'สหภาพรถไฟ' ยื่นหนังสือถึงนายกฯ แนะรัฐบาลรอบคอบก่อนลงนามกลุ่มซีพี

'สหภาพรถไฟ' ยื่นหนังสือถึงนายกฯ แนะรัฐบาลรอบคอบก่อนลงนามกลุ่มซีพี

สหภาพรถไฟฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาเอกสารแนบท้ายสัญญาไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินอย่างรอบคอบ หวั่นเงื่อนไขส่งมอบพื้นที่ 82% ภายใน15 เดือน รฟท.อาจทำไม่ได้ตามกำหนดเสี่ยงถูกเอกชนฟ้องร้อง ส่งผลกระทบภาครัฐได้รับความเสียหาย

เมื่อเวลา 9.00 น. วันนี้ (16 ต.ค.) ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทำเนียบรัฐบาล สหภาพรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) นำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  ได้เดินทางมายื่นหนังสือและแถลงการณ์เพื่อขอให้รัฐบาลใช้ความรอบครอบในการพิจารณาการลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยมีนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์  กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับมอบแถลงการณ์

นายสาวิทย์กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน"ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา"ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท เป็นโครงการสืบเนื่องจากรัฐบาล คสช.จนถึงรัฐบาลปัจจุบัน เป็นโครงการร่มลงทุนระหว่างรัฐบาลกับเอกชน หรือ PPP และผู้ที่ชนะการประมูลโครงการคือกลุ่มกิจการ่วมคับริษัทจริญโกภัณฑ์โฮดิ้ง จำกัดและพันธมิต (กลุ่ม CPH)

ซึ่งตามกำหนดโครงการนี้ต้องมีการลงนามในสัญญาตั้งแต่เดือน ก.พ.2562 แต่ถึงขณะนี้ยังไม่มีการลงนามในสัญญา โดยการลงนามในสัญญามีการเลื่อนมาหลายครั้งและมีการกำหนดเงื่อนไขหลายข้อ ล่าสุดมีการกำหนดว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะต้องส่งมอบพื้นที่ได้ 82% ของพื้นที่ทั้งหมดภายในระยะเวลา 15 เดือน (1ปี 3 เดือน) และเมื่อดูจากข้อตกลง (TOR)  ที่กำหนดว่า รฟท.จะต้องส่งมอบพื้นที่ทั้งหมด 100% ในโครงการภายใน 5 ปีถือว่ายากและเสี่ยงเช่นกัน เพราะในเส้นทางที่ต้องส่งมอบมีทั้งประชาชนที่อยู่อาศัยโดยถูกต้องและไม่ถูกต้องอีกเป็ยจำนวนมาก มีสัญญาทางธุรกิจระกว่าง รฟท.กับเอกชนประมาณ 300 สัญญา รวมทั้งการรื้อย้ายสาธารณูปโภคไฟฟ้า ประปา ท่อก๊าซ ท่อส่งน้ำมัน ฯลฯ ทำให้ต้องมีการรื้อย้ายสถานที่ราชการอีกหลายแห่ง และจะกำหนดจุดที่เวนคืนที่ดินเพิ่มอีก ซึ่งไม่แน่ว่าหน่วยงานราชการต่างๆได้เตรียมงบประมาณไว้พร้อมหรือไม่ และหากไม่สามารถทำได้ก็อาจมีการเรียกร้องค่าเสียหายจาก รฟท.ภายหลังซึ่งจะเป็นมูลค่าอีกเท่าไหร่ก็ยังไม่สามารถประเมินได้

“หากจะลงนามในสัญญาระหว่างรัฐกับบริษัทที่ชนะการประมูลคือกลุ่มโดยมีเงื่อนไขตามเอกสารแนบทัยสัญญาที่จะให้การรถไฟส่งมอบฟื้นที่82%ในระะวลา 15  เดือน ซึ่งมีความป็นไปได้ค่อนช้างสูงว่าการรถไฟฯจะทำไม่ได้ และจะเป็นเหตุให้เอกชนองร้องเรียค่าเสีหายได้ จึงกราบเรียมายังนายกรัฐนตรี และคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงงื่อนไขแนบท้ายสัญญาดังกล่วรวมทั้งงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งสังคม ประชาชนยังไม่รับรู้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนออันเป็นเจตจำนงเพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน จะได้รับการพิจารณาจากท่านและคณะและขอให้พี่น้องประชาชน สื่อมวลชน ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด"

นอกจากนี้ สร.รฟท.ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี โดยขอเน้นย้ำในจุดยืน 2 ข้อได้แก่ 1.สร.รฟท.ไม่ได้ขัดขวางโครงการ แต่ต้องการให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้วยการเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่างๆของโครงการ รวมทั้งเอกสารแนบท้ายสัญญาที่จะลงนามกันให้แก่สาธารณชนได้รับทราบ เพราะเป็นโครงการร่วมลงทุนเกินกว่า 50% และยังต้องส่งมอบทรัพย์สินของรัฐที่ดินกว่า 4421 ไร่ และโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ดลิงก์ให้แก่ผู้รับสัมปทานในราคาที่ต่ำมากให้เอกชนที่รับสัมปทาน

และ 2.โครงการดังกล่าวหากรัฐดำเนินการเองน่าจะมีประดยชน์มากกว่า โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีข้อพิพาทเกิดขึ้น และในเส้นทางเดียวกันก็มีเส้นทางของ รฟท.ในสายตะวันออก แยกจากฉะเชิงเทราไปสุดปลายที่สัตหีบอยู่แล้ว เพียงแค่ทำทางคู่เพิ่มขยายเส้นทางเข้าไปยังสนามบินอู่ตะเภา จะทำให้ประหยัดเงินไม่เป็นภาระด้านงบประมาณแก่รัฐด้วย