ปัจจัยภายนอกกดดัน

ปัจจัยภายนอกกดดัน

คาด SET อ่อนตัวทดสอบแนวรับ 1,620 - 1,625 จุด จากปัจจัยภายนอกที่กดดันหลังประธานสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐเปิดฉากไต่สวนเพื่อถอดถอนปธน.ทรัมป์ออกจากตำแหน่งฐานติดต่อกับรัฐบาลต่างชาติให้แทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐ

ตลาดหุ้นวานนี้

SET Index รีบาวด์ขึ้น +7.71 จุด (+0.48%) ปิดที่ระดับ 1,630 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5 หมื่นล้านบาท ตอบรับความคาดหวังเชิงบวกการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนในช่วงเดือนต.ค.หลังจีนสั่งซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐจำนวน 600,000 ตันและประกาศยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐเพิ่มเติม ส่งผลให้มีแรงซื้อในกลุ่ม ICT, ENERG และ FOOD หนุนดัชนีดีดตัวขึ้น ส่วนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 961 ล้านบาท รวมถึงขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 3,347ล้านบาท แต่ Net Long TFEX จำนวน 4,588 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้

เรามีมุมมองเป็นลบคาด SET อ่อนตัวทดสอบแนวรับ 1,620 – 1,625 จุด จากปัจจัยภายนอกที่กดดันหลังประธานสภาผู้แทนราษฏรสหรัฐเปิดฉากไต่สวนเพื่อถอดถอนปธน.ทรัมป์ออกจากตำแหน่งฐานติดต่อกับรัฐบาลต่างชาติให้แทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐ รวมถึงความกังวลการเจรจาการค้าสหรัฐ-จีนจะสะดุดลงหลังปธน.ทรัมป์กล่าวโจมตีจีนในการประชุม UN ว่าทำการค้าไม่เป็นธรรมและจะไม่ยอมรับข้อตกลงที่ทำให้สหรัฐเสียเปรียบ นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงแรงจากความกังวลข้อพิพาทการค้ากระทบ demand การใช้น้ำมันในตลาดโลก รวมถึง Fund Flow ต่างชาติยังคงมีแนวโน้มไหลออกต่อเนื่อง (Net sell 8.8 พันลบ. MTD.) ยังคงกดดันต่อภาวะตลาดในช่วงนี้ ดังนั้นแนะนำรอซื้อเล่นรีบาวด์ช่วงอ่อนตัวเช่นเดิม

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มท่องเที่ยว (ERW, MINT) และส่งออก (GFPT, TU) ครม.เศรษฐกิจจะพิจารณามาตรการกระตุ้นศก.ด้านการส่งออก-ท่องเที่ยวในวันที่ 7 ต.ค.
  • กลุ่มเครื่องดื่ม (SAPPE , TIPCO) ครม.เห็นชอบลดภาษีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพผสมคอลลาเจนเหลือ 10% จากเดิม 14% , ส่วนน้ำผัก-ผลไม้ลดภาษีเหลือ 3% จากเดิม 10%
  • กลุ่มไฟแนนซ์ (MTC, SAWAD, THANI) ได้ประโยชน์ต้นทุนลดลงจากทิศทางดอกเบี้ยขาลง
  • Defensive stock AOT, INTUCH, ADVANC, BEM, BTS, BDMS, BCH, CHG, GPSC, BGRIM, TTW, CPALL

หุ้นแนะนำวันนี้

  • SPA (ปิด 14.7 ซื้อ/เป้าสูงสุด IAA Consensus 16.2) “ชิม ช้อป ใช้” ฮอตฮิตต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยมียอดลงทะเบียนรับสิทธ์เต็มเพดานที่ 1 ล้านคนต่อวันเป็นวันที่ 3 ส่งผลบวกโดยตรงต่อ SPA เนื่องจากเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ยังได้ Sentiment บวกจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาฟื้นตัวเนื่องจาก SPA มีสัดส่วนลูกค้าชาวจีนคิดเป็น 50% ของรายได้รวม
  • BCH (ปิด 15.3 ซื้อ/เป้า 19 บาท) ราคาหุ้นที่ลดลงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ เนื่องจากมองว่าผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้วและจะเริ่มเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ 3Q19 เนื่องจากเป็นช่วง High season ของธุรกิจ ขณะเดียวกันยังมี Upside จากประเด็นการขอปรับขึ้นค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมเพราะบริษัทไม่ได้ปรับขึ้นค่ารักษาจากส่วนนี้มานานแล้ว (ขึ้นครั้งสุดท้ายคือ ก.ค.ปี 2017).

บทวิเคราะห์วันนี้

-

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) ดาวโจนส์ร่วง 142 จุด กังวลข่าวสภาสหรัฐฯถอดถอน ทรัมป์ ออกจากตำแหน่ง : ดัชนีดาวโจนส์ร่วงแรงกว่า 142 จุด (-0.53%) ปิดที่ 26,808 จุด จาก 2 ปัจจัยลบ คือ 1) กังวลปัญหาการเมืองในสหรัฐ หลังจากสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเปิดไต่สวนเพื่อถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ออกจากตำแหน่ง ฐานติดต่อกับรัฐบาลต่างชาติให้เข้าแทรกแซงการเลือกตั้งในสหรัฐ และ 2) กังวลการเจรจาการค้าจีนกับสหรัฐอาจจะสะดุด หลังจาก ทรัมป์ กล่าวโจมตีจีนบนเวทีสหประชาชาติ (UN) โดย ทรัมป์ ระบุว่าจีนดำเนินการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และเขาจะไม่ยอมรับข้อตกลงการค้าที่ทำให้ชาวอเมริกันเสียเปรียบ
  • (+) Brexit มีโอกาสเลื่อนไปเป็นช่วงต้นปีหน้า หลังจากศาลตัดสินว่า คำสั่งของนายกฯอังกฤษขยายเวลาปิดประชุมสภา เป็น โมฆะ : เดิมนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ต้องการให้อังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) แบบ No deal จึงดำเนินการปิดสมัยประชุมสภาให้ยาวนานที่สุดเพื่อขัดขวางการทำงานของรัฐสภา แต่ความพยายามดังกล่าวดูเหมือนจะล้มเหลวเมื่อล่าสุด ศาลฎีกาของสหราชอาณาจักรมีคำวินิจฉัยว่า คำสั่งของนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ในการขยายเวลาปิดสมัยประชุมสภา เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย ด้วยเหตุนี้จึงมีโอกาสสูงที่รัฐสภาจะต้องกลับมาเปิดสมัยการประชุมอีกครั้งซึ่งจะทำให้มีเวลาเพียงพอสำหรับดำเนินการเพื่อร้องขอให้ EU เลื่อน Brexit ออกไปจากกำหนดเดิม 31 ต.ค.19 ออกไปเป็นช่วงต้นปีหน้า
  • (+/-) ประชุม กนง.วันนี้อาจมี Positive surprise ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% : ประชุม กนง.วันนี้ Consensus ส่วนใหญ่คาดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% ตามเดิม แต่เรามองต่างโดยคาดที่ประชุม กนง.อาจมี Positive surprise ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% เป็น 1.25% จากการเปลี่ยนแนวทางดำเนินนโยบาย “รับเป็นรุก” เพื่อสกัดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และช่วยลดแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับภาคส่งออก หาก กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจริงจะเป็น Sentiment บวกให้กับตลาดและจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อ กลุ่ม Finance และ กลุ่ม Property แต่จะเป็นลบต่อกลุ่ม BANK