HARBOUR.SPACE @UTCC พร้อมปั้น ‘นักรบดิจิทัล’

HARBOUR.SPACE @UTCC พร้อมปั้น ‘นักรบดิจิทัล’

ล้วนตอบโจทย์ความต้องการของทุกๆบริษัทในประเทศไทย และจำเป็นต่อการสร้าง New S-curve และนโนบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐ

“รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์” ประธาน HARBOUR.SPACE @UTCC กล่าวถึงความโดดเด่นของหลักสูตร “HARBOUR.SPACE @UTCC”  ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นเป็นแห่งแรกในเอเชีย  และเปิดสอนวิชาที่กำลังอยู่ในเทรนด์อาทิ Data Science,Cyber Security,Computer Scienve,Interaction Design ฯลฯ

หลักสูตรดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หรือ UTCC ร่วมกับฮาร์เบอร์สเปซ มหาวิทยาลัยระดับโลกทางด้านการบริหารธุรกิจ เทคโนโลยี และการออกแบบ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน


เป็นความจริงที่ว่าตัวเลือกของฮาร์เบอร์สเปซก็คือ มหาวิทยาลัยทุกแห่งในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก ถามว่าทำไมเลือกประเทศไทยและ UTCC?

อาจารย์เสาวณีย์มองว่า เหตุผลมาจากเป้าหมายที่ต่างฝ่ายต่างก็ต้องการพลิกโฉมวงการการศึกษา นอกจากนี้เมื่อได้ทำการแลกเปลี่ยนความคิด คุยกันไป คุยกันมาต่างก็รับรู้ได้ว่ามีเคมีที่ตรงกัน ส่วนที่เลือกมาไทยนั้นก็เนื่องมาจากเป็นประเทศที่ไม่ว่าใครต่างก็อยากมาท่องเที่ยวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว


อย่างไรก็ตาม นอกจากพลิกโฉมการศึกษา UTCC ยังต้องการขยับบทบาทไปสู่การเป็นฮับหรือศูนย์กลางในการปั้นคนให้เก่ง 3 ด้าน ก็คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านความเป็นผู้ประกอบการ และด้านการดีไซน์ หวังผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นฮับหรือศูนย์กลางสตาร์ทอัพในระดับสากล


เนื่องจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจสตาร์ทอัพ สร้างจุดเปลี่ยนอย่างมากต่อการทำธุรกิจในเมืองไทย ผู้ประกอบการพันธุ์ใหม่เป็นที่จับตามองจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกันคนรุ่นใหม่ก็ให้ความสำคัญและหันมาประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพมากขึ้น

ข้อมูลจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NIA ระบุว่า กรุงเทพฯ ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพใน
เอเชียและเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยปัจจุบันมีเงินทุนจากนักลงทุนและกลุ่มทุนร่วมลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 44,000 ล้านบาท ถือว่าเติบโต 5-6 เท่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันปัจจุบันมีสตาร์ทอัพในไทยทั้งหมดราว 800 ราย ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพและได้รับการระดมทุนแล้วกว่า 100 ราย


แต่ปัญหาของนักลงทุนคือ การเฟ้นหาเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพทั้งในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในเมืองไทยยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ สตาร์ทอัพส่วนใหญ่ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถขยายไปยังนอกประเทศได้


อย่างไรก็ดี หนึ่งในไฮไลท์ของหลักสูตรนี้ก็คือ การมี “Kamran Elahian” สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นตัวจริงเสียงจริงบินจากซิลิคอนวัลเลย์ มาทำหน้าที่สอน ซึ่งวิชาที่เขาสอนก็คือ "From Zero to Hero" เพราะมีความเชื่อมนุษย์ทุกคนพัฒนาได้ มหาเศรษฐีอย่างตัวเขาเองก็ก้าวมาจากศูนย์เช่นกัน ก็เลยขออาสาทำหน้าที่ปั้นดินให้กลายเป็นดาว


ด้าน “Ingo Beyer von Morgenstern” ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง มหาวิทยาลัยฮาร์เบอร์สเปซ กล่าวถึงเคล็ดลับที่ทำให้ฮาร์เบอร์สเปซมีชื่อเสียงว่าเป็นสถาบันที่สร้างคนเก่ง เกิดจากการผสมผสานเครื่องไม้เครื่องมือหลายๆอย่างเพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ และได้แสดงถึงผลวิจัยพบว่าการเรียนการสอนที่มีเพียงการอ่านจะทำให้เกิดผลลัพธ์ได้แค่ 10 % เท่านั้น ขณะที่การเห็นและการได้ยินจะช่วยทำให้การเรียนรู้ดียิ่งขึ้นแต่ที่ดีที่
สุด ที่สร้างผลลัพธ์ที่เป็นเลิศได้จริงๆมาจากการ “ลงมือทำ”


ถือว่ารูปแบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยฮาร์เบอร์สเปซถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์โลกอนาคตและคนเจนเนอเรชั่นใหม่ นอกจากนั้นผู้สอนหรือผู้ที่จะมาถ่ายทอดองค์ความรู้ล้วนมืออาชีพระดับโลกทั้งสิ้น อาทิ “ลอเรน เคเลนซา” ซีเนียร์ดีไซเนอร์ และนักวางกลยุทธ์จากกูเกิล ซึ่งมีประสบการณ์ในการสร้างแผนที่ที่ตรงกับความต้องการของเมืองต่างๆ ทั่วโลกงานของเธอทำให้เดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อเรียนรู้และออกแบบเทคโนโลยีขึ้นใหม่ ไม่นานมานี้เธอนำระบบเนวิเกชั่นของกูเกิลแมพมาดีไซน์ใหม่สำหรับมอเตอร์ไซค์ ปัจจุบันนำออกใช้ทั่วอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเคนย่า


“แอนดี้ เครโตดินา” ผู้ร่วมก่อตั้ง และผู้อำนวยการด้านกลยุทธ์ของออร์บิต มีเดีย สตูดิโอ บริษัทออกแบบเว็บไซต์ที่ได้รับรางวัลมากมายในชิคาโก 16 ปี ที่ผ่านมาแอนดี้ได้กำหนดกลยุทธ์เว็บไซต์และให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจต่างๆ กว่าพันแห่ง ในฐานะนักพูดชั้นนำในการประชุมระดับชาติ และในฐานะนักเขียนบล็อกที่ใหญ่ที่สุดหลายบล็อก แอนดี้ได้ทุ่มเทแรงกายแรงกายในการสอนการตลาดมาตลอด เขาคือ 1 ใน 10 ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ที่น่าจับตามอง จัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บส์ และได้เป็น 1 ใน 50 อินฟลูเอนเซอร์ทางการตลาดของนิตยสาร Entrepreneur เมื่อปี 2016 ทั้งยังเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ 1871 โรงเรียนสร้างนักธุรกิจอันดับหนึ่งของสหรัฐอีกด้วย


“อนาสเตเซีย โพลยาโควา” วิศวกรด้านความปลอดภัยของ Venafi และผู้ฝึกสอนที่ Linux Security ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า10 ปีทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เธอเริ่มอาชีพด้วยการเป็นผู้จัดการระบบ จากนั้นเบนความสนใจมาด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ เธอทำงานเป็นวิศวกรความปลอดภัยสำหรับแอปพลิเคชั่น และสอนวิชาการรักษาความปลอดภัยให้ข้อมูลสำหรับนักพัฒนากลไกและอินเตอร์เน็ตออฟทิงส์ ปัจจุบันเธอทำงานเป็นผู้ฝึกสอนเรื่องความปลอดภัยของ Linux ที่ Luxoft และวิศวกรความปลอดภัยที่ Swordfish Security


“พาเวล เคลเมนคอฟ” หัวหน้านักวิเคราะห์ข้อมูลแห่ง NVIDIA โดยพาเวลเริ่มอาชีพด้วยการเป็นวิศวกร ซอฟต์แวร์ที่บริษัท Beeline หนึ่งบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่ที่สุดของรัสเซีย จากนั้นเขาย้ายไปทำที่ Rambler & Co บริษัทสื่ออินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย เขาได้พัฒนาอัลกอริทึ่มส์ที่รับข้อมูลจากเครื่องกลสำหรับแรมเบลอร์นิวส์ (ผู้ให้บริการข่าวสารที่ใหญ่เป็นลำดับสองของรัสเซีย) เขามีโอกาสไปทำงานเป็นผู้นำด้านเทคนิคให้กับ Rambler/News และ Rambler/Portal ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาพาเวลทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายการศึกษาเครื่องกลที่ Ramble & Co คอยแนะนำวิธีแก้ปัญหาให้กับการศึกษาเครื่องกลสำหรับธุรกิจทุกชนิด (ภาพทางคอมพิวเตอร์ โฆษณา คำแนะนำ การใส่เครดิต) ปัจจุบันเขาทำงานเป็นหัวหน้านักวิเคราะห์ข้อมูลที่ NVIDIA ควบคุมดูแลการตั้งเป้าหมายในการศึกษาเครื่องกลซึ่งใช้ข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีการตรวจวัดระยะไกลอัตโนมัติ รวบรวมจาก GPU ทั่วโลก


HARBOUR.SPACE @UTCC เป็นหลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โดยแต่ละชั้นเรียนจะใช้เวลาสามสัปดาห์
เรียนวันละ 3 ชั่วโมงทุกวันจันทร์-ศุกร์ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาทุ่มเทให้กับวิชาที่ลงเรียนได้อย่างเต็มที่ และได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัลที่ขึ้นชื่อว่ารวดเร็วเหนือแสง