พร้อมแค่ไหน กับไทยแลนด์ 4.0

พร้อมแค่ไหน กับไทยแลนด์ 4.0

ได้ยินกันมามากต่อมากคำว่า ไทยแลนด์ 4.0 บางก็ล้อเลียนไปว่า 0.4 เป็น ซึ่งมีความหมายในทางตรงกันข้ามคือ ทันสมัยที่สุดกับล้าหลังที่สุด ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน ภาคธุรกิจของไทยมีความพร้อมมากแค่ไหน

              สุรีย์พร สหวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยคณะ ได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานของ บจ. พีทีที เอ็มซีซี  ไบโอเคม ณ นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จ.ระยอง เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้บริหารระดับสูงการขับเคลื่อนและยกระดับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี/เคมีชีวภาพ และภาคเกษตรไทย ให้เติบโตและสามารถปรับตัวไปสู่การเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมาย (S-Curve) และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-economy)

              ทั้งนี้ อุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเกษตรและเศรษฐกิจไทยในอนาคต เนื่องจากมีโอกาสทางธุรกิจและสามารถขยายการส่งออกได้จากกระแสรักษ์โลก และเทรนด์การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศ และการนำระบบดิจิทัลเข้ามาปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตและการดำเนินงานขององค์กรในหลายส่วน (Digital Transformation) อาทิ ระบบบล็อกเช่น (Blockchain) ที่เชื่อมโยงข้อมูลและสามารถตรวจสอบย้อนกลับระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย สถาบันการเงิน และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ การนำระบบ E-Finance และระบบ AI เข้ามาใช้ในองค์กร ตลอดจนการมุ่งวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง จะเป็นการยกระดับให้เข้าสู่อุตสาหกรรม S-Curve มากยิ่งขึ้น

 “ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมศักยภาพเชิงลึก (ระดับรายสถานประกอบการ)” เพื่อศึกษาการปรับตัวของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยไปสู่ อุตสาหกรรม 4.0”

          157079774151

 

 

อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS ในประเทศไทยยังคงมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ ไทยยังจำเป็นที่ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบต้นน้ำที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งคือ วัตถุดิบทางการเกษตรที่ผ่านกระบวนการหมักให้เป็นโมโนเมอร์ (Monomer)

        ทั้งนี้ ภาครัฐและภาคเอกชนควรเร่งสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพและพลาสติกชีวภาพในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรม  ตลอดจนเร่งผลักดันแผนพัฒนา Bio Hub แห่งแรกในอาเซียน (Bio Hub of ASEAN) และโครงการไบโอรีไฟเนอรีคอมเพล็กซ์ (Bio-refinery Complex) ณ จ.นครสวรรค์ ให้เกิดผลอย่างชัดเจน เพื่อขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศและดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ/พลาสติกชีวภาพ ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำที่เกี่ยวข้อง

        สำหรับบจ. พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม เป็นบริษัท ร่วมทุนระหว่าง บมจ. ปตท และ บจ. มิตซูบิชิ เคมิคอล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS เชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลก โดยผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยสำหรับการสัมผัสกับอาหาร และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับเครื่องจักรเดิม  ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด ซึ่งตลาดส่งออกหลักของเม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS ได้แก่ ตลาดสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพื่อนำไปผลิตสินค้านวัตกรรมต่าง ๆ อาทิ แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ แคปซูลกาแฟ ถุงบรรจุเมล็ดกาแฟ และถุงห่อเสื้อผ้า  แบรนด์พรีเมียม เป็นต้น