รู้หรือไม่? เกลือไทยขายโลละ 1 บาท ปีหนึ่งขายได้ 2 พันล้านบาท

รู้หรือไม่? เกลือไทยขายโลละ 1 บาท ปีหนึ่งขายได้ 2 พันล้านบาท

มกอช. หนุนเกษตรกรนาเกลือ เข้าสู่ระบบการจัดการคุณภาพ หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เร่งยกระดับเกลือทะเลไทย ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ หลังราคาขายเกลือไทยกิโลละ 1 บาท ขายได้ปีละ 2 พันล้านบาท

ไม่ใช่เฉพาะชาวนาที่เท่านั้นที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติบันดาลพืชผล ทั้ง ดิน น้ำ ลม ฟ้า อากาศ ทว่าคนทำนาเกลือ ที่จัดว่าเป็นเกษตรกรอีกประเภทหนึ่งก็ต้องพึ่งพา “ธรรมชาติ” เป็นปัจจัยหลักเช่นกันเดียวกัน เพราะการทำนาเกลือพื้นที่นา 1 ไร่จะผลผลิตเกลือทะเล 10 เกวียน

ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันมีเกษตรกร 1,200 ครัวเรือนมีพื้นที่ทำนาเกลือทั้งหมดประมาณ 84,485 ไร่แหล่งผลิตที่มีการผลิตมากร้อยละ 90.0 ของผลผลิตทั้งประเทศ อยู่ที่ 3 จังหวัดภาคกลาง คือ จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม และกลุ่มที่มีการผลิตเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 10.0 อยู่ที่ 4 จังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ คือ จังหวัดชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และปัตตานี

157063366238

โดยในแต่ละปีจะมีผลผลิตเกลือทะเลทั่วประเทศประมาณเกือบ 1 ล้านตันสร้างรายได้ให้เกษตรกรนาเกลือได้ปีละไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท และเมื่อ 1 มีนาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้เกลือทะเลเป็นสินค้าเกษตรกรรมขั้นต้นทำให้การทำนาเกลือเป็นส่วนหนึ่งของอาชีพเกษตรกรรมว่ากันว่าเกษตรกรไทยมีคู่แข่งคือประเทศอินเดีย เนื่องจากมีราคาถูกกว่า

เกตุแก้ว สำเภาทอง  เกษตรกรนาเกลือทะเลบ้านแหลมอ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เล่าว่าปัจจุบันมีการนำเข้าเกลือจากประเทศอินเดียจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาเกลือทะเลที่เกษตรกรชาวนาเกลือผลิตภายในประเทศ มีราคาตกต่ำอย่างหนัก จากต้นปีราคาเกลือทะเลราคากิโลกรัมละ 2.00-3.00 บาทเหลือราคากิโลกรัมละไม่ถึง 1.00 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาต้นทุนการผลิตจนสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรชาวนาเกลืออย่างหนักเนื่องจากขาดทุนสะสม จนเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว

157063366595

ที่ผ่านมาประเทศไทย มีการนำเข้าเกลือจากอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพบว่าปี 2560 มีการนำเข้าเกลือ 151,480 ตัน 216 ล้านบาทเศษ ปี 2561 มีการนำเข้าเกลือ 332,389,589 ตัน 437 ล้านบาทเศษ ปี 2562 (เดือนมีนาคม) มีการนำเข้าเกลือ 100,819 ตัน 120 ล้านบาทเศษ และรหัสพิกัดการนำเข้าอยู่ที่หมวด 25 ซึ่งเป็นหมวดของการนำเข้าสินแร่ อย่างไรก็ตามปัญหาของชาวนาเกลือมาตรฐานจะมีปัญหา 3 อย่าง 1.เรื่องฟ้าฝน 2.สภาพอากาศ 3.เรื่องคุณภาพ 

อย่างไรก็ตามแต่ที่ผ่านมาการทำนาเกลือทะเลยังขาดมาตรฐานควบคุมคุณภาพการผลิต ต้องพึ่งพาปัจจัยจากธรรมชาติเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น 1.เรื่องฟ้าฝน 2.สภาพอากาศ 3.เรื่องคุณภาพ ซึ่งขบวนการผลิตนาเกลือพื้นที่นา 1 ไร่จะผลผลิตเกลือทะเล 10 เกวียน ( 1 เกวียน เท่ากับ 1,600 กก.) แต่หากปีไหนฤดูกาลอากาศเหมาะสมก็จะผลิตได้ 16 ตัน/ไร่

157063366414

"ฤดูการผลิตเกลือทะเลการทำนาเกลือในภาคกลาง จะเริ่มในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน ถึงประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ระยะเวลาประมาณ 6-7 เดือน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเนื่องจากการทำนาเกลือไม่สามารถจะทำได้ในช่วงฤดูฝน และจะเริ่มเก็บผลผลิตเกลือในรูปของเกลือเม็ดได้ประมาณกลางเดือนมกราคม เป็นต้นไป"

 "จากนั้นจะมีพ่อค้าคนกลางประเภทพ่อค้าท้องที่และพ่อค้าท้องถิ่น จะไปรับซื้อถึงฟาร์มของเกษตรกรทั้งทางบกและทางน้ำ และในบางท้องที่เกษตรกรจะขายผ่านสหกรณ์การเกษตรที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ จากนั้นสินค้าเกลือทะเลจะไหลเวียนไปยังแหล่งต่างๆ ได้แก่ โรงโม่เกลือ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร และโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น"

157063366164

"จูอะดี พงศ์มณีรัตน์” เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า เกลือทะเลเป็นอาหารธรรมชาติ ที่มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์จำเป็นต้องใช้เกลือเพื่อการบริโภคและอุปโภค ปรุงอาหาร ถนอมอาหาร และใช้เป็นยารักษาโรค แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรนาเกลือทะเลประสบปัญหาในหลายด้าน โดยเฉพาะคุณภาพการผลิตส่งผลให้ราคามีความผันผวนเป็นประจำทุกปี

จึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการจัดการคุณภาพ หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานเกลือไทยสู่ระบบสากลให้เป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมอาหารและผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศในอนาคต 

เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรไทยมีคู่แข่งคือประเทศอินเดีย จึงต้องเร่งผลักดันให้เกษตรกรเข้าสู่มาตรฐาน : GAP จาก 3 หน่วยงานดูแล คือกรมวิชาการเกษตร กรมประมงและกรมปศุสัตว์ เพื่อการันตีให้ผู้บริโภคและอุตสาหกรรมอาหารในประเทศมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้เกษตรกรไทย และลดการนำเข้าเกลือจากต่างประเทศไปในตัว  

157063366652

ด้วยการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานเกลือทะเลเพื่อเพิ่มมูลค่าและเพื่อให้เกลือทะเลมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตามยุทธศาสตร์เกลือทะเลไทย 2560-2564 ตรงตามความต้องการของตลาด รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาเกษตรกรเกลือทะเลเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันเกลือทะเลไทย เพื่อให้มีช่องทางการตลาดที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อยกระดับราคาเกลือทะเลให้มีเสถียรภาพ

มีการบริหารจัดการระบบนิเวศเพื่อการทำนาเกลือมีพื้นที่อย่างเหมาะสม ยั่งยืนจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับเกลือทะเล 2 เรื่องได้แก่ เกลือทะเลธรรมชาติ (มกษ.8402-2562)และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการทำนาเกลือ (มกษ.9055-2562) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)สำหรับการทำนาเกลือทะเล (มกษ. 9055-2562) 

157063366336

"เชืิ่อว่าเมื่อดำเนินการตามแผนจะช่วยผลักดันให้สินค้าเกลือทะเลของไทยได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยกระดับศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรของประเทศไทยให้เทียบเท่ากับต่างประเทศและสามารถแข่งขันได้ในอนาคต เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้ในที่สุด" เลขาธิการสำนักงานมกอช. กล่าว