ธนาคารโลกหั่นจีดีพีไทยปีนี้เหลือ 2.7% จาก 3.5%

ธนาคารโลกหั่นจีดีพีไทยปีนี้เหลือ 2.7% จาก 3.5%

ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ อยู่ที่ 2.7% จากเดิม 3.5% และในปี 63 ขยายตัวเพียง 2.9% เหตุส่งออกวูบ-ภัยแล้งกระหน่ำ-ลงทุนภาครัฐต่ำ พร้อมจับตาความเสี่ยง ความไม่แน่นอนการเมืองไทยและความตึงเครียดด้านการค้า

นายเกียรติพงศ์อริยปรัชญานักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารโลก ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจไทยของปี2562 จาก3.5%มาอยู่ที่2.7% ขณะที่ในปี2563 ขยายตัวที่2.9%

ทั้งนี้การปรับลดลงการขยายตัวเศรษฐกิจไทยดังกล่าวมีปัจจัยสำคัญจากการส่งออกที่ลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี2562 ที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้โดยคาดว่าส่งออกและบริการหดตัว5.3% นำเข้าและบริการหดตัว2.5% และยังมีปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบทศวรรษ

รวมถึงอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ต่ำและมีผลเหนี่ยวรั้งตัวเลขการลงทุนภาครัฐมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาในเดือนสิงหาคม2562มุ่งเป้าไปที่เกษตรกรผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางและครัวเรือนที่มีรายได้น้อยโดยผ่านการโอนเงินให้โดยตรงการขยายระยะเวลาการชำระหนี้

นอกจากนี้การคืนเงินภาษีจากกิจกรรมการท่องเที่ยวการขยายยกเว้นค่าวีซ่าสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่กำหนดโดยมาตรการต่างที่ออกมานี้น่าจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี2562

นายเกียรติพงศ์ กล่าวต่อว่า ส่วนในระยะปานกลางผลกระทบจากมาตรการเหล่านี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับกำลังของตัวทวีทางการคลังนโยบายที่ไม่ใช่ด้านการคลังของรัฐบาลใหม่  คือให้ความสำคัญกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศการพัฒนาเฉพาะด้านและในภาพรวม

ทั้งนี้ความต่อเนื่องในการดำเนินงานตามนโยบายและโครงการหลักๆเช่นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกการขยายมาตรการที่มุ่งเป้าไปที่ภาคเกษตรตัวอย่างเช่นการประกันรายได้การรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการปรับระดับผลิตภาพการผลิตในภาคธุรกิจการเกษตรตลอดห่วงโช่อุปทานเมื่อพิจรณาโดยพื้นฐานแล้วการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนน่าจะฟื้นตัวกลับมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะปานกลางโดยได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังว่าการลงทุนภาครัฐจะเริ่มกลับมาเมื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เริ่มดำเนินการการค้าและการลงทุนในภูมิภาคโดยเฉพาะในกัมพูชาลาวเมียนมาและเวียดนามก็จะสามารถช่วยลดภายนอกได้

ทางด้านปัจจัยเสี่ยงและประเด็นท้าทายมองว่าสถานการณ์ความเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ไม่ค่อยดีความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดอันจะก่อให้เกิดความเคลือบแคลงใจอยู่ต่อไปถึงความเหนียวแน่นของรัฐบาลใหม่ที่เป็นรัฐบาลผสมมาจาก19พรรคการเมืองความล่าช้าของการดำเนินงานตามแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ภาครัฐอาจส่งผลในทางลบต่อมุมมองของนักลงทุนและความมั่นใจของผู้บริโภค

สุดท้ายแล้วอาจทำให้อุปสงค์ภายในประเทศอ่อนแอลงแม้ว่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับระเบี่ยงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)จะมีความคืบหน้าแต่ก็ยังมีความเสี่ยงว่าอาจเกิดความล่าช้าในการดำเนินงาน

ขณะที่ความตึงเครียดทางการค้าที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐอมริกาและจีนอาจส่งผลให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยอ่อนแอลงไปอีกและบั่นทอนการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก

ค่าเงินบาทของไทยแข็งที่สุดในภูมิภาคในช่วงกลางปี2562 เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาหาที่หลบภัยในตลาดพันธบัตรของไทยหากค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นต่อไปอีกอาจจะเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกของไทยทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว