ปชช.ส่วนใหญ่ เชื่อใช้เส้นสายโยกย้ายขรก. แต่มองความสามารถด้วย

ปชช.ส่วนใหญ่ เชื่อใช้เส้นสายโยกย้ายขรก. แต่มองความสามารถด้วย

เปิดผลสำรวจประชาชน เชื่อว่า "ใช้เส้นสาย" ในโยกย้ายข้าราชการ แต่มองความสามารถ-ความเหมาะสมด้วย

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 26 กันยายน 2562 จากประชาชนที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของรัฐและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และความเป็นธรรมการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น  จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.95 ระบุว่า ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่ รองลงมา ร้อยละ 24.36 ระบุว่า ความสามารถและผลงานที่ผ่านมา ร้อยละ 16.93 ระบุว่า ความอาวุโสในตำแหน่ง ร้อยละ 12.54 ระบุว่า ความรู้ (เช่น ระดับการศึกษา การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น) ร้อยละ 6.23 ระบุว่า วิสัยทัศน์ในการทำงานตำแหน่งใหม่ ร้อยละ 5.03 ระบุว่า ระเบียบ วินัยและความประพฤติที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ การใช้เส้นสายของผู้พิจารณา เอาพรรคพวกเดียวกัน ขณะที่บางส่วนระบุว่าใครสามารถเข้าถึงหัวหน้ามากกว่าก็จะได้ และร้อยละ 0.24 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2559 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.04 ระบุว่า ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่ รองลงมา ร้อยละ 25.68 ระบุว่า ความสามารถและผลงานที่ผ่านมา ร้อยละ 17.68 ระบุว่า ความอาวุโสในตำแหน่ง ร้อยละ 9.36 ระบุว่า ความรู้ (เช่นระดับการศึกษา การเข้ารับการอบรม ในหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น) ร้อยละ 5.84 ระบุว่า เป็นวิสัยทัศน์ในการทำงานตำแหน่งใหม่ ร้อยละ 5.36 ระบุว่า ระเบียบ วินัยและความประพฤติที่ผ่านมา ร้อยละ 5.44 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การมีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างประกอบกันที่ดูจากความเหมาะสมและความสามารถในการทำงาน มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ หน้าที่และความผิดชอบ และบางส่วนระบุว่า การใช้เส้นสายว่าของบุคคลผู้พิจารณาเอาพรรคพวกเดียวกัน ที่ใครเข้าถึงหัวหน้ามากกว่าก็จะได้ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ปชช.ส่วนใหญ่ เชื่อใช้เส้นสายโยกย้ายขรก. แต่มองความสามารถด้วย

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.86 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม รองลงมา ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นธรรม ร้อยละ 13.10 ระบุว่า มีความเป็นธรรมมาก ร้อยละ 12.78 ระบุว่า ไม่มีความเป็นธรรมเลย และร้อยละ 3.59 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ สำหรับผลสำรวจในปี 2559 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.92 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม รองลงมา ร้อยละ 34.00 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นธรรม ร้อยละ 11.04 ระบุว่า ไม่มีความเป็นธรรมเลย ร้อยละ 10.56 ระบุว่า มีความเป็นธรรมมาก และร้อยละ 4.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

        สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.07 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายค่อนข้างบ่อย รองลงมา ร้อยละ 25.80 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายเลย ร้อยละ 23.72 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสาย ร้อยละ 13.58 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายอย่างมาก และร้อยละ 3.83 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ในขณะที่ผลการสำรวจ ปี 2559 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.68 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายค่อนข้างบ่อย รองลงมา ร้อยละ 22.56 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสาย ร้อยละ 22.00 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายเลย ร้อยละ 15.60 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายอย่างมาก และร้อยละ 4.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

        เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.65 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เลย รองลงมา ร้อยละ 21.64 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ร้อยละ 18.85 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 6.23 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นประจำ และร้อยละ 8.63 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ในขณะที่ปี 2559 ผลสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.16 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เลย รองลงมา ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ร้อยละ 19.92 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 8.32 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นประจำ และร้อยละ 9.84 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

  ปชช.ส่วนใหญ่ เชื่อใช้เส้นสายโยกย้ายขรก. แต่มองความสามารถด้วย

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการหากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้าย ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.00 ระบุว่า จะใช้วิธีการอุทธรณ์ร้องไปตามขั้นตอนของระเบียบข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 29.55 ระบุว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะ ทำอะไรไม่ได้เลย เป็นกฎระเบียบซึ่งลูกน้องต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 9.02 ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองทันที ร้อยละ 4.07 ระบุว่า ลาออก ร้อยละ 2.40 ระบุว่า ฟ้องสื่อมวลชน ร้อยละ 2.32 ระบุว่า ใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ร้อยละ 1.36 ระบุว่า พยายามหาเส้นสายที่ใหญ่กว่าไปกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 0.08 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ พิจารณาด้วยตนเองแล้วนำไปปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่ หรือฝ่ายกฎหมายในหน่วยงาน และร้อยละ 1.20 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2559 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.76 ระบุว่า จะใช้วิธีการอุทธรณ์ร้องไปตามขั้นตอนของระเบียบข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 28.56 ระบุว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะทำอะไรไม่ได้เลย เป็นกฎระเบียบซึ่งลูกน้องต้องทำตามสั่งผู้บังคับบัญชา ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 12.24 ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองทันที ร้อยละ 2.72 ระบุว่า ลาออก ร้อยละ 2.48 ระบุว่า ใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ร้อยละ 1.60 ระบุว่า ฟ้องสื่อมวลชน ร้อยละ 1.04 ระบุว่า พยายามหาเส้นสายที่ใหญ่กว่าไปกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 2.24 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พิจารณาตนเองและปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่ ขณะที่บางส่วนระบุว่าฟ้องร้องสหภาพแรงงาน และฟ้องศูนย์ดำรงธรรม และร้อยละ 3.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขอดูที่สาเหตุและความรุนแรงก่อน

       

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.78 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.80 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.29 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.58 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้

ตัวอย่างร้อยละ 58.23 เป็นเพศชาย และร้อยละ 41.77 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 3.03 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 21.25 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 26.68 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 43.85 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 5.19 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.05 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 3.51 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม  ร้อยละ 1.28 ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่างร้อยละ 25.40 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 71.80 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.72 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 0.96 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า  ร้อยละ 12.46 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 52.39 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.80 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 5.19 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 24.12   มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 15.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 24.44 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 3.43 ไม่ระบุรายได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-'ปชช.ส่วนใหญ่' ไม่เชื่อแก้รธน.แล้วเศรษฐกิจจะดีขึ้น
-ปชช.กว่า 60% เห็นด้วยสร้าง 'สนามบินนครปฐม'
-'ซูเปอร์โพล' ชี้ผลงานรบ.ประยุทธ์ ปชช.40.7% ทุกข์มากเมื่อนึกถึงเงินในกระเป๋า
-'นิด้าโพล' เผยผู้ประกอบ 68.86% หวังรบ.เร่งคลอดมาตรการกระตุ้นศก.