GIZ เตรียมศึกษาศักยภาพระบบนิเวศหนุนการจัดการลุ่มน้ำยมเพื่อรองรับการปรับตัวสู้โลกร้อน

GIZ เตรียมศึกษาศักยภาพระบบนิเวศหนุนการจัดการลุ่มน้ำยมเพื่อรองรับการปรับตัวสู้โลกร้อน

คาดนำไปสู่แนวทางใช้ประโยชน์ระบบนิเวศและกลไกเชิงสถาบันหนุนโครงสร้างเชิงวิศวกรรม เพื่อการปรับตัวด้านทรัพยากรน้ำที่ดีขึ้น

ดร.สเตฟานอฮุปเพิทซ์ ผู้อำนวยการแผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมันGIZ กล่าวว่า คณะผู้เชี่ยวชาญของGIZ จะเข้ามาดำเนินงานร่วมกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)ในการหารือกับชุมชน เพื่อพัฒนาแผนงานหรือกิจกรรมที่เน้นการประยุกต์ใช้แนวคิดการตั้งรับปรับตัวโดยใช้ระบบนิเวศ(Ecosystem-based Adaptation: EbA) สำหรับลุ่มน้ำยม หรืออีกนัยยะหนึ่งคือ การแสวงหาศักยภาพของระบบนิเวศรวมทั้งการรักษาระบบนิเวศ เพื่อช่วยสนับสนุนโครงสร้างเชิงวิศวกรรมเพื่อช่วยจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะในการปรับตัวรับมือปัญหาโลกร้อนที่ทั้งโลกกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้

นอกจากนี้ ทางคณะฯ ยังคาดหวังที่จะพัฒนากลไกเชิงสถาบันและกลไกทางการเงินด้านโลกร้อนจากแผนวาน เพื่อที่จะช่วยให้เกิดเงินหมุนเวียนมาพัฒนาโครงการได้

โดยทางคณะฯได้ร่วมลงพื้นที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชุมคัดเลือกลุ่มน้ำยมเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่อง

ทั้งนี้เพราะลุ่มน้ำยมเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากแต่เป็นลุ่มน้ำที่มีความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการหาทางออกสำหรับการบริหาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

จุดเด่นของพื้นที่นี้คือ การประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในลักษณะภาคีเครือข่ายเพื่อหาแนวทางการพัฒนาลดและขจัดความขัดแย้ง ดร.สเตฟานกล่าว

โดยผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนในพื้นที่มีความต้องการการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานด้านน้ำเพื่อการตั้งรับปรับตัวของรัฐบาลเยอรมนี

ซึ่งโครงการด้านน้ำภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมันฯนี้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม..2561 และจะดำเนินการไปจนถึงเดือนธันวาคม.. 2564  ดร.สเตฟานระบุ

ทั้งนี้ สทนช. ภาค1 ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำ จะทำหน้าที่บูรณาการและจัดทำแผนแม่บทระดับลุ่มน้ำ รวมถึงแผนปฏิบัติการและงบประมาณที่มาจากความต้องการในการพัฒนาของคนในพื้นที่ รวมทั้งแผนงานที่จะมาจากการประยุกต์ใช้แนวคิดการตั้งรับปรับตัวโดยใช้ระบบนิเวศ(Ecosystem-based Adaptation: EbA) ก่อนนำเสนอผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของกนช. ต่อไป

ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.)ล่าวว่าลุ่มน้ำยมเป็นลุ่มน้ำที่มีความคลาสสิคในเรื่องการจัดการน้ำและมีช่องว่างการพัฒนามากว่า30 ปีแล้วซึ่งในวันนี้ต้องหาข้อสรุป

งานที่จะทำร่วมกับเยอรมนีครั้งนี้จะเข้ามาช่วยเติมเต็มสิ่งที่ทำแล้วอาจติดขัดขับเคลื่อนไม่ได้ โดยการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม ทางสทนช. ต้องการเห็นสามสิ่งคือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน แนวคิดศาสตร์พระราชา และนวตกรรมใหม่ๆจากต่างประเทศ ซึ่งทั้งสามองค์ประกอบนี้ จะช่วยตอบโจทย์ของลุ่มน้ำได้

ดร.สมเกียรติ เปิดเผยอีกว่า ผลการศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำเชิงพื้นที่(Area-based) สทนช. ได้ระบุ2 พื้นที่เป้าหมายในการบรรเทาปัญหาทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำยม คือพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบนและลุ่มน้ำยม– น่านตอนล่าง ซึ่งมีครัวเรือนได้รับผลกระทบประมาณ230,000 ครัวเรือน โดยมีโครงการสำคัญเช่น โครงการปรับปรุงคลองยม- น่าน ระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนศรีสัชนาลัย อ่างเก็บน้ำห้วยไร่ และโครงการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นในเขตพื้นที่ทุ่งบางระกำ

ทั้งนี้ สทนช. ก็ได้มีการพิจารณามาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างร่วมด้วย โดยในพื้นที่ตอนบนจะเน้นการดำเนินการตามแผนแม่บทด้านที่5 เน้นงานพัฒนาเชิงอนุรักษ์พร้อมฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ ขณะที่ลุ่มน้ำยมตอนล่างที่มีปัญหาด้านการระบายน้ำ จะบูรณาการผังน้ำและผังเมือง การบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำหลาก พร้อมปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำเชื่อมโยงเครือข่ายน้ำคลองผันน้ำต่างๆในพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

ดร. อเล็กซานเดอร์ เราโบลด์ ที่ปรึกษาทูตฝ่ายเศรษฐกิจและการพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย กล่าวว่า รัฐบาลเยอรมนีโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมคุ้มครองธรรมชาติ และความปลอดภัยทางปรมาณูแห่งสหพันธ์สาธาณรัฐเยอรมนี(BMU) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เป็นภาคีที่ร่วมมือทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทย ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ผลกระทบจากโลกร้อนเป็นที่รับรู้และรู้สึกกันได้ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทศ และที่จะทำได้นอกเหนือจากความพยายามลดก๊าซคาร์บอนคือการปรับตัว ดร.อเล็กซานเดอร์กล่าว

ดร. อเล็กซานเดอร์ยังกล่าวอีกว การไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง มีราคาที่ต้องจ่ายสูงกว่าการได้ลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อรับมือโลกร้อน และเขาหวังว่า การบูรณาการประโยชน์จากระบบนิเวศเข้ากับองค์ความรู้เชิงวิศวกรรมด้านน้ำจะส่งผลลัพธ์ที่ดีขึ้นผ่านธรรมาภิบาลและความร่วมมือของท้องถิ่น

ทั้งนี้อโครงการได้มีการเปิดตัว โดยมีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการลุ่มน้ำยม ผู้แทนหน่วยงานราชการ และผู้แทนชุมชนในลุ่มน้ำยม เข้าร่วมกิจกรรม ณ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ อำเภอเมืองจังหวัดแพร่