8 นามพระราชทาน โครงการชลประทาน

8 นามพระราชทาน  โครงการชลประทาน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยในโครงการด้านชลประทาน และได้พระราชทานนามโครงการที่เกี่ยวข้องถึง 8 โครงการ

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในจำนวนโครงการพระราชดำริ 4,810 โครงการ ในจำนวนดังกล่าวมีประมาณ 3,000 โครงการ ที่เป็นโครงการชลประทาน แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 8 โครงการขนาดใหญ่เท่านั้นที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทาน 

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม เมื่อวันที่ 16 ม.ค.2529 และเสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2529 โดยเป็นที่สร้างขึ้นตามพระราชดําริ เดิมชื่อว่าเขื่อนแม่งัดตั้งอยู่บนลําน้ำงัด สาขาแม่น้ำปิง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เข้ามาดําเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำในปี 2528 มีกําลังการผลิต 9,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 19 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.2538 ตั้งอยู่ที่ อ.แม่แตง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นเขื่อนดินถมบดอัดแน่นสูง 68 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร สร้างปิดกั้นลําน้ําแม่กวง 

เขื่อนแห่งนี้ส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูก 13 ตําบล ในเขต จ.เชียงใหม่และลําพูน รวมพื้นที่ประมาณ 175,000 ไร่ เกิดจากแผนพัฒนางานชลประทานในลุ่มน้ำแม่กวงได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2472 โดยได้ก่อสร้างฝายผาแตกขึ้นที่ดอยลองบ้านผาแตกเมื่อปี 2478 ต่อมากรมชลประทานได้ปรับปรุงฝายใหม่ สามารถส่งน้ำในพื้นที่ 72,750 ไร่

เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2519 ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณที่จะก่อสร้าง และพระราชทานพระราชดําริให้กรมชลประทานศึกษาการพัฒนาลําน้ำสาขาของลำน้ำแม่กวงและจัดหาที่ดินทํากินให้ราษฎร ซึ่งพื้นที่ทำกินดังกล่าวจะถูกน้ำท่วมหลังการก่อสร้างเขื่อน

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้พระราชทานพระราชดําริเมื่อ 19 ก.พ.2532 ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ําแม่น้ําป่าสักอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ําเพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูกและบรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นประจําในลุ่มน้ำป่าสักเป็นผลสืบเนื่องมายังเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลด้วย และเสด็จพระราชดําเนินทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในวันที่ 25 พ.ย.2542

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อที่มีความหมาย คือ เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งอยู่ ณ บ้านหนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศ ปริมาณน้ำเฉลี่ยประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ เป็นนามพระราชทานที่เป็นมงคลยิ่งมีความหมายถึงความสามารถแบ่งแยกน้ำจืดน้ำเค็มได้สําเร็จ นั่นคือมีการบริหารจัดการอย่างสมดุลปิดกั้นน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้าไปในลําน้ํากักเก็บน้ําจืดไว้ใช้ดํารงชีพซึ่งจะเป็นบทเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและเอื้ออํานวยให้ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำปากพนังเป็นไปอย่างยั่งยืน

ซึ่งประตููระบายน้ำ อันเป็นปฐมบทของโครงการการพัฒนาลุ่มน้ําปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดําริได้เริ่มทําหน้าที่ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2542 

เขื่อนขุนด่านปราการชล การดำเนินงานได้มีพระกระแสให้ติดป้ายโลหะจารึกประวัติของ ขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน ณ บริเวณเขื่อนเพื่อเชิดชูเกียรติคุณ เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2549 โดยเขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นชื่อพระราชทานที่ได้นำตำนานเจ้าพ่อขุนด่านในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพม่าบุกไทยชาวเขมรลักเสบียงรังแกคนไทยหัวหน้าที่ชาวบ้านเรียกว่าขุนด่าน จะใช้ม้าเร็วรับส่งข่าวรายงานไปยังกรุงศรีอยุธยา 

ภายหลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพจากพม่าพระยาละแวกตีตลบหลังไทยกวาดต้อนขนทรัพย์สินมีค่าไปเมืองเขมรขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน หรือขุนด่านทราบข่าวกองทัพเขมรจะตีนครนายกได้รวบรวมคนไทยซุ่มรอคอยโจมตีทัพพระยาละแวกอย่างห้าวหาญจนทัพเขมรแตกพ่ายไป

เขื่อนขุนด่านปราการชล ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ต.หินตั้ง อ.เมือง จ.นครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดําริเพื่อบรรเทาความทุกขยากที่เกิดกับประชาชนชาวนครนายกและจังหวัดใกล้เคียง โดยมีความจุ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร

เขื่อนแควน้อยบํารุงแดน อําเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลกความจุ 769 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ําเพื่อการเพาะปลูกในฤดูฝนและฤดูแล้งให้แก่พื้นที่ชลประทานแควน้อย151,166 ไร่และเสริมเพาะปลูกในฤดูแล้งแก่พื้นที่ชลประทานเจ้าพระยาประมาณ 250,000 ไร่และโครงการชลประทานสูบน้ําด้วยไฟฟ้าที่อยู่ในแม่น้ําแควน้อยพื้นที่ 24,000 ไร่

ประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต  หรือประตูระบายน้ำก่ำตอนล่าง เมื่อวันที่ 12 ก.ย.2554 ความหมายคือ ประตูระบายน้ำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริสร้างขึ้น ตั้งอยู่ที่ ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

และโครงการอุโมงค์ผันน้ำ “ลำพะยังภูมิพัฒน์” หมายความว่า อุโมงค์ผันน้ำที่นำความเจริญมาสู่แผ่นดินลุ่มน้ำลำพะยัง ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.สงเปลือย อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์