Economic (30 ก.ย.62)

Economic (30 ก.ย.62)

เศรษฐกิจ

US: ตลาดเริ่มมองข้ามช็อตไปถึงการลดดอกเบี้ยรอบต่อไปแล้ว ในขณะที่ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยแผ่วลงไปหลังจากกรณีพิพาทกับจีนเริ่มมีแนวโน้มสดใสมากขึ้นหลังจากที่ทางสหรัฐประกาศกำหนดวันเจรจาในวันที่ 10-11 ตุลาคม ซึ่ง Trump ระบุว่าทั้งสองประเทศอาจจทำข้อตกลงกันได้เร็วกว่าที่คาดไว้ ซึ่งทำให้เกิดความหวังว่าสงครามการค้าระหว่างทั้งสองประเทศน่าจะดีขึ้น นโยบายด้านต่างประเทศของสหรัฐมีการกลับทิศอย่างสุดขั้วหลังจากที่มีการเปลี่ยนตัวที่ปรึกษาด้านความมั่นคงจาก John Bolton เป็น Robert O’Brien เปลี่ยนจากการใช้การทหารเป็นการใช้สันติวิธีแทน แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดไม่ควรวาดหวังแบบโลกสวยจนเกินไป เพราะตราบที่ Trump ยังเป็นประธานธิบดีสหรัฐอยู่จนกว่าจะครบวาระในเดือนมกราคม 2563 กรณีพิพาททางการค้าก็ไม่น่าจะสงบได้อย่างที่หวังไว้ ซึ่งเราอาจจะเห็นกรณีพิพาททางการค้ากับจีนทวีความรุนแรงขึ้นเป็นครั้งคราว และยืดเยื้อได้

EA: ค่าเงิน EURUSD ลดลงแรงกว่าที่เราคาดไว้จาก 1.1024/100 เป็น 1.091 แม้ว่า FOMC จะลดดอกเบี้ยลงก็ตาม เราคาดว่าสภาวะเศรษฐกิจยุโรปจะอ่อนแอลงไปอีกใน 3Q62 ซึ่งจะทำให้ค่าเงิน EUR อ่อนลงไปทดสอบ 1.084 ได้ในระยะสั้น ถ้าหากทะลุ 1.090 ไปเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลกและจีนยังอ่อนแอ, ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นของประเด็น Brexit และการโยกเงินออกเพื่อหาอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรที่สูงกว่าที่สหรัฐ เรามองว่าภาวะเศรษฐกิจยุโรปและการดำเนินนโยบายการเงินของ ECB มีส่วนคล้าบกับช่วงทศวรรษของ Japanization ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจซึม สถาบันการเงินอ่อนแอลง เงินเฟ้ อชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยติดลบ อัดฉีดเงินเข้าไปในระบบบเศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาล และการเสพติด QE เรื้อรัง

Japan: หลังจากมีการเลื่อนปรับขึ้นภาษีการขายมานานมาก ในที่สุด Abe ก็ตัดสินใจขึ้นภาษีการขายจาก 8% เป็น 10% ในเดือนตุลาคม ซึ่งจะทำให้ CPI เพิ่มขึ้นเป็น 2%. YoY แต่อย่างไรก็ตามเมื่อดัชนีเงินเฟ้ อครบ loop ในเดือนตุลาคมปีหน้า อัตราเงินเฟ้ อก็จะกลับมาใกล้ 0% อีกครั้ง ทั้งนี้การขึ้นภาษีไม่ได้กระทบ GDP ใน 4Q62 ไปจนถึง 1Q63 เท่านั้น แต่หลังจากที่สิ้นสุดงานก่อสร้างสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิ ก 2020 และจบการแข่งขันที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม 2563 แล้ว ก็จะกระทบกับ GDP ใน 4Q63 ด้วย ทั้งนี้ จากการที่ปัจจัยเสี่ยงภายนอกยังคงอยู่ แถมยังมีปัจจัยเสี่ยงภายในอีกด้วย จึงอาจะทำให้ทั้ง BoJ และรัฐบาลญี่ปุ่นต้องทบทวนสภาวะเศรษฐกิจและราคาสินค้าต่างๆ อีกครั้งในการประชุมวันที่ 30-31 ตุลาคม

Thai: MPI ที่ลดลงใน 3Q62 ใกล้กับระดับการลดลง YoY ใน 2Q62 ซึ่งอาจจะเป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นว่า GDP ใน 3Q62 จะขยายตัว 2.5% YoY ใกล้เคียงกับใน 2Q62 ที่ +2.3% YoY ซึ่งถือเป็นภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอโดยมีอัตราการขยายตัวของ GDP ต่ำ

ค่าเงินบาทแข็งค่าเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ฯ

ดัชนีเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงของยุโรปก็น่าจะทำให้ค่าเงิน USD แข็งขึ้นในเดือนตุลาคม โดยค่าเงิน EURUSD อาจจะทดสอบระดับ 1.084 หากทะลุแนวรับหลักที่ 1.09 ไปได้ ในขณะที่ค่าเงิน USDTHB อาจจะขยับขึ้นมาทดสอบระดับ 30.60/80

อัตราดอกเบี้ย และ ตลาดตราสารหนี้

กนง. ลงมติ 7:0 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ 1.50% ในการประชุมวันที่ 25 กันยายน เราคาดว่าความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีน-สหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในเดือนตุลาคม แต่ยังไม่จบสมบูรณ์ โดยสถานการณ์ที่ผ่อนคลายลงจะทำให้ภาวะการค้าโลกดีขึ้น เราคาดว่า GDP ใน 3Q62 จะโต 2.5% YoY สูงขึ้นเล็กน้อยจาก 2.3% YoY ใน 2Q62 และเร่งตัวขึ้นเป็น 3.5% YoY ใน 4Q62 เราคาดว่า GDP ปี นี้จะโต 2.8% เราคิดว่า GDP รายไตรมาสได้ผ่านช่วงต่ำสุดไปแล้ว ใน 2Q62 โดย ธปท. ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปี นี้ลงจากเดิม 3.3% เหลือ 2.8% เท่ากับประมาณการของเรา เรามองว่าธปท. น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ที่ 1.50%
ไปจนถึงปีหน้าและวัฎจักรการลดดอกเบี้ยน่าจะจบแล้ว