารถออกกำลังกายได้ ส่วนอีกกลุ่มที่มีการเต้นของหัวใจพลิ้ว ทำให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ปกติ คนไข้จะรู้สึกเหนื่อย รวมถึงบางคนจะมีภาวะคั่งของเลือดในห้องหัวใจ มันจะเกิดภาวะที่เรียกว่า"Cod"มันอาจจะหลุดเข้าไปในกระแสเลือด เรียกให้เข้าใจง่ายก็คือ "ลิ่มเลือดไปอุด" ถ้าหากหลุดไปในเส้นเลือดในสมองก็จะเกิดStroke

ในกรณีนี้คนไข้ส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว แต่เราสามารถตรวจได้โดยใช้วิธีการตรวจคลื่นหัวใจ คนทั่วไปควรจะเข้ามารับการตรวจคลื่นหัวใจ ปีละครั้ง โดยเฉพาะมากกว่า 35-40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดสภาวะพวกนี้ได้