“โซเชียลมีเดีย” สาเหตุหลักทำให้เยาวชนเป็น “โรคกลัวสังคม”

“โซเชียลมีเดีย” สาเหตุหลักทำให้เยาวชนเป็น “โรคกลัวสังคม”

จากการสำรวจโดย CLEAR พบว่า วัยรุ่นถึง 2 ใน 3 (ราว 57%) มีปัญหากลัวการเข้าสังคม โดย 67% ของคนที่กลัวการเข้าสังคมรู้สึกกดดันที่จะเป็นตัวของตัวเอง และเกือบครึ่ง (49%) ยอมรับว่ามีความวิตกกังวลจากการถูกตัดสินบนโซเชียลมีเดีย

โรคกลัวสังคม หรืออาการกลัวจากการถูกตัดสินจากสังคมภายนอกกลายเป็นอุปสรรคสำคัญของเยาวชนในการแสดงออกซึ่งความเป็นตัวตน จากการศึกษาซึ่งจัดทำขึ้นโดย CLEAR  สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเยาวชนในช่วงอายุ 16-29 ปี จำนวน 3,000 คน ใน 3 ประเทศ ได้แก่ บราซิล จีน และ สหราชอาณาจักร พบว่า เยาวชนถึง 2 ใน 3 (หรือราว 57%) มีปัญหากลัวการเข้าสังคม โดย 2 ใน  3 รู้สึกถูกกดดันจากสังคมในโรงเรียนและสังคมรอบตัวจึงทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง จากการศึกษายังพบว่า โซเชียลมีเดียเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เยาวชนกว่าครึ่งเกิดความวิตกกังวลว่าจะถูกตัดสินจากบนโซเชียล

ทั้งนี้ เยาวชนมากกว่าครึ่ง (52%) รู้สึกว่าอาการกลัวสังคมเป็นเรื่องที่ยากที่จะแก้ และไม่แน่จะว่าจะใช้ตัวช่วยที่แม้ว่าจะมีอยู่หลากหลายช่องทางในสังคมอย่างไรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันความวิตกกังวลให้ตัวเอง  จากสาเหตุดังกล่าว CLEAR จึงได้จัด โครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางอารมณ์และจิตใจ CLEAR Resilience Bootcamp ให้แก่เยาวชนเพื่อให้ความรู้และแนวทางในการรับมือกับความกลัวสังคมทั้งแบบตัวต่อตัวและ ผ่านช่องทางออนไลน์

สำหรับ ภูมิต้านทาน (Resilience) ในที่นี้หมายถึง การที่เยาวชนมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง สามารถรับมือกับความท้าทายและความกดดันที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือสังคมรอบตัว โดยมากกว่า 52% เชื่อว่าการมีภูมิต้านทานทางด้านจิตใจที่เข้มแข็งจะสามารถให้เอาชนะความกลัวสังคมได้ ซึ่งภูมิต้านทานทางจิตใจนั้นประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1. ความทนทานของแต่ละบุคคลกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัว ว่าสามารถรับมือกับปัจจัยกดดันภายนอกได้อย่างไรเพื่อไม่ก่อให้เกิดอาการกลัวสังคม เช่นเมื่อต้องเข้าโรงเรียนใหม่หรือทำงานที่ใหม่

และ 2. การได้รับการสนับสนุนจากเพื่อน ครอบครัว ครูอาจารย์ คนรอบตัว และสังคมมากน้อยเพียงใด โดยเยาวชนกว่า 52% คิดว่าตัวเองมีภูมิต้านทานทางด้านจิตใจที่แข็งแรง แต่อย่างไรก็ดีเยาวชนกว่า 74% อยากจะเข้าใจวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อสังคมรอบตัวต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของความกลัวการเข้าสังคม

               

มร. ไทร ทราน ทูว์ รองประธาน แบรนด์ CLEAR โดย ยูนิลีเวอร์ กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของเยาวชนไม่รู้ว่าจะหาข้อมูลที่ใดเมื่อต้องการความช่วยเหลือในการรับมือกับความวิตกกังวล และเพื่อแก้ไขปัญหาในจุดนี้ให้แก่เยาวชน CLEAR จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่กำลังขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องให้แก่เยาวชน

โครงการสร้างภูมิต้านทานทางจิตใจภายใต้ชื่อ CLEAR Resilience Bootcamp ซึ่ง CLEAR ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัย  RRC เปิดให้ใช้งานแล้วอย่างเป็นทางการในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปทดลองร่วมทำแบบสอบถามที่ออกแบบขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาการ ชมวีดีโอสร้างแรงบันดาลใจจากบุคคลตัวอย่างในสังคม หรืออ่านบทความให้ความรู้ ซึ่งกิจกรรมที่กล่าวมานี้ เยาวชนจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าใช้งานได้ผ่านทางเว็บไซต์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์ เยาวชนและผู้สนใจจะได้พบกับชุดคำถามที่จะวิเคราะห์ระดับอาการโดยวัดจากระดับความกล้าและความแข็งแรงของสุขภาพจิตในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อได้รับผลคะแนน ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกนำเข้าสู่หน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ที่จะมีบทเรียนผ่านวีดีโอ และบทความที่จะช่วยสร้างภูมิต้านทานทางจิตใจให้แข็งแกร่งขึ้น อาทิ วิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง หรือ คำแนะนำเมื่อต้องรับมือกับสถานณการณ์ที่ตึงเครียด

สำหรับผู้สนใจร่วมทำแบบทดสอบภูมิต้านทานทางจิตใจของตัวเอง ได้ที่เว็บไซต์ www.keepaclearhead.clearhaircare.com