ส่งออก ส.ค.ติดลบ 4%  สรท.ปรับคาดการณ์ส่งออกไทยปี 2562 หดตัว 1.5%

ส่งออก ส.ค.ติดลบ 4%  สรท.ปรับคาดการณ์ส่งออกไทยปี 2562 หดตัว 1.5%

ส่งออก ส.ค.ติดลบ 4%  จับตานำเข้าติดลบพุ่ง 14.6% ปมสงครามการค้า –เงินบาทแข็งค่าหลอนไม่เลิก ทำ  สรท.ปรับคาดการณ์ส่งออกไทยปี 2562 หดตัว 1.5% คาดปีหน้าโต 0-1%”

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าว การส่งออกเดือนส.ค.2562 มีมูลค่า 21,914 ล้านดอลลาร์ หดตัว 4.0 % เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 670,452 ล้านบาท หดตัว 11.4%

 ในขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 19,862.4 ล้านดอลลาร์ หดตัว 14.6% และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 616,736ล้านบาท หดตัว 21.1%  ส่งผลให้ ส.ค.ประเทศไทยเกินดุลการค้า 2,053 ล้านดอลลาร์ และ 54,076 ล้านบาท                      

ขณะที่ภาพรวมเดือนม.ค.- ส.ค. ปี 2562 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 166,091 ล้านดอลลาร์ หดตัว  2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และคิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 5,206,697 ล้านบาท หดตัว 3.7%

การนำเข้ามีมูลค่า 159,984 ล้านดอลลาร์ หดตัว  3.6% หรือคิดเป็นมูลค่า 5,089,258 ล้านบาท หดตัว 5.0%  ส่งผลให้ช่วงเดือนม.ค.- ส.ค. 2562 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 6,106 ล้านดอลลาร์และ 117,439 ล้านบาท

kk

 

ทั้งนี้ สรท. ปรับคาดการณ์การส่งออกในปี 2562  หดตัว  1.5% บนสมมติฐานค่าเงินบาท 33 (±0.5) บาทต่อดอลลาร์ และคาดการณ์การส่งออกปี 2563 เติบโต  0-1%  บนสมมติฐานค่าเงินบาท 30.5 บาทต่อดอลลาร์

“ทิศทางการค้าระหว่างประเทศได้รับปัจจัยจากสงครามการค้าที่เริ่มมีท่าทีที่ผ่อนคลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นเห็นได้จาก สหรัฐเลื่อนการขึ้นภาษีอัตรา30%  และจีน ประกาศงดเว้นภาษีสินค้าสหรัฐในกลุ่ม ยา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์”               อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย อัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากท่าทีการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายของประเทศต่างๆ เช่น สหภาพยุโรป ที่ดำเนินมาตรการซื้อพันธบัตรมูลค่า 200,000 ล้านยูโรต่อเดือน และ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ของ FED จาก 2.00-2.25% สู่ระดับ 1.75-2.00%

 สินค้าเกษตรได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลงโดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งและปริมาณสต๊อกสินค้าที่มีอยู่มากในตลาดโลก ทำให้ไทยเสียเปรียบในการแข่งขันปริมาณการส่งออกของไทยจึงชะลอตัวลง

 การโจมตีโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง ของบริษัทพลังงานแห่งชาติประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งกระทบต่อปริมาณอุปทานของน้ำมันดิบทั่วโลกกระทบต่อราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 8 ในช่วงวันที่ 14–16 กันยาที่ผ่านมา ส่งผลต่อความผันผวนและไม่แน่นอน

เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวทั่วโลกจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า และสถานการณ์ Brexit ที่ยังคลุมเครือต่อทิศทางของอังกฤษ ส่งผลต่อคำสั่งซื้อที่ลดลงและปริมาณการส่งออกที่ลดลง และ สถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศ ได้แก่ น้ำท่วมที่ภาคะวันออกเฉียงเหนือซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงแก่ผลผลิตทางการเกษตรในระยะสั้นและระยะยาวในภาคการผลิตเพื่อส่งออกของไทย